ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



สรรพากร Call Center

 

สรรพากร  Call Center

 

   แม้ว่าประชาชนทั่วไปจะรู้จักกรมสรรพากรในฐานะเป็นหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากประชาชนที่มีรายได้ กอปรกับการเป็นหน่วยงานเก่าแก่ที่ก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 90 ปีแล้วก็ตาม แต่เราก็ยังมักจะได้ยินอยู่เสมอว่า ผู้เสียภาษีนั้นอยากเสียภาษีให้ถูกต้อง แต่ข้อกฎหมายและแนวปฏิบัติต่างๆ ของกรมสรรพากรนั้นเข้าใจยากเหลือเกิน และดูเหมือนว่าข้อสงสัยต่างๆ เหล่านั้นก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับเนื่องจากธุรกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นในยุคปัจจุบัน ทำให้ไม่อาจตอบสนองความต้องการของผู้เสียภาษีได้อย่างทั่วถึงแม้กรมสรรพากรจะได้มุ่งเน้นให้บริการด้านความรู้เกี่ยวกับภาษีอากรแก่ผู้เสียภาษีในทุกรูปแบบมาโดยตลอดก็ตาม

   ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารระดับสูงของกรมสรรพากรจึงได้มีการทบทวนบทบาทในการเข้าถึงประชาชนเพื่อทำความเข้าใจรวมถึงการตอบปัญหาในเชิงให้ความรู้เพื่อขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติให้แก่ประชาชนและผู้เสียภาษีมากขึ้นนอกเหนือจากการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างเช่นที่มีอยู่ในขณะนี้ระบบ Call Center จึงได้รับการตอบรับและตัดสินใจนำมาใช้กับกรมสรรพากรซึ่งถือได้ว่าเป็นแห่งแรกของภาคราชการที่ใช้ระบบ Call Center สมบูรณ์แบบ ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกรมสรรพากรที่มองเห็นว่าบทบาทของ Call Center จะทำให้กรมสรรพากรสามารถเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาในเชิงรูปธรรมรวมทั้งให้บริการข้อมูลทั่วไปที่ผู้เสียภาษีหรือประชาชนไม่เข้าใจได้อย่างทั่วถึงรวดเร็ว รวมทั้งให้รายละเอียดข้อมูลเชิงลึกแก่ผู้เสียภาษีและประชาชนทั่วไปได้มากกว่า โดยเฉพาะความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของกฎหมายหรือมาตรการภาษีที่ออกใหม่ซึ่งอาจต้องการผู้ให้ข้อมูลเฉพาะเจาะจง โดยระบบ สรรพากร Call Center ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2548 และได้ปรับปรุงพัฒนาระบบเพื่อให้มีความคล่องตัวและให้บริการได้อย่างครอบคลุมสมบูรณ์แบบมากขึ้นตามลำดับ

     บทบาทของสรรพากร Call Center

   ประชาชนหรือผู้เสียภาษีอาจสงสัยว่า  Call Center ของกรมสรรพากรมีความเหมือนหรือแตกต่างกับ Call Center ของภาคเอกชนอย่างไร โดยข้อเท็จจริงมีทั้งเหมือนและแตกต่างกล่าวคือ ในความเหมือน สรรพากร Call Center มีหน้าที่ในการให้บริการข้อมูลและตอบปัญหา เพียงแต่สินค้าและบริการของกรมสรรพากรเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายและมาตรการภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทุกคนที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ที่สำคัญผู้ให้บริการหรือ เจ้าหน้าที่บริการข้อมูล (Agent) จะเป็นบุคลากรของกรมสรรพากรทั้งหมด  มิได้ Outsource  ให้หน่วยงานภายนอกดำเนินการ  เนื่องจากคำถามส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายสรรพากรซึ่งต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรโดยตรง ที่มีพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ด้านภาษีอากร รวมทั้งต้องเข้าใจกระบวนการทำงาน การเชื่อมโยงและการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ตามโครงสร้างองค์กรด้วย และถึงแม้ว่าจะมีฐานข้อมูล (Knowledge Base) เป็นเครื่องมือในการตอบคำถามแล้วก็ตาม แต่ปัญหากฎหมายภาษีอากรเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนสลับซับซ้อน “ข้อเท็จจริงเปลี่ยน คำตอบก็เปลี่ยน” จะไม่สามารถยึดคำตอบจากข้อเท็จจริงหนึ่งไปใช้กับอีกข้อเท็จจริงหนึ่งได้ ซึ่งจะแตกต่างกับ Call Center ภาคเอกชน ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารหรือเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีฐานข้อมูล (Knowledge Base) เป็นเครื่องมือในการตอบคำถามเช่นเดียวกัน แต่คำถามจะไม่มีข้อเท็จจริงออกนอกกรอบจากคำตอบในฐานข้อมูล (Knowledge Base )

     ภารกิจของเจ้าหน้าที่ สรรพากร Call Center

   โครงสร้างองค์กรของ สรรพากร Call Center จะคล้ายกับโครงสร้างองค์กรทั่วๆ ไป แต่จะมีภารกิจหลักที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จคือ การให้บริการข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่บริการข้อมูลหรือที่เรียกว่า Agent จะต้องเป็นบุคลากรที่มีความสามารถในการฟังและจับประเด็นคำถามได้อย่างแม่นยำเพื่อตอบคำถามที่ผ่านมาทางโทรศัพท์ ซึ่งจะแตกต่างจากการตอบข้อหารือที่พิจารณาตามลายลักษณ์อักษรและเอกสารประกอบที่มีความชัดเจนมากกว่า และสามารถใช้เวลาในการทำความเข้าใจได้มากกว่า เจ้าหน้าที่บริการข้อมูล หรือ Agent ของ สรรพากร Call Center จึงต้องมีความสามารถและทักษะต่างๆ ดังนี้

     1. การสื่อความ

เจ้าหน้าที่จะต้องมีปฏิภาณไหวพริบในการสรุปและจับประเด็นคำถาม จะต้องชี้สถานะของผู้ถามได้ว่าอยู่ในบทบาทใด เป็นผู้ขาย/ผู้ให้บริการ หรือ ผู้ซื้อ/ ผู้รับบริการ หรือ ผู้จ่าย (ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่ง) หรือ ผู้รับ (ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย)

     2. ค้นหาคำตอบจากฐานข้อมูล

Knowledge Base ใช้ตอบคำถามเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร
Internet ใช้ตอบคำถามเกี่ยวกับการยื่นแบบฯ ผ่าน Internet
Intranet ใช้ตอบคำถามเกี่ยวกับการขอคืนภาษีและเรื่องอื่น ๆ

     3. มีจิตบริการ (Service Mind) และ ความเต็มใจ (Willingness) ที่จะให้ “บริการด้วยใจ ใส่ใจทุกคำถาม” ซึ่งจะต้องรู้จักควบคุมอารมณ์และมีความอดทนสูง เนื่องจากการพูดคุยทางโทรศัพท์ ไม่เห็นหน้าตากัน บางครั้งอาจเป็นเรื่องของอารมณ์มากกว่าการรับฟังเหตุผลหรือหลักเกณฑ์ข้อกฎหมายที่ไม่สามารถปรับใช้ให้ตรงกับความประสงค์ของผู้ถามได้

     ระบบ Call Center:การกล่าวตอบรับและแนะนำ
     ระบบ Call Center ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานหลายระบบ เช่น ระบบตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติ (Private Automatic Branch Exchange : PABX) ระบบกระจายสายเรียกเข้า (Automatic Call Distribution : ACD) ระบบ Computer Telephony Integration : CTI และระบบตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ (Interactive Voice Response : IVR) เป็นต้น 

     ระบบตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติหรือที่เรียกว่า IVR (Interactive Voice Response) เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีระบบหนึ่งในระบบ Call Center ที่นำมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่โทรเข้ามาโดยมีเสียงกล่าวตอบรับและแนะนำ Menu ต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการได้ตามวัตถุประสงค์ หรือความต้องการ ซึ่งในส่วนของ สรรพากร Call Center เมื่อผู้ใช้บริการโทรเข้าหมายเลข 0-2272-8000 และ 0-2272-9000 ท่านจะได้ยินเสียงใสๆ กล่าวตอบรับ เพื่อให้ผู้ใช้บริการเลือกกด Menu ต่างๆ ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ สรรพากร Call Center จึงจัดทีมเจ้าหน้าที่บริการข้อมูล (Agent) ให้รับผิดชอบแต่ละประเภทภาษีและประเภทธุรกรรม ที่ผู้ใช้บริการติดต่อกับกรมสรรพากรอยู่เป็นประจำ เช่น การยื่นแบบ การขอคืนภาษี เป็นต้น

     การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ

     การปฏิบัติงานของ สรรพากร Call Center เปรียบเสมือนหน้าร้านของกรมสรรพากร ดังนั้นเมื่อผู้ใช้บริการโทรเข้ามา ณ นาทีแรก จะได้ยินเสียงกล่าวต้อนรับพร้อมกับแนะนำตัว เจ้าหน้าที่บริการข้อมูล (Agent) ผู้รับสาย ว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ สรรพากร Call Center ดิฉัน/ ผม ชื่อ..... รับสายค่ะ/ครับ” เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบว่าเจ้าหน้าที่ชื่ออะไรที่เป็นผู้ให้บริการ

     ในขณะเดียวกันระหว่างการสนทนาเจ้าหน้าที่จะสอบถามชื่อของผู้ใช้บริการ หมายเลขโทรศัพท์ (กรณีเป็นผู้ใช้บริการครั้งแรก) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการ (CRM: Customer Relationship Management) และบันทึกเป็นประวัติฐานข้อมูลรายบุคคลซึ่งผู้ใช้บริการจะได้รับประโยชน์

กรณีเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลหรือคำตอบที่ยังไม่สมบูรณ์จะสามารถโทรกลับแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทันที
กรณีเข้าหลักเกณฑ์และมีประวัติการเป็นผู้ใช้บริการที่ดีตามที่กำหนดไว้ จะได้รับการจัดอันดับให้เป็นลูกค้า VIP

     การประเมินผลการให้บริการ : สำรวจความพึงพอใจ

ก่อนที่จะจบการสนทนากับผู้ใช้บริการ  เจ้าหน้าที่บริการข้อมูล (Agent) จะขอเวลาไม่เกินครึ่งนาทีเพื่อประเมินผลการให้บริการของเจ้าหน้าที่ที่ตอบคำถามนั้นๆ  โดยให้กดหมายเลขด้วยระบบอัตโนมัติ  (กรณีพอใจ กด 1 หากไม่พอใจ กด 2)  ซึ่งเป็นการประเมินผล ณ ทันทีทันใดเมื่อจบการสนทนาและทำให้กรมสรรพากรนำข้อมูลการประเมินผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสรรพากร Call Center เพื่อให้เกิดความประทับใจต่อผู้ใช้บริการและก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพที่ได้มาตรฐานต่อไป
 
     บทสรุป

     จะเห็นได้ว่า กรมสรรพากรมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะทำให้ผู้ใช้บริการทุกระดับได้รับประโยชน์สูงสุดจาก สรรพากร Call Center จากการที่ผู้บริหารของกรมสรรพากรได้สนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ Call Center ให้สมบูรณ์แบบ รวมทั้งสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะการให้บริการเข้ามาปฏิบัติงานเพื่อมุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการ ด้วยมีความคาดหมายว่า สรรพากร Call Center จะเป็นแนวหน้าขององค์กรที่จะสานความสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน ผู้เสียภาษี พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือและความสมัครใจในการเสียภาษี ด้วยเราต่างมีเป้าหมายร่วมกันคือการพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้า มีความมั่นคง และสร้างประโยชน์สุขสำหรับประชาชนอย่างทั่วถึงแท้จริง

ที่มา : สรรพกรสาส์น




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT