บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
สิ่งที่ท้าทายในการดำเนินธุรกิจขนาดเล็กประการหนึ่งก็คือสภาพความไม่แน่นอน ผมไม่เพียงแต่กำลังพูดถึงเรื่องการดำเนินธุรกิจที่ต้องมีความต่อเนื่องเท่านั้น แต่ยังพูดถึงการหมุนเวียนของกระแสเงินสดในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย ต่อไปนี้เป็นแนวคิดการปรับปรุงเงินสดหมุนเวียนของธุรกิจขนาดเล็ก เรียกเก็บเงินโดยทันที คุณเคยประสบกับเหตุการณ์ที่มัวแต่ยุ่งอยู่กับสร้างงานและพยายามส่งงานให้ทันจนลืมเรียกเก็บเงินอยู่เสมอใช่หรือไม่ ไม่ใช่คุณคนเดียวที่เป็นเช่นนั้น ปัญหาที่ร้ายแรงนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติของธุรกิจขนาดเล็ก หากคุณยังไม่ได้ใช้ระบบการเก็บเงินใดๆ ในขณะนี้ ให้เริ่มต้น (หรือมอบหมายให้พนักงานเริ่มต้น) เรียกเก็บเงินค่าโครงการต่างๆ อย่างเป็นประจำในทันที และเมื่อดำเนินโครงการระยะยาวหรือติดต่อธุรกิจกับลูกค้าในระยะยาวแล้ว ให้เจรจาเป็นการล่วงหน้าในการกำหนดการชำระเงินอย่างสม่ำเสมอแทนที่จะปล่อยให้ยอดหนี้สะสมจนสิ้นสุดโครงการ สร้างแรงจูงใจให้ชำระเงินคุณเร็วขึ้นกว่าเดิม บางครั้งธุรกิจขนาดเล็กสามารถลดเวลารอการชำระหนี้ที่ค้างแก่คุณได้อย่างมากด้วยการให้ข้อเสนอลดราคาให้ในกรณีที่ชำระหนี้เร็วขึ้น ผมเคยได้รับใบแจ้งหนี้ในธุรกิจที่เสนอลดให้ 1% หรือ 2% หากชำระภายใน 10 วัน ดังนั้น หากผมมีความคิดที่จะชำระหนี้ภายใน 30 วันอยู่แล้ว ผมคงมีแนวโน้มที่จะรีบเขียนเช็คออกไปทันทีเพื่อจะได้ส่วนลดที่เล็กน้อยนั้น ข้อเสนอดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีทั้งในแง่ของหนี้คงค้างและในแง่เงินสดหมุนเวียนด้วย หลีกเลี่ยงลูกค้าประเภทชำระหนี้ช้า/ไม่ชำระหนี้ตั้งแต่ต้น วิธีการที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงปัญหาเงินสดหมุนเวียนอันเกิดจากลูกค้าหรือบริษัทต่างๆ ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่คุณก็คือ การตัดลูกค้าประเภทชำระหนี้ช้า/ไม่ชำระหนี้ตั้งแต่ต้นทิ้งไปไม่ให้เป็นลูกค้าของเรา เพราะฉะนั้น หากมีใครบางคนกำลังจะเป็นลูกค้าสำคัญของเรา เราควรทำการบ้านเสียก่อน โดยถามและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของลูกค้ารายดังกล่าวจากผู้ที่เคยทำธุรกิจกับเขามาก่อน ใช้ระบบแลกเปลี่ยนแทนเงินสด คุณสามารถลดปัญหาเรื่องเงินตึงได้ด้วยการใช้สินค้าหรือบริการที่คุณมีแลกกับสินค้าหรือบริการของผู้อื่น หากสามารถกระทำได้ ลดปริมาณสินค้าคงคลัง แม้ว่าคุณไม่สามารถใช้ระบบการจัดการสินค้าคงคลังชนิด "just-in-time" ได้ อย่างน้อยก็ควรให้มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากเงินที่ใช้จ่ายในสินค้าคงคลังเป็นเงินที่ไม่ก่อให้เกิดดอกผลหรือเป็นเงินออมที่คุณสามารถใช้ได้ การลดปริมาณสินค้าคงคลังบางครั้งเป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยง่าย ผมเคยเห็นภัตตาคารที่ลดจำนวนเหล้าไวน์ที่มีบริการลูกค้าให้เหลือยี่ห้อไวน์ที่มีคุณภาพเพียงไม่กี่ยี่ห้อแทนที่จะมีไวน์ทุกชนิดไว้บริการตามความต้องกรของลูกค้าทุกคน แม้ว่าลูกค้าอาจมีรสนิยมที่ดีในการดื่มไวน์ เขาก็ยังคงได้ดื่มไวน์ที่ดีอยู่เหมือนเดิมโดยไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด การลดจำนวนเจ้าหนี้เงินกู้ให้น้อยลง ผมทราบว่าการขอกู้เงินของธุรกิจขนาดเล็กเป็นเรื่องยากลำบากมาก แต่ก็แปลกใจที่มีบางรายสามารถกู้เงินได้หลายทางด้วยกัน มีธุรกิจขนาดเล็กรายหนึ่งที่ผมรู้จัก มีพนักงานเพียงหนึ่งคน แต่มีการกู้เงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเขาถึง 4 ประเภทด้วยกันคือ เงินกู้สำหรับอุปกรณ์เครื่องมือ เงินกู้รถยนต์ วงเงินกู้เพื่อดำเนินธุรกิจ และบัตรเครดิตสำหรับธุรกิจ หากคุณมีเงินกู้อยู่หลายประเภทในการดำเนินธุรกิจของคุณ ให้พิจารณาดูว่า อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขของแต่ละรายเป็นอย่างไร คุณอาจสามารถรวมจำนวนผู้ให้กู้ 2 รายหรือมากกว่านั้น ให้เป็นรายเดียวโดยมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเพื่อทำให้เงินสดหมุนเวียนของคุณดีขึ้น โดยปกติ ผมเป็นคนที่ไม่ชอบยืดระยะเวลาการชำระหนี้เท่าใดนัก แต่ถ้าหากคุณมีความคิดที่จะเจรจากับผู้ให้กู้เพื่อการรวมเงินกู้ทั้งหมดที่มีอยู่ให้เป็นเงินกู้รายเดียว คุณควรเจรจาให้เงินกู้ใหม่นี้มีระยะการชำระหนี้ที่ยาวกว่าเดิมเพื่อแลกกับยอดการชำระรายเดือนที่ต่ำลง แหล่งข้อมูล : Microsoft Corporation ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |