บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
เราได้เคยพูดกันมาแล้วว่า “หุ้น” นั้นเป็นลักษณะเฉพาะของบริษัทจำกัด เมื่อบริษัทจดทะเบียนก็จะต้องมีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น ผู้ถือหุ้นก็จะอาศัยใบหุ้นเป็นตราสารสิทธิในการแสดงความเป็นเจ้าของในกิจการของบริษัท เมื่อแรกเริ่มตั้งบริษัทก็ต้องมีการแบ่งทุนจดทะเบียนของบริษัทออกเป็นหน่วยๆ เรียกว่า “หุ้น” เช่น บริษัทมีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท แบ่งออกเป็น 10,000 หุ้น มีมูลค่าหุ้นละ 100 บาท เป็นต้น
การแบ่งทุนของบริษัทออกเป็นหุ้นนี้ให้ประโยชน์แก่ตัวบริษัทในการระดมทุนมาก เพราะเมื่อแบ่งย่อยออกเป็นหุ้นแล้วก็ทำให้เกิดความสะดวกในการซื้อขาย ผู้สนใจจะลงทุนในกิจการของบริษัทก็สามารถซื้อได้ตามอัตภาพ เมื่อซื้อแล้วต่อมาภายหลังไม่ประสงค์ที่จะถือหุ้นต่อไปก็สามารถโอนขายให้แก่ผู้อื่นได้ แต่หุ้นที่ซื้อแล้วยังชำระราคาไม่เต็มนั้น คณะกรรมการของบริษัทจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเมื่อไร จำนวนเท่าใดก็ได้ เช่น เรียกให้ชำระ 100 บาท หรือ 200 บาทก็ได้ ผู้ถือหุ้นมีหน้าที่ต้องชำระค่าหุ้นที่ขาดให้แก่บริษัทเสมอ เมื่อซื้อหุ้นแล้วจะอ้างว่าเปลี่ยนใจไม่อยากซื้อไม่อยากเป็นผู้ถือหุ้นอีกต่อไปแล้ว เช่นนี้ไม่ได้ การเรียกให้ส่งเงินค่าหุ้นนั้นกฎหมายบังคับว่า คณะกรรมการต้องแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบโดยทางจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นเวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 21 วัน แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบว่าจะต้องชำระเงินค่าหุ้นที่ไหน เท่าไร ถ้าหากส่งจดหมายไปแล้ว เมื่อครบกำหนดเวลาผู้ถือหุ้นมิได้มาชำระค่าหุ้นทางบริษัทก็มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยสำหรับการชำระค่าหุ้นช้าของผู้ถือหุ้นได้ ถ้าผู้ถือหุ้นยังไม่สนใจที่จะจ่ายค่าหุ้น คณะกรรมการก็มีสิทธิริบหุ้นนั้นมาได้ แต่จะต้องทำตามวิธีการ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ส่งจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้ถือหุ้นให้นำเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยมาชำระ 2. ต้องกำหนดระยะเวลาให้ผู้ถือหุ้นด้วยตามสมควรว่าจะต้องนำเงินค่าหุ้นมาชำระภายในระยะเวลาเท่าใด 3. ที่สำคัญในจดหมายนั้นต้องระบุด้วยว่า หากยังไม่นำเงินค่าหุ้นมาชำระภายในกำหนดเวลาตามข้อ (2) บริษัทจะทำการริบหุ้นของผู้ถือหุ้นนั้นเสีย เมื่อได้กระทำตาม (1) (2) (3) ดังกล่าวมานี้แล้ว ถ้าครบกำหนดเวลาแล้ว ผู้ถือหุ้นยังไม่นำเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยมาชำระอยู่ดี คณะกรรมการบริษัทก็สามารถทำการริบหุ้นได้ ซึ่งหุ้นที่ริบมานี้ไม่ใช่ว่าจะเอามาเป็นของบริษัทเอง กฎหมายห้ามเด็ดขาดไม่ให้บริษัทถือหุ้นของตนเอง เพราะฉนั้น บริษัทจะซื้อหุ้นตัวเองไม่ได้ หรือมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่ได้ แต่ถ้าเป็นการถือหุ้นของบริษัทอื่นก็ไม่มีข้อจำกัดห้ามแต่ประการใด อนึ่งหุ้นที่ริบมาแล้วบริษัทก็ต้องนำออกขายทอดตลาดหาผู้ถือหุ้นคนใหม่ ได้เงินมาเท่าใดก็ต้องหักใช้ค่าหุ้นกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระเสียก่อน ถ้ามีเงินเหลืออยู่อีกก็ยังต้องส่งคืนให้กับผู้ถือหุ้นคนเดิมไม่ใช่บริษัทเก็บไว้เองหมด แต่ถ้าขายทอดตลาดแล้วได้ราคาน้อยกว่าเงินที่ค้างชำระ บริษัทก็ยังมีสิทธิไปเรียกส่วนที่ขาดจากผู้ถือหุ้นคนเดิมได้อีก โดยถือว่าผู้ถือหุ้นคนเดิมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าหุ้นกับบริษัทให้ครบตามที่ได้จองชื่อไว้เสมอ
รวมบทความและคำแนะนำจดทะเบียนธุรกิจ
บทความโดย : ภัทรานิษฐ์ อุดมพรสุขสันต์ อ้างอิงจาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) |
ก้าวแรกของการขายของออนไลน์ เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่ กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ กรรมการกับความผิดทางอาญา ความรับผิดของกรรมการบริษัท คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่ คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท 6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่ "อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่" ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ การโอนหุ้น เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย แผนธุรกิจ ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า! "อยากจะค้าขาย" 10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ" การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด 5 สาย อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร คุณก็เป็นเศรษฐีได้ หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ เริ่มต้นจากเล็ก คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ 10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้ คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ 7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550 อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ข้อควรทราบในการจดทะเบียน วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2 จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3) จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4) |