บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net
หลักเกณฑ์รายจ่ายทางภาษีอากร
หลักเกณฑ์รายจ่ายทางภาษีอากร
ขอนำประเด็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายจ่ายในการดำเนินกิจการทางภาษีอากร ที่ใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาเขียนเป็นข้อมูลดังนี้ 1.รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หมายถึง รายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่จะนำมาใช้ในการดำเนินการหรือเพื่อการหารายได้ ซึ่งอาจแบ่งย่อยเป็น (1) ทรัพย์สินถาวรที่มีรูปร่าง เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร เครื่องใช้สำนักงานเป็นต้น (2) ทรัพย์สินถาวรที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิการเช่า ค่าสัมปทาน ต้นทุนเพื่อการได้มา ซึ่งสิทธิทั้งปวง เป็นต้น รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีกรรมสิทธิ์ หรือแม้ไม่มีกรรมสิทธิ์แต่มีอายุการใช้งานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มีข้อกำหนดตามประมวลรัษฎากรห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงาน (มาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร) แต่ยอมให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในรูปของค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 2.รายจ่ายในการดำเนินกิจการ หมายถึง รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจอันก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อรายจ่ายดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือสิทธิใดๆ หากแต่ใช้สิ้นเปลืองหมดไป เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ เป็นต้น หรือแม้ได้กรรมสิทธิ์มาเป็นทรัพย์สินก็จะมีอายุการใช้งานไม่เกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (12 เดือน) เช่น ไม้กวาด กระดาษชำระ น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายจ่ายในการดำเนินกิจการทั่วไปอย่างไร วิสัชนา สำหรับรายจ่ายทั่วไปที่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้ 1.ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ (อนุโลมตามมาตรา 65 ทิว (13) แห่งประมวลรัษฎากร) เช่น ค่าใช้จ่ายในการนำพนักงานของบริษัท ไปทัศนาจรเป็นการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยจัดเป็นคณะมิใช่เจาะจงเป็นการเฉพาะราย เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัท โดยตรง ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร 2.ต้องเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และมีเหตุผลอันสมควรในอันที่จะจ่ายรายจ่ายนั้น (อนุโลมตามมาตรา 65 ตรี (13) (15) แห่งประมวลรัษฎากร) เช่น การนำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาใช้ในกิจการของบริษัท โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า แต่บริษัท ต้องออกค่าซ่อมแซม ออกอะไหล่และส่วนประกอบ หรือออกค่าน้ำมันเชื้อเพลิงหรืออื่นๆ โดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตี (13) แห่งประมวลรัษฎากร หรือกรณีบริษัทจ่ายเงินตอบแทนพิเศษแก่พนักงานในโอกาสครบ 20 ปีการก่อตั้งบริษัท ตามรายงานการประชุม ถือเป็นรายจ่ายได้ เพราะบริษัท มีระเบียบวางไว้แล้ว ตามรายงานการประชุมบริษัท และมิได้กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัท ตั้งตัวแทนย่อยเพื่อจำหน่ายสินค้าของตนในต่างจังหวัดและตั้งกฎเกณฑ์ว่า ตัวแทนรายใดจำหน่ายสินค้าได้ในปริมาณที่กำหนด บริษัท จะส่งไปดูงานการผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศ (1) บริษัท นำรายจ่ายค่าพาหนะเดินทางทั้งค่าที่พัก ค่าอาหารที่จ่ายไปให้แก่ตัวแทนดังกล่าว หากถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใด ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่กฎเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องแจ้งให้ตัวแทนทราบโดยทั่วกัน (2) เงินค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าอาหารดังกล่าว ตัวแทนจะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วย เพราะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร 3.ต้องเป็นรายจ่ายที่มีหลักฐานการจ่ายที่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้ ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ เป็นต้น สำหรับในบางกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงิน หรือค่าตอบแทนอย่างอื่น แต่เกิดค่าใช้จ่ายขึ้น เช่น กรณีภัยพิบัติต่างๆ อุบัติเหตุ การฉ้อโกง การลักขโมย ฯลฯ กิจการต้องแสวงหาหลักฐานที่จะสนับสนุนรายการรายจ่ายดังกล่าว เช่น หลักฐานการแจ้งความลงบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจภาพถ่าย ข่าวสารหนังสือพิมพ์ เป็นต้น (อนุโลมตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร) 4.ต้องเป็นรายจ่ายสิ้นเปลืองหมดไปที่ไม่ก่อให้เกิดเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิที่มีอายุการใช้งานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มิฉะนั้น อาจถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน (อนุโลมตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร) 5.รายจ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปีใด ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีนั้น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่รายจ่ายนั้นกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้ (อนุโลมตามมาตรา 65 และมาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากร) 6.ต้องไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ที่มา : http://www.nationejobs.com
|
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ การจ่ายเงินโบนัส กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557 อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!! ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง ปักธง ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่ ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล ภาษีรถยนต์นั่ง เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51 แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินปันผล เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เรื่องของภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1 คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้ การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54 มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10% หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่ รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง ภาษีเบี้ยประกันชีวิต ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน บริหารภาษีให้ถูกวิธี ปัญหาคณะบุคคล ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!! การออมเงินโดยการประหยัดภาษี ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง" การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า" จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน ภาษีเงินได้นิติบุคคล "ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่ สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM เตือนภัยหลอกเก็บภาษี ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม) สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้ ของขวัญกับการเสียภาษี ภาษีมรดก เช่าทรัพย์กับภาษีอากร สรรพากร Call Center การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ภาษีเบี้ยประกันชีวิต การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้ การเสียภาษีในนามคณะบุคคล สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา หัวหมอเลี่ยงภาษีเพียบ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า ภาษีอากรประเมิน ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี |