ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



 

รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ



  หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่ายทั่วไปในการดำเนินกิจการในทางบัญชี และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่ายทั่วไปในการดำเนินกิจการในทางภาษีอากรมีความแตกต่างกันโดยชัดแจ้งอยู่หลายประการอาทิ รายจ่ายทั่วไปในการดำเนินกิจการในทางบัญชีแม้ไม่มีเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีก็อาจนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิได้ จึงขอนำประเด็นรายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายจ่ายหลักฐานการจ่ายเงิน ในอันที่จะพิสูจน์ผู้รับให้ได้ว่าเป็นบุคคลใด อย่างไร

วิสัชนา หลักฐานการจ่ายที่พิสูจน์ผู้รับได้ มีดังต่อไปนี้

1. กรณีผู้รับเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีกิจการเป็นหลักแหล่งมั่นคง เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี ซึ่งมีข้อความถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด โดยอาจใช้ประกอบกับสัญญาทางธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษร

อย่างไรก็ตาม หลักฐานประกอบการลงบัญชีเพื่อหักเป็นรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าจะต้องใช้ต้นฉบับ หากสำเนาใบเสร็จรับเงินนั้นเป็นหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ก็ไม่ต้องห้าม หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0804/17874 ลงวันที่ 29 กันยายน 2521) นอกจากนี้ ใบรับเงินที่มีข้อความไม่ครบถ้วน หากสามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินได้ ก็สามารถลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0804/10150 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2528)

2. กรณีผู้รับมิได้เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีกิจการเป็นหลักแหล่งมั่นคง อาจใช้หลักฐานการรับเงินที่ผู้รับจัดทำขึ้น แทนใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นเพื่อการพิสูจน์ผู้รับ

(1) กรณีผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา ให้ลงลายมือชื่อรับเงินหรือทรัพย์สินตามหลักฐานที่จัดทำขึ้นโดยระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวของผู้รับเงิน พร้อมทั้งถ่ายเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เช่น กรณีชาวไร่ข้าวโพดขายข้าวโพดให้บริษัท โดยไม่ออกใบรับให้ หากบริษัท ทำหลักฐานการจ่ายเงินที่มีรายละเอียดระบุชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปี จำนวนเงิน และรายการจ่ายแล้วให้ผู้รับเงินลงชื่อรับไว้ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับแล้ว บริษัท ย่อมนำมาลงเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/12043 ลงวันที่ 8 กันยายน 2529)

(2) กรณีผู้รับไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ไม่ออกหลักฐานการรับเงินใด ให้จ่ายเช็คขีดคร่อมระบุชื่อผู้รับเงินไว้ในเช็ค (A/C Payee Only) และถ่ายเอกสารเช็คดังกล่าวพร้อมขอหลักฐานการโอนเงินตามเช็คดังกล่าวจากธนาคารมาประกอบการจ่ายเงิน ในกรณีจำเป็นอาจจัดซื้อสินค้าหรือรับบริการจากตัวแทนหรือเอเย่นต์ ในอันที่จะให้ได้มาซึ่งหลักฐานการจ่ายค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการออกของผ่านชิปปิง การซื้อสินค้าพืชผักผลไม้อาหารสดของกิจการโรงแรม ภัตตาคาร เป็นต้น

อนึ่ง ใบรับเงินค่าซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ไม่ได้จดทะเบียนการค้าซึ่งผู้ซื้อทำขึ้นและให้ผู้ขายลงนามมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ของผู้รับเงินแน่นอน ผู้ซื้อจะนำใบรับเงินดังกล่าวมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ แต่ถ้าไม่มีชื่อ ที่อยู่ของผู้รับเงิน หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ก็อาจต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0804/24055 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2520) และในการตรวจสอบหากเจ้าพนักงานประเมินไม่เชื่อ บริษัท จะต้องพิสูจน์ให้ปราศจากข้อสงสัย (คำพิพากษาฎีกาที่ 1678/2532)

ปุจฉา กรณีบริษัท รับเหมาก่อสร้าง มีเพียงหลักฐานการโอนเงินทางธนาคารให้เจ้าหน้าที่ของบริษัท เพื่อจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง และมีใบสำคัญรายงานแจ้งจำนวนเงินที่ได้จัดซื้อวัสดุก่อสร้างของเจ้าหน้าที่ของบริษัท ถือเป็นหลักฐานเพียงพอที่จะรับฟัง และให้บริษัท ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่

วิสัชนา กรณีดังกล่าวยังไม่อาจรับฟังพอที่จะให้บริษัท ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เพราะเอกสารดังกล่าวมิได้แสดงให้เห็นว่าเป็นรายจ่ายค่าซื้อวัสดุก่อสร้างจากผู้ใด เป็นจำนวนเท่าใด คงเป็นเพียงหลักฐานหรือเอกสารระหว่างลูกจ้างกับบริษัทนายจ้างเท่านั้น จะถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ 3.6/2513 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2513)

ปุจฉา เงินค่ารับรองพิเศษที่บริษัท จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในด้านการค้าของบริษัท แต่ไม่สามารถแจ้งรายละเอียดได้เพราะเป็นความลับ คงมีแต่ใบขอเบิกเงิน และใบอนุมัติจ่าย โดยไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชี แต่ก็เป็นรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นทุกปี บริษัท สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่

วิสัชนา กรณีดังกล่าวแม้จะเชื่อได้ว่าเงินรับรองพิเศษเป็นรายจ่ายของบริษัทจริง แต่โดยที่บริษัท ไม่สามารถชี้แจงรายละเอียด และพิสูจน์ตัวผู้รับเงินได้ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร การที่ผู้จัดการรับไปก็เพื่อจ่ายในกิจการค้าของบริษัท มิใช่รับไปเป็นเงินได้ของตน จึงไม่ถือเป็นเงินได้ของผู้จัดการบริษัท ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของผู้จัดการ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0804/4786 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2523)

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 5/7/49 



หน้า 1/1
1
[Go to top]