ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



การจ่ายเงินโบนัส

 

 

            บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลทั้งหลาย โปรดระวังเรื่อง การจ่ายเงินโบนัส ส่วนใหญ่ธุรกิจทั้งหลาย เวลาปีไหนที่ธุรกิจมีกำไรดี เรามักจะจ่ายโบนัสออกมา ปีไหนขาดทุนหรือมีกำไรน้อย เราก็ไม่จ่าย สรรพากรจะมองว่า โบนัสที่จ่าย เราได้สร้างค่าใช้จ่ายก่อนภาษี และได้เอาไปเป็นค่าใช้จ่ายที่หักออกจากผลกำไร ทำให้เงินโบนัสดังกล่าวจะถูกตีกลับ ไม่ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องบวกกลับ ทำให้ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมบวกกับเงินเพิ่ม

 

    วิธีการจ่ายโบนัสที่ถูกต้องทำอย่างไร

    ตอบ คือต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ วางหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนและการจ่ายโบนัส
ที่ชัดเจน และถ้าจะให้มีหลักฐานแน่นหนาที่สุด คือ เอามติที่ประชุมกรรมการเรื่องการจ่ายผลตอบแทน
และโบนัส เข้าขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอีกที

    ภาษีโบนัสพนักงานและคณะกรรมการ    

    ในหลายบริษัทได้มีการพิจารณาจ่ายโบนัสให้แก่พนักงานและคณะกรรมการบริษัท หากเป็นโบนัสที่มีข้อกำหนดไว้เป็นการแน่นอนว่าต้องจ่าย มิใช่กรณีที่กำหนดจ่ายจากกำไรสุทธิหรือกำไรขั้นต้นที่ได้เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีอันเป็นข้อกำหนดพิเศษ ซึ่งในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่ยอมให้นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัทฯ ก็ย่อมนำโบนัสที่จ่ายไปถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีอากรได้

 


    กรณีการจ่ายโบนัสพิเศษมีการหารือไปยังกรมสรรพากรว่า บริษัทฯประกอบกิจการซื้อขายคอมพิวเตอร์ และรับบริการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ บริษัทฯได้มีการจ่ายเงินให้กับบุคคล ดังนี้

    1. การจ่ายโบนัสพิเศษให้แก่พนักงาน ของบริษัทฯ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่พนักงานและจูงใจให้พนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสพิเศษโดยจะพิจารณาและประเมินผลการทำงานของพนักงานแต่ละคนในช่วงที่ผ่านมาในรอบปีนั้นจากคะแนนที่หัวหน้างานและจากคณะกรรมการบริหารบริษัทฯประเมิน

    2. การจ่ายเงินโบนัสพิเศษให้แก่คณะกรรมการบริหาร เพื่อให้การบริหารบรรลุเป้าหมายและเพื่อ ประโยชน์สูงสุดขององค์กร บริษัทฯจึงกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสพิเศษให้แก่คณะกรรมการบริหารเป็นอัตราร้อยละตามยอดขายเป็นลักษณะขั้นบันไดตามยอดขายที่สามารถทำได้ตามเป้ายอดขายแต่ละขั้น ตามที่ คณะกรรมการบริหารสามารถบริหารกิจการได้โดยเกณฑ์ในแต่ละปีจะมีการทบทวนและกำหนดเป็นมติทุกๆปีในช่วงต้นปีนั้นๆ

    เกี่ยวกับเรื่องนี้กรมสรรพากรได้มีแนววินิจฉัยว่า กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินโบนัสพิเศษให้แก่พนักงาน และคณะกรรมการบริหาร ตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสพิเศษของบริษัทฯ ที่คณะกรรมการบริหารกำหนดในแต่ละปี ดยพิจารณาจากผลการงานการขาย และการทำประโยชน์ให้แก่กิจการของบริษัทฯ การจ่ายเงินโบนัสพิเศษดังกล่าว บริษัทฯมีสิทธิถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0702/3384 วันที่ 19 มิถุนายน 2551)

    ดังจะเห็นได้ว่า ในกฎหมายภาษีอากรห้ามมิให้กำหนดรายจ่ายจากกำไรที่ได้เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น กรณีของบริษัทที่หารือ กำหนดรายจ่ายโบนัสจากยอดรายได้ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร เพราะกฎหมายเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามเป็นกฎหมายพิเศษที่ต้องตีความโดยเคร่งครัด หากไม่เข้าตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด กิจการก็ย่อมนำไปถือเป็นรายจ่ายได้ดังเช่นตัวอย่างข้อหารือที่ยกข้างต้น

 

    ภาษีโบนัส คิดอย่างไร

     เงินโบนัสที่ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทเดียวกับเงินที่พนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษาหรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกันได้รับ กล่าวคือ หากเป็นพนักงาน ลูกจ้าง เงินเดือนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร โบนัส ที่ได้รับก็เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกัน และหากเป็นกรณีกรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ซึ่งได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร โบนัสที่ได้รับก็จัดเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร

      ดังนั้น เมื่อพนักงานลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษาหรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกันได้รับเงินโบนัสจึงมีหน้าที่จะต้องนำโบนัสที่ได้รับไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้พึงประเมินประจำปีด้วย ไม่ได้รับยกเว้นภาษี ส่วนบริษัทนายจ้างนั้น เมื่อมีการจ่ายเงินโบนัสก็มีหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย ซึ่งวิธีการในการคำนวณหัก ณ ที่จ่ายก็สามารถดูตัวอย่างได้จากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.96/2543 เรื่อง การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 และสามารถนำเงินโบนัสที่จ่ายนั้นมาลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้ตามปกติ ในกรณีนี้พนักงานลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษาหรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกันสามารถนำภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้นั้นไปเครดิตภาษีได้ตามปกติ

      มีข้อสังเกตว่า โดยหลักแล้วภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช้เกณฑ์เงินสดในการคำนวณภาษีเงินได้ ดังนั้น ในกรณีการได้รับโบนัสของพนักงานลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษาหรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน จึงต้องพิจารณาถึงช่วงเวลาที่ได้รับเงินโบนัสจริงด้วย หากได้รับภายในวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ผ่านมา พนักงานลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษาหรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกันก็จะต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้วแต่กรณีภายในเดือนมีนาคมของปีนี้ แต่หากได้รับในภายหลัง เช่น ได้รับในวันที่ 1 มกราคมของปีนี้ ก็จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด. 91 แล้วแต่กรณีภายในเดือนมีนาคมของปีหน้า

 

    

     ข้อหารือสรรพากร กรณีการจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงาน และคณะกรรมการ

     ข้อหารือสรรพากร ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าเบี้ยประชุมให้แก่กรรมการ

               หัก ณ ที่จ่าย เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ธรรมดา

     วิธีคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักและนำส่งในแบบ ภ.ง.ด.1

     ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ

               คำสั่ง สรรพากรที่ ป.96/2543 เรื่อง การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย

 



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคาร 20 ธันวาคม 255
4

            : สรรพากรสาส์นฉบับ ประจำเดือนมกราคม 2551




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT