ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



การวางแผนภาษี 5 วิธี

 

                                                                                   การวางแผนภาษี 5 วิธี

                                                 

เมื่อคณะรัฐบาลสมัย นายอานันท์ ปันยารชุน ประกาศลดอัตราขั้นสูง ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 50% เหลือ 37% ในปี 2535 คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าได้รับการลดหย่อนภาษี เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็มีส่วนถูก แต่อัตราเงินเฟ้อ ที่เพิ่มขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนทั่วไปมีกำลังซื้อลดลง ดังนั้นจำนวนเงินที่ต้องจ่าย เป็นภาษีจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณซื้อรถยนต์เบนซ์ อี 220 มาคันหนึ่ง ในราคาประมาณ 3.5 ล้านบาท ขณะที่ราคา CIF landed cost ที่ยังไม่รวมภาษีคือ หนึ่งล้านบาท หมายความว่า คุณต้องหาเงิน 5.5 ล้านบาท เสียภาษี 37% เหลือ 3.5 ล้านบาท เพื่อมาซื้อรถราคาหนึ่งล้านบาท ทางการเก็บภาษีคุณถึง 550% หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทุก 100 บาท ที่คุณหาได้ จะมีค่าที่แท้จริงเพียง 18.18 บาท เท่านั้น

                   

ดังนั้นผู้มีรายได้สูงทุกคน ควรพิจารณาภาระ ในการจ่ายภาษีเงินได้อย่างถี่ถ้วน นักบริหารหลายรายภูมิใจ เมื่อประหยัดภาษีนิติบุคคล ให้กับบริษัท แต่เขาจะมี ความสุขมากกว่า หากลดภาษีให้กับตัวเอง ต่อไปนี้เป็นการวางแผนภาษี ที่น่าพิจารณา

1.รายได้ที่ยกเว้นภาษี

มีรายได้บางประเภทที่ได้รับการ “ยกเว้นภาษีเงินได้” ซึ่งดูได้จาก ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 42 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ที่สำคัญ ได้แก่ กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมีโอกาสทำกำไร จากหุ้น พอๆ กับการขาดทุน ซึ่งถ้าเขาขาดทุน ก็ไม่สามารถ นำมาเป็นค่าใช้จ่าย ในทางภาษีเช่นกัน ในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน ก็เป็นเรื่องยาก ที่จะทำกำไร มีทางเลือกหนึ่ง คือ การลงทุนในกองทุน เพื่อรอรับผลได้ในรูป ของการเพิ่มราคา ของหน่วยลงทุน ซึ่งการขายหน่วยในตลาด โดยได้กำไร ก็ไม่ต้องเสียภาษี

ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ที่ออกก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 ก็ได้รับ การยกเว้นภาษี เช่นกัน แต่พันธบัตรเหล่านี้ ก็ครบอายุการไถ่ถอนไปหมดแล้ว ดังนั้น การหารายได้ ที่ยกเว้นภาษี จากพันธบัตรรัฐบาลจึงยาก

2.รายได้ที่ได้รับการลดอัตราภาษี

แม้ว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะเริ่มต้นที่ 5% เมื่อคุณมีรายได้เกิน 50,000 บาท และเพิ่มเป็น 37% เมื่อเกิน 4 ล้านบาท แต่ก็มีรายได้ 2 ประเภท ที่รัฐบาลลดหย่อนภาษีได้

(1) ปันผลเสียภาษีเพียง 10% นอกจากนี้ ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มที่เสียภาษีไม่ถึง 37% คุณก็ขอเครดิตภาษี 3/7 จากเงินปันผล และใช้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก 10% มาชดเชย การเสียภาษีเงินได้ของคุณได้อีก ในกรณีนี้ ถ้าคุณยื่นแบบขอคืนเงินภาษี ก็จะได้รับเงินคืน มากพอสมควร แต่วิธีขอเครดิต และขอคืนภาษีนี้ จะใช้ไม่ได้ผล เมื่อคุณเสียภาษีถึงอัตรา 37%


(2) ดอกเบี้ย ซึ่งได้เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% แล้วเงินส่วนที่เหลือ (balance) ก็เป็นรายได้ ที่ไม่ต้องเสียภาษี การขอคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อคุณ มีรายได้ไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี หากปราศ จากการลดหย่อนอัตราภาษีในกรณีเช่นนี้แล้ว ผู้มีฐานะมั่งคั่ง จะต้องจ่ายภาษี มากจากรายได้ดอกเบี้ย
ในสหรัฐ ดอกเบี้ยพันธบัตรเทศบาล (Municipal Bond) ก็ไม่ต้องเสียภาษี จึงได้รับความนิยมมาก เพราะชาวอเมริกัน ต้องจ่ายภาษี ตามอัตราปกติ จากรายได้ดอกเบี้ย ถ้าคุณต้องจ่ายภาษีที่ 37% และได้รับดอกเบี้ย ที่ยกเว้นภาษีรายได้ เช่นที่ 8% ก็หมายความว่า คุณมีผลตอบแทน ก่อนหักภาษีเท่ากับ ประมาณ 12.7% (โดยคำนวณจากเอา 8 ตั้งแล้วหารด้วย 63%)

3.รายได้ที่หักรายจ่ายได้สูง

ประมวลรัษฎากร จำแนกเงินได้บุคคลธรรมดา ออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งคุณสามารถ เลือกว่าจะทำรายได้ ประเภทไหน และหาเงินอย่างไร แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการมีรายได้ ประเภทเงินเดือน และค่าจ้างในฐานะ พนักงานลูกจ้าง เพราะมาตรการหักภาษีเหมา 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี เป็นผลเสีย ต่อตัวคุณเอง ถ้าคุณมีอาชีพให้บริการ ก็ลองผันแปรตัวเอง ไปอยู่ในกลุ่มผู้มีวิชาชีพอิสระ คือ แพทย์ วิศวกร นักบัญชี สถาปนิก ทนายความ และปราณีตศิลปกรรม ข้อสำคัญ “จงอยู่ให้ห่างจากกลุ่มพนักงานที่รับเงินเดือนประจำ”

ลองดูตัวอย่างของวิศวกร คนหนึ่ง ถ้าเขามีรายได้ 400,000 บาทต่อเดือน หรือ 4.8 ล้านบาทต่อปี หากรับเงินเดือน เป็นพนักงานประจำ เขาจะได้รับค่าลดหย่อนเพียง 60,000 บาทต่อปี ดังนั้น เขาจะเสียภาษีทั้งสิ้น 1.3 ล้านบาท หรือราว 110,000 บาทต่อเดือน ทำให้เขาเหลือเงินเดือน ที่แท้จริงเพียง 290,000 บาท
แต่ถ้าเขาเปลี่ยนสถานะตัวเอง ไปเป็นที่ปรึกษาวิศวกรรม เขาจะหักรายจ่ายเหมา 30%

โดยไม่จำกัดจำนวนขั้นสูง เท่ากับได้หักเพิ่มเป็น 1.44 ล้านบาท ทำให้เขาเสียภาษีเงินได้เพียง 841,500 บาท ซึ่งหมายความว่าลดภาษีไป 458,500 บาทต่อปี หรือเท่ากับ 38,200 บาทต่อเดือน ข้อได้เปรียบของวิธีนี้ก็คือ คุณจะประหยัดภาษีได้ทุกเดือน ตราบเท่าที่ยังทำงานอยู่ ไม่ใช่ประหยัดแค่เดือนเดียว

4.การหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงแทนการเหมา

ถ้าคุณเป็นวิศวกร และยังไม่พอใจ กับการลดหย่อนเหมา 30% คุณก็หักค่าใช้จ่าย ตามความเป็นจริง แทนการหักแบบเหมา กล่าวคือ เพิ่มรายจ่ายให้มากๆ แล้วคุณก็ จะได้รับการลดหย่อน มากขึ้น

เช่น คุณอาจลงทุนซื้อคอนโดมิเนียมสำนักงาน โดยตั้งบริษัท ซึ่งการจ่ายดอกเบี้ย ที่จ่ายให้ธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นเท่าใด ก็จะได้รับการลดหย่อนภาษี ซึ่งเมื่อเทียบกับ การซื้อบ้านซึ่ง ทางการอนุญาต ให้คุณหักได้ปีละ 50,000 บาท

นอกจากนี้ คุณยังสามารถ หักค่าเสื่อมราคาคอนโดมิเนียม อุปกรณ์สำนักงาน และเฟอร์นิเจอร์ พร้อมกับ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งค่าบำรุงรักษา เพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ แล้วคุณยังมีความสุข กับคอนโด ที่อาจมีราคาเพิ่มขึ้น หากตั้งอยู่ในทำเลที่ดี

ยิ่งไปกว่านั้น คุณสามารถเช่า หรือซื้อรถยนต์สวยๆ สักคัน และหักค่าใช้จ่าย ภาระดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา ไม่เกินคันละ 1 ล้านบาท ค่าประกันภัย และค่าน้ำมัน เป็นค่าใช้จ่าย ของบริษัท ซึ่งรายการเช่นนี้ ช่วยให้คุณจ่ายภาษีลดลงอีก แต่คุณต้องขยัน เก็บใบเสร็จรับเงิน ทำบัญชี และเก็บตัวเลขต่างๆ เอาไว้ให้ดี เพื่อใช้เป็นหลักฐาน ในการหัก ค่าใช้จ่าย ดังนั้น คุณต้องเรียนรู้ศิลปะ การจัดเก็บเอกสาร และบัญชี แต่ถ้าคุณ ทำไม่ได้ ก็จ้างคนอื่น มาทำให้จะปลอดภัยกว่า

5.กระจายรายได้

กฎหมายไทย จำแนกรายได้ส่วนบุคคลเป็น 8 ประเภท ดังนั้นคุณสามารถหารายได้ ได้มากกว่า 1 ประเภท ในแต่ละปี ลองดูตัวอย่าง ของกุมารแพทย์รายหนึ่ง ซึ่งปกติทำงาน อยู่ในโรงพยาบาลตอนกลางวัน โดยรับเงินเดือนประจำ ในช่วงเวลาเย็น เขาไปเปิดคลินิกส่วนตัว และมีรายได้เพิ่มอีกในฐานะเป็นแพทย์ ที่มีวิชาชีพอิสระ ถ้าเขาเปิดร้านขาย ของชำเพื่อขายขนมและ ของเล่นให้ลูกค้า และคนไข้ เขาก็จะมีรายได้ จากการค้าเข้ามาอีกด้วย กุมารแพทย์บางราย ทำงานหนัก และมีรายได้มาก แต่ไม่ค่อยมีเวลาใช้จ่ายเงิน ดังนั้น เงินออม ของพวกเขา จึงเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งถึงจุด ที่สามารถซื้อบ้าน และให้เช่าเพื่อรับเงิน ค่าเช่า

รวมทั้งยังสามารถ ลงทุนหากำไร ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ ผลคือ กุมารแพทย์รายนี้ มีรายได้ถึง 4-5 ประเภท เขาอาจจ่ายภาษีที่ 5% สำหรับเงินเดือน ที่รับจากโรงพยาบาลเสียภาษีที่ 20% สำหรับรายได้จากคลินิก 30% สำหรับรายได้ จากการค้า และ 37% สำหรับรายได้จากค่าเช่าบ้าน ถ้าเขามีการวางแผนลดภาษี ก็อาจจะทำได้ดังนี้

(1) หาเพื่อนมาคนหนึ่งแล้วจัดตั้งคณะบุคคล โดยให้เพื่อนถือหุ้นเล็กน้อย ในร้านขายของชำ ซึ่งภาษีเงินได้จากการค้าขายจะจ่ายโดยคณะบุคคลนี้ ซึ่งเริ่มเสียภาษีในอัตราต่ำที่ 5% ตามอัตราภาษีบุคคลธรรมดา และส่วนแบ่งกำไร ที่แพทย์ได้รับ จากคณะบุคคลยังได้สิทธิ ยกเว้นภาษีอีกด้วย

(2) ใส่ชื่อของลูกในโฉนดที่ดิน ของบ้าน เพื่อให้ค่าเช่า ตกเป็นรายได้ ของเด็ก เพราะเขาไม่มีรายได้อื่น จึงอยู่ในกลุ่มที่เสียภาษีต่ำสุด และเด็กยังสามารถ หักลดหย่อนภาษีได้อีก 30,000 บาท แทนที่จะจดทะเบียนบ้านในชื่อตัวเอง และขอลดหย่อนภาษีผู้มีบุตร ซึ่งจะได้เพียงปีละ 15,000 บาท

หากเขาอยากมีชื่อเป็น เจ้าของบ้านต่อไปโดยไม่ใส่ชื่อลูกในโฉนด กุมารแพทย์ผู้นี้ สามารถจดทะเบียนสิทธิเก็บกิน ของบ้านให้แก่ลูกของเขา ดังนั้น ค่าเช่าบ้านจะเป็นรายได้ ของเด็ก ขณะที่เขายัง เป็นเจ้าของบ้าน สิทธิเก็บกินในทรัพย์สิน สามารถจดทะเบียน ได้ตั้งแต่ 1-30 ปี หรือตลอดอายุของเด็กผู้ทรงสิทธิประโยชน์ของวิธีการนี้คือ กุมารแพทย์ผู้นี้ ยังคงเป็นเจ้าของบ้าน ซึ่งจะขายบ้านเมื่อใดก็ได้ เพราะถ้าเขาให้ลูกผู้เยาว์ เป็นเจ้าของในโฉนด การซื้อขาย ต้องได้รับอนุมัติ จากศาลครอบครัวก่อน ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก

ยังมีวิธีการอีกมาก ที่จะประหยัดเงินภาษี ซึ่งหมายความว่า ถ้าคุณปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญภาษี เขาสามารถแนะนำ เกี่ยวกับวิธีประหยัดภาษี อย่างถูกกฎหมาย คล้ายกับการซื้อซอฟต์แวร์ ทุกคนจ่ายเงิน 200 บาท ซื้อกฎหมายได้ 1 เล่ม แต่หัวใจสำคัญ อยู่ที่วิธีการนำกฎหมาย มาปรับใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

นี่คือสิ่งที่บิล เกตส์ แห่ง Microsoft สร้างความร่ำรวย หลายพันล้านดอลลาร์ ให้กับตนเอง

โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร  23-9-2545 ที่มา : http://www.nationejobs.com   

 




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี