ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



รายจ่ายต้องห้าม (ของแท้)

                                                                                 

                          รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้


ในสัปดาห์นี้ นำประเด็นรายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ ในการดำเนินงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มาปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา ขอให้ช่วยขยายความเกี่ยวกับ "รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้" ด้วย

วิสัชนา ดังได้กล่าวในครั้งก่อนแล้วว่า รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ รายจ่ายต้องห้าม โดยแท้ รายจ่ายต้องห้าม โดยผลของกฎหมาย และรายจ่ายที่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายได้

กล่าวสำหรับ รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ (Proper Non Deductible Expenditure) หมายถึง รายจ่ายที่โดยปกติธรรมดาในทางธุรกิจก็ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิ แต่เนื่องจากในทางภาษีอากรบัญญัติเป็นเชิงปฏิเสธ จึงต้องนำรายการรายจ่ายต้องห้ามโดยแท้มาบัญญัติห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่าย มิฉะนั้น อาจเป็นช่องทางให้ผู้ที่ไม่สุจริตนำรายจ่ายประเภทนี้มาคำนวณหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ซึ่งอาจจำแนกรายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรได้ดังนี้

1.มาตรา 65 ตรี (1) เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินสำรองทั่วไป เช่น สำรองตามกฎหมาย ซึ่งกันจากกำไรสะสมก่อนจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 5% ของกำไรสุทธิประจำงวด (ที่ยังมิได้จ่ายเงินปันผล) จนกว่าเงินสำรองจะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10% ของทุนจดทะเบียน หรือสำรองเผื่อขยายกิจการที่กันไว้จากกำไรสะสมเช่นเดียวกัน

2.มาตรา 65 ตรี (2) เงินกองทุน โดยทั่วไปเงินกองทุน เป็นเงินที่กันจากเงินสดของกิจการ ยังไม่มีการจ่ายจริง เช่น กองทุนเงินกู้ยืมแก่พนักงานเพื่อเป็นสวัสดิการ

3.มาตรา 65 ตรี (3) เฉพาะส่วนที่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว หรือรายจ่ายให้โดยเสน่หา รวมทั้งค่าการกุศลไม่สาธารณะ เนื่องจากรายจ่ายในการดำเนินงานต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการดำเนินกิจการหรือรายจ่ายเพื่อหากำไรโดยเฉพาะ จึงไม่สามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายได้

(1) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ได้แก่ รายจ่ายส่วนตัวกรรมการ ที่ปรึกษา หรือพนักงาน ซึ่งเป็นบุคคลภายในองค์กรตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปกำหนดให้แยกความเป็นส่วนตัวออกจากกิจการ เช่น ค่าจัดงานศพของกรรมการที่ปรึกษาหรือพนักงาน เป็นต้น

(2) รายจ่ายให้โดยเสน่หา หมายถึง รายจ่ายส่วนตัวของผู้รับซึ่งเป็นบุคคลภายนอกองค์การที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยอมรับมาเป็นรายจ่ายของกิจการ เช่น รายจ่ายของขวัญ ของชำร่วย เป็นต้น

(3) รายจ่ายการกุศลไม่สาธารณะ หมายถึง รายจ่ายการกุศลทั่วไปที่มีความใกล้เคียงกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือให้โดยเสน่หา ประกอบกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งค้าหรือหากำไร มิใช่องค์การกุศลสาธารณะจึงไม่จำเป็นต้องมีรายจ่ายประเภทนี้

4.มาตรา 65 ตรี (5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือรายจ่ายฝ่ายทุน ได้แก่ รายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งได้มาซึ่งทรัพย์สินถาวรทั้งที่มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง

5.มาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการมีสิทธินำไปเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียในแต่ละเดือนภาษี และภาษีมูลค่าเพิ่มได้ชำระหรือพึงต้องชำระตามแบบ ภ.พ. 30 เนื่องจากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี

6.มาตรา 65 ตรี (7) การถอนเงิน โดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หมายถึง เงินถอนทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

7.มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง

8.มาตรา 65 ตรี (10) ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง เป็นรายจ่ายที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะโดยปกติกิจการไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้ และไม่มีช่องทางที่จะบันทึกรายการทางบัญชีสำหรับรายการนี้ได้เลย

9.มาตรา 65 ตรี (11) ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเองเป็นรายจ่ายที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติเช่นเดียวกับรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (10) ข้างต้น

10.มาตรา 65 ตรี (12) เฉพาะในส่วนที่เป็นขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนๆ ที่เกินกว่า 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน เป็นรายการรายจ่ายต้องห้ามที่สอดคล้องต้องกันทั้งในทางบัญชี และในทางภาษีอากร

11.มาตรา 65 ตรี (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ อาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
(1) รายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ หมายถึง รายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายในการดำเนินกิจการหรือรายจ่ายที่มิได้เกิดขึ้นเพื่อการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ ทั้งไม่อำนวยให้เกิดรายได้จากการจ่ายรายจ่ายรายการนั้น
(2) รายจ่ายที่จ่ายแทนหรือจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น
(3) ผลขาดทุนของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ

12.มาตรา 65 ตรี ผ14) รายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการในประเทศไทย โดยเฉพาะหมายถึง รายจ่ายในต่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทย และเป็นรายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย โดยเฉพาะ

13.มาตรา 65 ตรี ผ16) ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำ ซึ่งถือเป็นรายจ่ายที่เป็นไปไม่ได้อีกรายการหนึ่ง


                                        ที่มา..กรุงเทพธุรกิจ   18/1/49



หน้า 1/1
1
[Go to top]