ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



                                

 หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร     

 

รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นอกจากรายจ่ายในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าหรือบริการ อันจะนำมาสู่ความมั่งคั่ง มั่นคงทางเศรษฐกิจ รัฐจึงมีนโยบายให้การสนับสนุนแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ที่ทำการวิจัยและพัฒนา โดยให้สิทธิประโยชน์นำไปหักเป็นรายจ่ายทางภาษีเงินได้นิติบุคคลได้สองเท่า นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายที่ได้เพิ่มขึ้นในรูปแบบอื่นอีก อาทิเช่น ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้

 ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี

 วิสัชนา ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร โดยทั่วไปในทางบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่าย แต่ในทางภาษีอากรกำหนดยอมให้นำมาถือเป็นรายจ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข

 1. ผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน โดยทั่วไปผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนๆ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องต้องกันทั้งในทางบัญชีและในทางภาษีอากร อย่างไรก็ตามในทางภาษีอากร ยอมให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิในทางภาษีอากรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังต่อไปนี้

 (1) ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิซึ่งได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร

 (2) ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่นับย้อนหลังไปไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน

 (3) การนำผลขาดทุนสุทธิไปถือเป็นรายจ่าย ให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดขึ้นก่อน ไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำไรสุทธิเป็นปีแรกในช่วงเวลาไม่เกิน 5 ปีหลังจากปีที่มีผลขาดทุนสุทธิดังกล่าว ตามหลักผลขาดทุนเกิดขึ้นก่อนให้นำมาหักก่อน (First-loss, First-use) ในกรณีที่ยังมีผลขาดทุนสุทธิเหลืออยู่ ก็ให้นำผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อไป ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น

 (4) ให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมาถือเป็นรายจ่ายได้เพียงเท่าที่ไม่เกินกว่ากำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

 2. วิธีคำนวณผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ให้คำนวณตั้งแต่รอบระเวลาบัญชีปีแรกที่มีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนดังนี้

(1) ให้นำผลกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกที่มีกำไรสุทธิมาตั้ง แล้วนับย้อนกลับขึ้นไป 5 ปี ก่อนปีที่มีกำไรสุทธิดังกล่าว ให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกในระยะเวลา 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่มีกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่าย หากยังเหลือเป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อๆ มาในระยะเวลา 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่มีกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่ายได้ต่อไป จนกว่าจะปรากฏผลเป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลกำไรสุทธินั้นไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อไป กรณีปรากฏผลเป็นขาดทุนสุทธิ ซึ่งเป็นผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่นำผลขาดทุนสุทธิมาคำนวณหักเป็นรายจ่าย ให้หยุดคำนวณ ซึ่งเป็นผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าว

(2) ให้นำผลกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อมามาตั้ง แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ (1) ข้างต้น

  ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนปีปัจจุบันอย่างไร

  วิสัชนา ให้ดำเนินการวางแผนเกี่ยวกับผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน

 1. ผลขาดทุนสุทธิที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ต้องใช้ผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรที่ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากรแล้ว มิใช่ผลขาดทุนสุทธิทางบัญชีการเงินตามบัญชีกำไรขาดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป

 2. การประกอบกิจการในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจมีข้อได้เปรียบยิ่งกว่าการประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ในประเด็นที่กำหนดให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ หากมีผลขาดทุนสุทธินอกจากจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วยังสามารถยกยอดผลขาดทุนสุทธิไปหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อๆ ไปได้อีกไม่เกิน 5 ปี

 3. ให้พยายามสร้างรายได้และผลกำไรสุทธิ เพื่อนำผลขาดทุนสุทธิยกมาในรอบบัญชีปีก่อนมาหักเป็นรายจ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยหากิจกรรมที่มีกำไรสูงเข้ามาในกิจการ

 4. ในกรณีที่ผลการประกอบกิจการมีขาดทุนสุทธิมาก แต่ผู้ถือหุ้นต้องการเงินปันผลจากบริษัท อาจใช้วิธีการลดทุน เพื่อลดผลขาดทุนสะสมในทางบัญชี ซึ่งทำให้ไม่มีผลขาดทุนสะสมคงเหลืออีกต่อไป แต่ในทางภาษีอากรยังคงมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน

 5. ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันมาถือเป็นรายจ่ายได้ และในขณะเดียวกันกิจการก็สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้

   ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี

ที่มา  : กรุงเทพธุรกิจ 7 กุมภาพันธ์  2550
 



หน้า 1/1
1
[Go to top]