บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
รัตนาคิดว่าเธอเป็นคนที่มีพร้อมแล้วทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น งานประจำที่มั่นคง ชีวิตครอบครัวที่มีความสุข และธุรกิจล่วงเวลาส่วนตัวเล็กๆ ที่ประสบความสำเร็จ แต่แล้วเรื่องที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เธอถูกเจ้านายไล่ออกจากงานประจำที่ทำเนื่องจากไม่พอใจผลงาน แถมลูกค้าประจำของธุรกิจล่วงเวลาก็ตีจากไปหาเจ้าอื่นที่ให้บริการที่ดีกว่า เหตุการณ์ข้างต้นนี้อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ที่ทำธุรกิจล่วงเวลา แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะทำงานเต็มเวลาควบคู่ไปกับการทำธุรกิจล่วงเวลาส่วนตัวไม่ได้ เพียงแต่ว่าคุณจะต้องบริหารให้ทั้งสองอย่างสมดุลย์กัน การทำธุรกิจล่วงเวลาเป็นการทดสอบเบื้องต้นสำหรับคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองว่าจะเป็นจริงได้หรือไม่ ในขณะที่คุณยังมีคนจ่ายเงินเดือนให้เต็มทุกเดือน อย่างไรก็ตามมีกับดักอีกมากมายที่คุณควรจะต้องระวังเมื่อทำงานสองอย่างแบบนี้ ลองศึกษา 6 วิธีต่อไปนี้ดูเผื่อจะช่วยให้ธุรกิจล่วงเวลาที่กำลังเริ่ม กลายเป็นธุรกิจเต็มเวลาได้จริงจริง 1. มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือไม่ เป็นคำถามแรกที่คุณต้องถามตัวเองว่า ธุรกิจล่วงเวลาที่ทำอยู่นั้นขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัทที่คุณทำงานอยู่หรือไม่ หากเป็นไปได้คุณควรจะต้องคุยอย่างเปิดอกกับหัวหน้าของคุณว่าธุรกิจที่คุณจะทำนั้นไม่มีผลกระทบกับลูกค้าปัจจุบันของบริษัทหรือเวลางาน บางบริษัทอาจจะมองว่าการมีธุรกิจส่วนตัวแบบนี้อาจจะดีกับบริษัทด้วยซ้ำไปเพราะคุณอาจจะได้ฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ที่นำมาใช้กับงานที่ทำอยู่ได้ เช่นเทคนิคการเจรจาต่อรอง หรือเทคนิคการบริหารเงิน เป็นต้น 2. ความเหมาะสมของการทำล่วงเวลา ธุรกิจบางประเภทเหมาะสำหรับการทำเป็นงานล่วงเวลาเท่านั้น ธุรกิจร้านค้าปลีกเป็นธุรกิจที่ต้องการเวลาเต็มที่ ในขณะที่งานเป็นที่ปรึกษาหรือรับงานเป็นโปรเจ็คเล็กๆ ที่ใช้เวลาไม่มากก็จะเหมาะที่จะเป็นงานล่วงเวลามากกว่า คุณอาจลองคุยกับหลายๆ คนที่อยู่ในวงการธุรกิจเดียวกันว่าสิ่งที่คุณจะทำหรือกำลังทำนั้นเป็นทางเลือกที่จะเป็นธุรกิจล่วงเวลาได้มากน้อยแค่ไหน 3. บริหารเวลา การบริหารธุรกิจส่วนตัวในขณะที่เป็นมนุษย์เงินเดือนเต็มตัวนั้นเป็นการทดสอบทักษะในการบริหารเวลาของคุณ เพราะคุณต้องบริหารทั้งครอบครัว งานประจำ เวลาพักผ่อนให้เหมาะ ที่สำคัญอย่าลุยงานจนหมดแรงเสียก่อน หลายท่านที่ทำธุรกิจส่วนตัวมักประเมินเวลาที่ต้องใช้ในการทำธุรกิจผิดไป คำนวณเวลาให้ดีและอย่าคาดหวังตัวเองสูงจนเกินกำลัง จะทำให้เครียด 4. หาคนคอยช่วยเหลือ การทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็มากพออยู่แล้ว แต่นี่ต้องเพิ่มชั่วโมงทำงานสำหรับธุรกิจส่วนตัวเข้าไปอีก คุณควรจะมีคนที่อยู่เบื้องหลังไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงที่คอยช่วยเหลือและเข้าใจว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ งานที่พวกเขาจะช่วยได้ก็อาจเป็นงานง่ายๆ เช่น ส่งเอกสาร จัดแฟ้ม จัดเอกสาร เป็นต้น 5. ใส่ใจแค่ธุรกิจเดียวเท่านั้น สิ่งที่เย้ายวนนักธุรกิจขนาดเล็กที่เพิ่งเริ่มกิจการก็คือฝันหวานถึงการทำธุรกิจหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ดังนั้นคุณๆ ที่เริ่มทำธุรกิจล่วงเวลาต้องหลีกเลี่ยงการจับปลาสองมือ อย่าลืมว่าคุณมีเวลาและทรัพยากรที่จำกัด การขยายกิจการหรือทำธุรกิจอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยนั้นคุณอาจแบ่งเวลาไม่ได้ ควรทุ่มให้กับธุรกิจประเภทเดียวจะดีกว่า รอให้ประสบความสำเร็จดีเสียก่อนแล้วจึงค่อยคิดการใหญ่ต่อไป 6. มีเป้าหมายชัดเจน คุณควรจะมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าธุรกิจล่วงเวลานี้ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อให้มีรายได้เสริมจากงานประจำหรือทำเพื่อในวันหนึ่งข้างหน้าจะกลายเป็นบริษัทเต็มตัว หากคุณคิดจะเลิกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนเสียที คุณต้องวางแผนช่วงเวลารอยต่อระหว่าง ธุรกิจล่วงเวลา+เป็นลูกจ้าง กับ ธุรกิจเต็มเวลา+เป็นนายจ้าง ให้ดี หากเป็นไปได้คุณควรมีเงินสดสำรองไว้มากๆ เผื่อรายรับที่จะขึ้นๆ ลงๆ ไม่แน่นอนในอนาคตด้วย หากคุณต้องการเริ่มเป็นเจ้านายตัวเองอย่างมั่นคง การเริ่มทำธุรกิจล่วงเวลาอาจะเป็นจุดเริ่มเล็กๆ ที่อาจเติบโตไปเป็นธุรกิจเต็มตัวได้ ตัวอย่าง เช่น Michael Dell ผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท PC's Limited ขึ้นที่หอพัก โดยการรับประกอบคอมพิวเตอร์สมัยที่เป็นนักศึกษา และขยายกิจการจนกระทั่งเป็นบริษัท Dell Inc. ในปัจจุบัน อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง คิดก่อนตัดสินใจ :คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจรึยัง หลากหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ 7 ก้าวที่"พลาด"ในการเริ่มธุรกิจ ที่มา : www.smethailandclub.com |
ก้าวแรกของการขายของออนไลน์ เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่ กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ กรรมการกับความผิดทางอาญา เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น ความรับผิดของกรรมการบริษัท คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่ คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่ "อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่" ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ การโอนหุ้น เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย แผนธุรกิจ ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า! "อยากจะค้าขาย" 10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ" การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด 5 สาย อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร คุณก็เป็นเศรษฐีได้ หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ เริ่มต้นจากเล็ก คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ 10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้ คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ 7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550 อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ข้อควรทราบในการจดทะเบียน วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2 จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3) จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4) |