บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติ เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการเป็นตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.124/2546 ลงวันที่ 28 มกราคม 2546 ซึ่งออกมาเพิ่มเติมคำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้ ปุจฉา การประกอบกิจการเป็นตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) โดยเป็นตัวแทนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า โดยจัดทำใบขนส่งสินค้า ยื่นใบขนส่งต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร เพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้า และส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร เพื่อส่งไปต่างประเทศ ให้แก่ผู้ส่งออกเงินได้ที่ได้จากการประกอบกิจการดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด และอยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ วิสัชนา การประกอบกิจการดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการทั้งหมด ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 77/2 และมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยคำนวณภาษีตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร ปุจฉา กรณีตัวการหรือผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออก ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า และเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร วิสัชนา โดยที่ค่าบริการที่ผู้นำเข้า และส่งออก จ่ายให้แก่ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ตามกรณีดังกล่าว ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราดังต่อไปนี้ 1.กรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 3.0% ของค่าบริการ 2.กรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) เป็นมูลนิธิ หรือสมาคมที่ประกอบกิจการ ซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 10.0% ของค่าบริการ ทั้งนี้ ตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2544 ปุจฉา กรณีผู้นำเข้า และผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า ได้จ่ายเงินจ่ายล่วงหน้า (Advance Payment) ให้แก่ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) เพื่อดำเนินพิธีการศุลกากร แทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในขณะที่จ่ายเงินจ่ายล่วงหน้าหรือไม่ วิสัชนา กรณีดังกล่าวผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด เพราะเงินที่จ่ายล่วงหน้าไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ปุจฉา กรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากร ในนามของผู้นำเข้า และส่งออก ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าให้แก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น กรมศุลกากร การท่าเรือ องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ วิสัชนา กรณีดังกล่าว ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากร ให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจ่ายในนามของผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า และเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นอย่างไร วิสัชนา กรณีตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า และเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในนามของผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า โดยเจ้าของสินค้ามีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ประกอบการ และยื่นรายการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าและเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น มีความประสงค์จะให้ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 แทนเจ้าของสินค้าอย่างไร วิสัชนา กรณีผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้ามีความประสงค์จะให้ตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 แทนเจ้าของสินค้าก็สามารถกระทำได้ โดยตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ของตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) และระบุชื่อ ที่อยู่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีมีอากรของเจ้าของสินค้าด้วย และตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 เป็นรายฉบับแต่ละรายของเจ้าของสินค้า โดยต้องระบุชื่อ ที่อยู่ เลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้าในช่อง "ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย" และระบุชื่อตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ในช่อง "ผู้จ่ายเงิน" ซึ่งกรมสรรพากรจะออกใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า และตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) มีหน้าที่ต้องส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ใบเสร็จรับเงินจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 และสำเนาแบบ ภ.ง.ด.53 ให้แก่เจ้าของสินค้าด้วย บทความ : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 1 ตุลาคม 2546 |
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ การจ่ายเงินโบนัส กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557 อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!! ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง ปักธง ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่ ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล ภาษีรถยนต์นั่ง เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51 แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินปันผล เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เรื่องของภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1 คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้ การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54 มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10% หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่ รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง ภาษีเบี้ยประกันชีวิต ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน บริหารภาษีให้ถูกวิธี ปัญหาคณะบุคคล ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!! การออมเงินโดยการประหยัดภาษี ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง" การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า" จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน ภาษีเงินได้นิติบุคคล "ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่ สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM เตือนภัยหลอกเก็บภาษี ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม) สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้ ของขวัญกับการเสียภาษี ภาษีมรดก เช่าทรัพย์กับภาษีอากร สรรพากร Call Center การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ภาษีเบี้ยประกันชีวิต การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้ การเสียภาษีในนามคณะบุคคล สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา หัวหมอเลี่ยงภาษีเพียบ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า ภาษีอากรประเมิน ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT |