ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51)

                                                                              

                                                         ปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)  

      

                                  

ปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี  ตามแบบ ภ.ง.ด.51  ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

กรณียื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ล่าช้าจะมีผลอย่างไร


กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ล่าช้า มีผลกระทบดังนี้

1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับทางอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

(1) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ต้องระวางโทษปรับ 1,000 บาท (2) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายหลัง 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ต้องระวางโทษปรับ 2,000 บาท

2. กรณีที่มีจำนวนเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

(1) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

(2) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายหลัง 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

(3) กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายหลัง 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ จนกว่าเงินเพิ่มจะมีจำนวนครบ 20% ของเงินภาษี

3. การไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาอาจถือได้ว่าไม่ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการ ซึ่งอาจไม่ได้รับการพิจารณาลดหรืองดเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่มกรณีอื่น

                      

ปุจฉา กรณีประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่า 25% ของกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี มีผลอย่างไร

วิสัชนา ให้เปรียบเทียบจำนวนกำไรสุทธิจริงที่ได้จากการดำเนินกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 กับจำนวนประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51

1. ถ้าผลต่างของจำนวนกำไรสุทธิจริงที่ได้จากการดำเนินกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 มีจำนวนมากกว่าประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 แต่ไม่เกิน 25% ถือว่าเป็นอันจบกระบวนการพิจารณา เพราะไม่มีผลทางภาษีอากรแต่อย่างใด

2. แต่ถ้าจำนวนกำไรสุทธิจริงที่ได้จากการดำเนินกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 มีจำนวนมากกว่าประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 มีจำนวนเกินกว่า 25% ให้พิจารณาดังนี้

(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว กรมสรรพากรให้ถือว่า เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.50/2537 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นสวนนิติบุคคล ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 และปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มีการขายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชี ให้นำกำไรจากการขายทรัพย์สินดังกล่าว หักออกจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีของรอบระยะเวลาบัญชี หากปรากฏว่ากำไรสุทธิที่เหลือ เป็นผลให้ประมาณการกำไรสุทธิที่ยื่นเสียภาษีไว้ขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้จัดทำประมาณการไว้โดยมีเหตุอันสมควร

(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลา 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ (รายได้จากการประกอบกิจการไม่รวมถึงการนำเงินไปหาประโยชน์โดยฝากธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ที่ได้รับมาก่อนไม่ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีนี้หรือรอบระยะเวลาบัญชีก่อน) หรือมีเหตุอื่นทำให้ประมาณการกำไรสุทธิคลาดเคลื่อนไป อาทิเช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดต่ำลง ทำให้ค่าใช้จ่ายค่าดอกเบี้ยลดต่ำลงด้วย หรือการส่งสินค้าออกมีความไม่แน่นอน ทั้งปริมาณและราคาสินค้า หรือมีการยกเลิกการควบคุมราคาหรือปริมาณสินค้าส่งออก หรือการรับจ้างที่มีค่าจ้างไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างและความยากง่ายของงานที่ทำ หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ ก็ถือว่ามีเหตุอันสมควรเช่นเดียวกัน

หากผลการพิจารณาเป็นว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่า 25% โดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรในอัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่คลาดเคลื่อน แต่เงินเพิ่มทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 20% ของจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คลาดเคลื่อนไปนั้น

   ภ.ง.ด.51(ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี)

 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

 Download แบบ ภ.ง.ด.51 ปี 2551 (pdf)

 คำอธิบายการกรอกแบบ ภ.ง.ด.51 ปี 2551(pdf)  

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 1 สิงหาคม  2550




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี