ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ

 

การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ

 

   แม้ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการตีราคาเงินตรา ทรัพย์สินและหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศไว้เป็นพิเศษแต่การใช้อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อการปฏิบัติการทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีอยู่ในทุกประเภทภาษี ฉะนั้น เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นภาพรวม จึงขอนำหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อการปฏิบัติการทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรทุกประเภทภาษีมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้

  ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้อัตราแลกเปลี่ยนทางภาษีอากรอย่างไร 

  วิสัชนา การกระทำธุรกรรมทางการเงินทั้งในภาครัฐ และเอกชนในประเทศไทย มีเงินสกุลบาทไว้ใช้แลกเปลี่ยน และบันทึกรายการทางบัญชีโดยกำหนดไว้เป็นมาตรฐานตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 และสำหรับในทางภาษีอากรโดยเฉพาะภาษีอากรตามประมวลมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนไว้หลายบทบัญญัติ ดังนี้

   1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล แบ่งเป็น

     1.1 หลักเกณฑ์การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี หรือคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลา เพื่อการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี การคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร

     1.2 การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 65 ทวิ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้

   การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นติดต่ออยู่โดยไม่ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ โดยให้ใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ เพราะในขณะเดียวกันก็ต้องรับรู้เจ้าหนี้ต่างประเทศด้วย

อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ดังกล่าว ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ได้รับสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการซื้อสินค้าดังนี้

(1) กรณีซื้อสินค้าด้วยราคา FOB หรือราคา C&F ซึ่งผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าหรือครอบครองสินค้า ณ ท่าเรือหรือท่าอากาศยาน หรือจุดที่ส่งมอบสินค้าในต่างประเทศ

(2)กรณีซื้อสินค้าด้วยราคา CIF ซึ่งผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าหรือครอบครองสินค้า ณ ท่าเรือหรือท่าอากาศยานหรือจุดที่ส่งมอบสินค้าในประเทศไทย

      1.3 การคำนวณมูลค่าขายสินค้าหรือให้บริการเป็นเงินตราต่างประเทศ

   กรณีการคำนวณมูลค่าขายสินค้าหรือให้บริการเป็นเงินตราต่างประเทศ มิได้บัญญัติไว้โดยตรงดังเช่น กรณีการคำนวณราคาทุนของสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ แต่สามารถนำบทบัญญัติตามวรรคท้ายของมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากรมาปรับใช้โดยอนุโลม เพราะในการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นเงินตราต่างประเทศต้องคำนวณค่าหรือราคาให้เป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้

   2. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม

      2.1 สำหรับการส่งออก และการขายสินค้า หรือการให้บริการเป็นเงินตราต่างประเทศให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 79/4(1) แห่งประมวลรัษฎากร "ในกรณีได้รับเงินตราต่างประเทศจากการขายสินค้า การให้บริการและได้มีการขายเงินตราต่างประเทศที่ได้รับชำระนั้นเป็นเงินตราไทยในความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นให้ถือเงินตราไทยจากการขายนั้นเป็นมูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการแล้วแต่กรณี เว้นแต่มิได้มีการขายเงินตราต่างประเทศในเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นให้ถือตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ในวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น"

       2.2 สำหรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งผ่านพิธีการทางศุลกากร ให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 79/4(2) แห่งประมวลรัษฎากร "ในกรณีนำเข้าสินค้า ให้คำนวณราคา ซีไอเอฟของสินค้านำเข้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามอัตราที่กรมศุลกากรใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร"

   3. กรณีทั่วไปนอกจากที่ระบุไว้ในสองกรณีดังกล่าวข้างต้น ให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้

 "มาตรา 9 เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นถ้าจำเป็นต้องคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเพื่อปฏิบัติการตามลักษณะนี้ (ลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร แห่งประมวลรัษฎากร) ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กระทรวงการคลัง ประกาศเป็นคราวๆ" 

----------------------------------------------------------------- 

   ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลมีข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไว้เป็นกรณีพิเศษจึงมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้

  ปุจฉา มีข้อกำหนดในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศอย่างไร 

  วิสัชนา หลักเกณฑ์การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี หรือคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลา เพื่อการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี การคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอาจจำแนกได้ดังนี้

     1. กรณีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนด คำนวณค่าหรือราคากรณีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินนั้นๆ ให้เป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น

     2. กรณีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยดังนี้

       (1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (2) ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้และให้คำนวณค่าหรือราคาหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้

       (2) กรณีธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้

บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์   ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  21,28 กุมภาพันธ์ 2550




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT