บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
ในชีวิตจริงนั้น การทำธุรกิจแบบห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้อย่างดีนั้น มักจะจบหรือพังในไม่ช้า แต่หากวางแผนและไตร่ตรองอย่างดีแล้ว หุ้นส่วนจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ต้องสงสัย จากผลการสำรวจในต่างประเทศพบว่าการบริหารธุรกิจแบบหุ้นส่วนจะอยู่รอดนานกว่าธุรกิจที่บริหารคนเดียว การบริหารทั้งสองแบบมีทั้ง ข้อดี และ ข้อเสีย แต่แบบไหนจะเหมาะกับคุณ หากคุณเป็นคนชอบทำงานคนเดียว ระวังนะ เพราะยิ่งคุณทำงานคนเดียว คิดคนเดียว ตัดสินใจคนเดียวมานานแค่ไหน คุณก็ยิ่งจะรับสภาพที่ต้องรับฟังความคิดคนอื่นได้ยาก นอกจากนี้แล้วหุ้นส่วนบางคนอาจไม่ได้ทำงานหนักเท่าคนอื่น แต่ต้องการจะได้ผลตอบแทนเท่ากัน หากระดับความอดทนของคุณไม่มากพอที่จะรับความไม่เท่าเทียมกันแบบนี้ล่ะก็ คุณก็ไม่ควรมีหุ้นส่วน การเป็นหุ้นส่วนบริษัทก็เหมือนการแต่งงาน คุณควรจะใช้เวลาและพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนจะตัดสินใจเลือก คำถามต่อไปนี้จะช่วยคุณตัดสินใจดีขึ้น หากคุณคิดจะทำธุรกิจกับเพื่อนหรือญาติ พึงระวังไว้ว่าการเข้ากันได้ดีกับคนๆ หนึ่งในสังคมกับการเข้ากันได้เมื่อต้องเจอความเครียดและเหนื่อยล้าจากการทำธุรกิจนั้นมันคนละเรื่องกัน มีเพื่อนที่เสียเพื่อนเพราะธุรกิจมานักต่อนักแล้ว การเป็นหุ้นส่วนนั้นเข้าง่ายกว่าออก หากคุณต้องการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ขอแนะนำให้คุณเขียนหน้าที่และความรับผิดชอบของหุ้นส่วนแต่ละคนให้ชัดเจนในสัญญา เช่น ใครจะรับผิดชอบเรื่องการตัดสินใจ เรื่องเงิน จะลงทุนเท่าไหร่ ใครได้ประโยชน์ แบ่งผลประโยชน์อย่างไร และใครจะตัดสินใจหากการบริหารธุรกิจแบบ หุ้นส่วน มันไปไม่รอด คุณควรปรึกษานักบัญชีและนักกฎหมายตั้งแต่เริ่มร่างสัญญา ที่สำคัญคือไม่ต้องเร่งรีบ ให้ใช้เวลาตึกตรองให้ดี อย่างที่บอกไว้ข้างต้น หุ้นส่วนเหมือนการแต่งงาน จะแต่งกับใครสักคนคุณก็ควรจะอยู่กับเขาให้ได้นานตลอดไป บทความโดย : คัมภีร์ทอง ที่มา : www.smethailandclub.com |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |