บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ปุจฉา เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดไว้อย่างไร วิสัชนา เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ประกอบด้วย วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร 1.เป็นที่น่าสังเกตว่า เงินได้พึงประเมินประเภทนี้ ถูกแยกออกจากเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งที่พื้นฐานของการมีเงินได้มีลักษณะใกล้เคียงกัน กล่าวคือ (1) เป็นการประกอบอาชีพที่ใช้ความสามารถของบุคคลธรรมดาคนเดียวตามลำพัง (2) เงินได้เป็นไปตามสัญญารับทำงานให้หรือสัญญาจ้างทำของ ซึ่งมุ่งผลสำเร็จของงาน (3) ผู้รับทำงานให้มีอิสระในการปฏิบัติงานไม่ต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ข้อบังคับของผู้ว่าจ้าง 2.สำหรับเงินได้จากวิชาชีพอิสระนั้น มีข้อแตกต่างจากเงินได้ประเภทที่ 2 ในส่วนของเงินได้จากการรับทำงานให้ ในประเด็นที่สำคัญ คือ (1) การใช้วิชาชีพอิสระดังกล่าว (2) วิชาชีพอิสระดังกล่าวถูกกำหนดให้เป็นวิชาชีพ (Professional) โดยมีการบัญญัติกฎหมายรองรับการเป็นวิชาชีพ ซึ่งมีองค์กรแห่งวิชาชีพนั้นๆ เช่น แพทยสภา สภาทนายความ สภาวิชาชีพบัญชี วิศวกรรมสถาน เป็นต้น วางข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติในวิชาชีพขึ้นเป็นพิเศษ (3) ผู้ประกอบวิชาชีพนี้ ต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนในสาขาวิชาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องมีใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินได้ของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ว่าเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทใด หรือไม่ อย่างไร วิสัชนา กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินได้จากการประกอบโรคศิลปะของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ กค 0811/03786 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 ดังนี้ 1.กรณีผู้มีเงินได้ทำงานในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง หรือมีรายได้พิเศษจากสถานพยาบาลที่ตนทำงานอยู่ เช่น เงินค่าล่วงเวลาจากการเข้าเวร หรือค่าตอบแทนพิเศษในการรักษาผู้ป่วย เป็นต้น ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร 2.กรณีผู้มีเงินได้ตาม 1 ไปทำงานเป็นครั้งคราวในสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง โดยได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้างจากการทำงานเป็นจำนวนแน่นอนในแต่ละเดือน ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นงานประจำหรืองานชั่วคราว ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร 3.กรณีผู้มีเงินได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงพิเศษกับสถานพยาบาลที่ตนทำงานอยู่เพื่อประกอบโรคศิลปะเป็นการส่วนตัวนอกเวลาทำการปกติ โดยการรับตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินที่ตนได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร 4.กรณีผู้มีเงินได้ทั้งที่ทำงานประจำและมิได้ทำงานประจำในสถานพยาบาลของรัฐหรือของเอกชน แต่ได้ประกอบโรคศิลปะ โดยการรับตรวจและรักษาผู้ป่วยที่ตนนำเข้ามารักษาที่สถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งเป็นครั้งคราว ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร 6.กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะมีเงินได้จากการเปิดสถานพยาบาลเป็นของตนเอง เฉพาะที่ไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร อนึ่ง สำหรับการประกอบโรคศิลปะ หมายถึง การประกอบอาชีพของแพทย์ผู้บำบัดรักษาเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์หรือคนไข้เท่านั้น ไม่รวมถึง สัตวแพทย์ หรือเภสัชกร ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 12 สิงหาคม 2552 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |