ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1

 

 

 

 คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 96/2543

 

เรื่อง      การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวล

            รัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้มีเงินได้และผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

             ข้อ 1   การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานให้ปฏิบัติดังนี้

                        (1) ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้

                                 (ก) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนให้คูณด้วย 12

                                 (ข) กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งให้คูณด้วย 24

                                 (ค) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ให้คูณด้วย 52

                                 การจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเข้าทำงานระหว่างปี ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวในปีที่เข้าทำงานด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายจริงสำหรับปีนั้น เช่น เข้าทำงานวันที่ 1 เมษายน และกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำนวนคราวที่จะต้องจ่ายสำหรับปีที่เข้าทำงานจะเท่ากับ 9

                        (2) ให้นำจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม (1) มาคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ นำมาหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น

                              การคำนวณหักค่าลดหย่อน ให้คำนวณตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้พร้อมกับแนบสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย.01(แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน) ทั้งนี้ ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนได้ตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนใดของปีก็ตาม เว้นแต่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คำนวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้น

                              กรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น

                        (3) ให้นำจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คำนวณได้ตาม (2) มาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ตาม (1) ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ละคราวที่จ่ายเงินนั้น

                              ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวไม่ลงตัวเหลือเศษเท่าใด ให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจำนวนภาษีที่ต้องเสียทั้งปี

                        (4) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราว ตามวิธีการตาม (1) - (3)

                        (5) กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวตาม (2) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออกได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น แล้วให้นำมารวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น

                        (6) กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีนำส่งไว้เท่านั้น หากคำนวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีก ให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งแรกมารวมกับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งที่สอง แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับการคำนวณครั้งแรก หากคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้นำเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว (ถ้ามี) มาเครดิตออก เหลือเท่าใดจึงหักเป็นเงินภาษีและนำส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินในครั้งที่สามและครั้งต่อ ๆ ไป ก็ให้คำนวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป

                        (7) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก

                        (8) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องชำระ ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1)แห่งประมวลรัษฎากร

                ข้อ 2   การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเงินภาษีที่จะต้องหักไว้เป็นครั้งสุดท้ายในปีนั้น ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษีเพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักเมื่อรวมแล้วเท่ากับจำนวนภาษีที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น โดยนำจำนวนภาษีที่ได้หักและนำส่งไว้แล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้น ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น เช่น

                        นาย ก. มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีทั้งปีจำนวน 20,140 บาท ซึ่งจะต้องถูกหักภาษีไว้เดือนละ 1,678.33 บาท ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินได้หักภาษี (คำนวณตามข้อ 1) และนำส่งไว้เดือนละ 928.33 บาท เป็นเวลา 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) และเดือนละ 4,315 บาท เป็นเวลา 2 เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน) รวมเป็นเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว = (928.33 X 9) + (4,315 X 2) = 16,984.97 บาท เหลือภาษีที่จะต้องหักและนำส่งในเดือนธันวาคม = 20,140 - 16,984.97 = 3,155.03 บาท

                ข้อ 3   การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนสุดท้ายที่ผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปี ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษี เพื่อให้เงินภาษีที่หักไว้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงตามหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดงโดยนำเงินภาษีที่หักไว้ไม่ครบถ้วนหรือเกินในเดือนก่อน ๆ มารวมหรือหักกับภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ครั้งสุดท้ายนั้นได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น เช่น

                        นาย ก. ถูกหักภาษีไว้เดือนละ 928.33 บาท (ตามรายการค่าลดหย่อนที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน) เป็นเวลา 5 เดือน นาย ก. ลาออกจากงานในเดือนต่อมา เมื่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคำนวณภาษี ตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงในเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่ต้องหักเดือนละ 1,008.33 บาท ภาษีที่หักไว้ไม่ครบ = (1,008.33 - 928.33) X 5 = 400 จึงต้องหักภาษีและนำส่งในเดือนสุดท้ายนั้น = 1,008.33 + 400 = 1,408.33 บาท (กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้ขาด) นาย ก. ถูกหักภาษีไว้เดือนละ 928.33 บาท (ตามรายการค่าลดหย่อนที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน) เป็นเวลา 5 เดือน นาย ก. ลาออกจากงานในเดือนต่อมา เมื่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคำนวณภาษี ตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงในเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่ต้องหักเดือนละ 803.33 บาท ภาษีที่หักไว้เกิน = (928.33 - 803.33) X 5 = 625 จึงต้องหักภาษีและนำส่งในเดือนสุดท้ายนั้น = 803.33 - 625 = 178.33 บาท (กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้เกิน) 

                ข้อ 4   การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนอื่นนอกจากกรณีตามข้อ 2 และข้อ 3 ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินยังคงต้องคำนวณภาษีและหัก ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ตามที่กล่าวในข้อ 1 

                ข้อ 5   บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก

 

สั่ง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543

 

ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ

อธิบดีกรมสรรพากร

 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย

กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 96/2543

ตัวอย่างที่ 1  

กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินเป็นรายเดือน เดือนละเท่า ๆ กันตลอดปีภาษี ตามข้อ 1 (1) (2) (3)

ปีภาษี 2542 นาย ก. ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 30,000 บาท นาย ก. ได้แจ้งสถานะการหักลดหย่อนไว้ดังนี้

ภรรยาไม่มีเงินได้ และบุตรกำลังศึกษา 2 คน

ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตในเดือนกรกฎาคม 2542 จำนวน 9,600 บาท และ ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ ที่จะต้องจ่ายทั้งปี จำนวน 13,200 บาท

ผู้จ่ายเงินได้ ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแต่ละเดือน ดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    30,000 x 12   =   360,000.-    บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                  =     60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                            =   300,000.-    บาท

หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว                 30,000.-    บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส                     30,000.-    บาท

ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน          34,000.-    บาท

ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต              9,600.-    บาท

ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ        10,000.-    บาท       =   113,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                   =   186,400.-    บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปี ((100,000 - 50,000) X 5%) + (86,400 X10%)      =     11,140.-      บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 11,140 หาร 12                         =     928.33        บาท

เหลือเศษ                                                                              =       0.003        บาท

จำนวนเงินที่เหลือเศษให้รวมกับเงินภาษี

ที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม = 928.33 + (0.003 x 12)                =          928.37 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ                                                       =          928.33 บาท

เดือนธันวาคม                                                                                        =          928.37 บาท

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 2   

กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปีภาษี ตามข้อ 1 (4) และการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย เดือนธันวาคมตามข้อ 2

จากตัวอย่างที่ 1 ถ้านาย ก. ได้รับเงินเดือนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 เป็นเดือนละ 60,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    60,000 x 12                         =   720,000.-    บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                        =     60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                  =    660,000.-    บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 10,000          =   113,600.-     บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                       =    546,400.-    บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปี ((100,000 - 50,000) X 5%) + (400,000 X10%) + (46,400 X 20%)

                                                                                               =      51,780.-    บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป 51,780 หาร 12       =        4,315.-   บาท

สำหรับในเดือนธันวาคม ให้ปรับปรุงการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้ :

ภาษีที่ต้องเสียทั้งปีจากเงินได้ที่ได้รับจริง (คำนวณจากเงินเดือน ๆ ละ 30,000 บาท 9 เดือน

และเดือนละ 60,000 บาท 3 เดือน)                                                  =      20,140.-   บาท

ภาษีเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้แล้ว (ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนพฤศจิกายน)

= (928.33 X 9) + (4,315 X 2)                                                     =     16,984.97   บาท

เป็นภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ในเดือนธันวาคม = 20,140 - 16,984.97      =       3,155.03   บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง กันยายน เดือนละ                                                =          928.33    บาท

เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ                                              =       4,315.-      บาท

เดือนธันวาคม                                                                             =       3,155.03    บาท

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 3

กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวในระหว่างปีภาษี ตามข้อ 1 (5)

จากตัวอย่างที่ 1 ถ้าในเดือนมีนาคม 2542 นาย ก. ได้รับเงินโบนัสอีก จำนวนหนึ่งเป็นเงิน 90,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เดือนมีนาคม 2542 ดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    30,000 x 12                       =   360,000.-    บาท

บวก เงินโบนัส = 90,000 X 1                                                        =     90,000.-    บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                                                   =   450,000.-    บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                       =     60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                 =   390,000.-    บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 10,000 =   113,600.-    บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                      =   276,400.-    บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมเงินโบนัส

((100,000 - 50,000) X 5%) + (176,400 X10%)                             =      20,140.-   บาท

หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1)                            =      11,140.-   บาท

คงเหลือภาษีเงินได้ของโบนัส                                                          =        9,000.-  บาท

บวก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนมีนาคม (ตามตัวอย่าง 1)   =        928.33   บาท

รวม ภาษีต้องหัก ณ ที่จ่าย เดือนมีนาคม                                             =       9,928.33 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ เดือนละ                                                =          928.33 บาท

เดือนมีนาคม                                                                                =       9,928.33 บาท

เดือนเมษายน ถึง พฤศจิกายน เดือนละ                                              =          928.33 บาท

เดือนธันวาคม                                                                              =          928.37 บาท

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 4 

กรณีจำนวนคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่สม่ำเสมอตลอดปีภาษี ตามข้อ 1(6)

จากตัวอย่างที่ 1 นาย ก. ได้รับเงินเดือนและได้รับเงินค่าล่วงเวลาตาม จำนวนวันที่ทำงาน

เดือนมกราคมได้รับค่าล่วงเวลา 6,500 บาท

เดือนกุมภาพันธ์ได้รับค่าล่วงเวลา 5,200 บาท

ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังนี้

วิธีคำนวณ

มกราคม

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    30,000 x 12                      =   360,000.-    บาท

บวก ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม                                                      =       6,500.-    บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                                                  =   366,500.-    บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                      =     60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                =   306,500.-    บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 10,000 =   113,600.-    บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                     =   192,900.-    บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมค่าล่วงเวลา ((100,000 - 50,000) X 5%) + (92,900 X10%)

                                                                                             =      11,790.-    บาท

หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1)                          =      11,140.-    บาท

คงเหลือภาษีเงินได้ของค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม                              =           650.-    บาท

บวก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนมกราคม                     =          928.33   บาท

รวมภาษีต้องหัก ณ ที่จ่ายเดือนมกราคม (650 + 928.33)                    =       1,578.33   บาท

กุมภาพันธ์

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    30,000 x 12                      =      360,000.-    บาท

บวก ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม                                                     =       6,500.-       บาท

บวก ค่าล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์                                                            5,200.-       บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                                                  =      371,700.-    บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                     =     60,000.-       บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                               =     311,700.-     บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 10,000)      =    113,600.-      บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                    =      198,100.-    บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมค่าล่วงเวลา ((100,000 - 50,000) X 5%) + (98,100 X10%)

                                                                                                         =      12,310.-   บาท

หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1)                                      =      11,140.-    บาท

ภาษีเงินได้ของค่าล่วงเวลา                                                                       =        1,170.-   บาท

หัก ภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม                                                     =            650.-   บาท

คงเหลือภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์                                             =            520.-   บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนกุมภาพันธ์                                     =           928.33  บาท

รวมภาษีต้องหัก ณ ที่จ่ายเดือนกุมภาพันธ์ (520 + 928.33)                              =       1,448.33  บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม                                                                                       =       1,578.33   บาท

เดือนกุมภาพันธ์                                                                                     =       1,448.33  บาท

เดือนมีนาคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ                                                         =          928.33 บาท

เดือนธันวาคม                                                                                         =          928.37 บาท

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 5  

กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษี โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเองเลย (ออกภาษีให้ตลอดไป) ตามข้อ 1 (7)

นายลิขิตมีเงินเดือน ๆ ละ 25,000 บาท มีภรรยาชอบด้วยกฎหมาย และบุตร กำลังศึกษา 1 คน บริษัทออกเงินภาษีให้ตลอดไป ผู้จ่ายเงินได้ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้

วิธีคำนวณ

ครั้งที่ 1

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    25,000 x 12                                   =   300,000.-    บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                  =     60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                            =   240,000.-    บาท

หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว                                 30,000.-    บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส                                       30,000.-    บาท

ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 1 คน                          17,000.-    บาท                       =    77,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                                   =  186,400.-      บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 1 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (63,000 X10%)           =       8,800.-     บาท

 

ครั้งที่ 2

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    25,000 x 12                                  =   300,000.-      บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 1                                                                   =        8,800.-    บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                                                              =   308,800.-      บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                  =     60,000.-     บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                           =   248,800.-      บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000)                                            =     77,000.-     บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                                =  171,800.-      บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 2 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (71,800 X10%)        =      9,680.-    บาท

 

ครั้งที่ 3

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    25,000 x 12                                  =   300,000.-     บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 2                                                                  =       9,680.-    บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                                                             =   309,680.-      บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                 =     60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                          =   249,680.-    บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000)                                           =     77,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                               =    172,680.-    บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 3 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,680 X10%)       =       9,768.-    บาท

 

ครั้งที่ 4

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    25,000 x 12                                  =   300,000.-      บาท

บวกภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 3                                                                    =        9,768.-    บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                                                               =   309,768.-     บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                  =     60,000.-     บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                            =   249,768.-     บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000)                                            =     77,000.-     บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                                =    172,768.-     บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 4 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,768 X10%)        =      9,776.80    บาท

 

ครั้งที่ 5

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    25,000 x 12                                   =   300,000.-     บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 4                                                                    =   9,776.80      บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                                                               =   309,776.80   บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                   =     60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                             =   249,776.80   บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000)                                             =     77,000.-     บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                                  =  172,776.80    บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 5 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,776.80 X10%)

                                                                                                           =      9,777.68   บาท

 ครั้งที่ 6

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    25,000 x 12                                  =   300,000.-    บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 5                                                                   =   9,777.68      บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน=   309,777.68 บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                 =     60,000.-     บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                           =   249,777.68   บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000)                                            =     77,000.-     บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                                =   172,777.68    บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 6 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,777.68 X 10%)

                                                                                                          =      9,777.77  บาท

 ครั้งที่ 7

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    25,000 x 12                                   =   300,000.-    บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 6                                                                    =     9,777.77 บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                                                               =  309,777.77 บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                   =    60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                             =  249,777.77 บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000)                                              =   77,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                                   = 172,777.77 บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 7 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,777.77 X 10%)      =    9,777.78 บาท

 

ครั้งที่ 8

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    25,000 x 12                                 =   300,000.-    บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 7                                                                  =      9,777.78 บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                 =    60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                           =   249,777.78 บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000)                                            =    77,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                                 =  172,777.78 บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 8 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,777.78 X 10%)         

                                                                                                          =    9,777.78 บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 9,777.78 หาร 12                                     =       814.81 บาท

เหลือเศษ                                                                                              =          .005 บาท

จำนวนเงินเหลือเศษให้รวมกับเงินภาษี

ที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม = 814.81 + (0.005 X 12 )               =        814.87 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นายลิขิต ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ                                                        =        814.81 บาท

เดือนธันวาคม                                                                                         =       814.87 บาท

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 6  

กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่ แน่นอน (ออกภาษีให้ครั้งเดียว) ตามข้อ 1 (8) เช่น เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่จะต้องชำระ

จากตัวอย่างที่ 5 นายจ้างออกเงินค่าภาษีให้ครั้งเดียวเป็นจำนวนที่แน่นอน ผู้จ่ายเงินได้ ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้

วิธีคำนวณ

ครั้งที่ 1

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    25,000 x 12                                  =   300,000.-    บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                 =    60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                           =   240,000.-    บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000)                                           =    77,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                                =   163,000.-    บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 1 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (63,000 X10%)        =      8,800.-    บาท

 

ครั้งที่ 2

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    25,000 x 12                                  =   300,000.-    บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 1                                                                  =      8,800.-    บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน                                                                              =  308,800.-    บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                  =   60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                            =  248,800.-    บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000)                                             =   77,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                                  =  171,800.-    บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 2 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (71,800 X10%)          =     9,680.-    บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 9,680 หาร 12                                           =       806.66 บาท

เหลือเศษ                                                                                               =           .006 บาท

จำนวนเงินเหลือเศษให้รวมกับเงินภาษี

ที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม = 806.66 + (0.006 X 12 )                =       806.74 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นายลิขิต ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ                                                         =          806.66 บาท

เดือนธันวาคม                                                                                          =          806.74 บาท

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 7  

การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานการหักค่าลดหย่อนที่แท้จริงที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดง กรณีผู้มีเงินได้ออกจากงานในระหว่างปีภาษี ตามข้อ 3

จากตัวอย่างที่ 1 นาย ก. ได้ลาออกจากงานวันที่ 30 มิถุนายน 2542 และไม่สามารถนำหลักฐานการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตจำนวน 9,600 บาท ที่แจ้งรายการขอหักลดหย่อนไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้มาแสดงได้ แต่ได้นำใบเสร็จรับเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายในแต่ละเดือนมาแสดงจำนวน 12,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้ต้อง คำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเดือนมิถุนายน 2542 ดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี    =    30,000 x 12                                  =   360,000.-    บาท

หักค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท)                                                   =    60,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                            =  300,000.-    บาท

หัก  ค่าลดหย่อนส่วนตัว                    30,000.-    บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส                         30,000.-    บาท

ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน               34,000.-    บาท

ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ             10,000.-    บาท                                =  104,000.-    บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ                                                                                 =  196,000.-    บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปี ((100,000 - 50,000) X 5%) + (96,000 X10%)                     =   12,100.-    บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 12,100 หาร 12                                        =    1,008.33   บาท

ภาษีที่นำส่งไว้ขาดแต่ละเดือน (1,008.33 - 928.33)                                       =         80.-    บาท

จำนวนเดือนที่ส่งไว้ขาด คือ 5 เดือน (มกราคม - พฤษภาคม)

ภาษีที่ต้องนำส่งเดือนมิถุนายน 1,008.33 + (80.00 X 5)                                 =    1,408.33   บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ                                                        =    928.33    บาท

เดือนธันวาคม                                                                                         =   928.37     บาท

ที่มา : กรมสรรพากร




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT