ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์

 

ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์

 

 “ โอย ..ถ้าบริษัทในเครือค้ายาบ้าแล้วถูกจับ ผมก็ ..ซวย..ด้วยซิครับ… ”

คุณปกป้อง ประกันภัย มาโอดครวญกับผม กรณีถูกบริษัทแห่งหนึ่งฟ้องให้จ่ายค่าเสียหายในฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน

     เรื่องมีอยู่ว่า คุณปกป้อง ได้ค้ำประกันหลานชายเข้าทำงานกับบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งมีบริษัทในเครืออยู่ 10 บริษัทและในหนังสือสัญญาการค้ำประกันนั้น ระบุว่ายินยอมเป็นผู้ค้ำประกันในกรณีที่หลายชายย้ายไปทำงานกับบริษัทในเครือเสมือนหนึ่งเป็นบริษัทเดียวกัน และก็ลงชื่อกันเรียบร้อยทั้ง 2 ฝ่าย  หลายปีผ่านไปหลานชายก็ย้ายไปหลายบริษัทในเครือ จนไปทำให้เกิดความเสียหายขึ้นจนได้ และร้อนถึงคุณปกป้อง ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้บริษัทนั้นแทน

“ ทำแบบนี้ ผมจะไปรู้หรือว่าแต่บริษัททำอะไร เกิดให้หลานผมไปค้ายาบ้า ผมก็ต้องถูกจับในฐานะผู้ค้ำประกันด้วยสิครับ ” คุณปกป้อง ยังโอดครวญไม่หยุด หลังจากที่เล่าให้ผมฟังจบลง

     ท่านทั้งหลายครับ เรื่องค้ำประกันนี้ ผมเคยบอกไว้ในเรื่องของคนอื่นมาบ้างแล้ว แต่กรณีของคุณปกป้องนี้ ผมเห็นว่ามีประเด็นที่น่าสนใจต่างไปอีกแบบ คนอื่น ๆ ส่วนมากแล้วจะค้ำประกันในบริษัทเดียว แต่ของคุณปกป้องนี้ค้ำหลายบริษัท ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหาย และ ความเสี่ยงในการที่จะต้องชดใช้ จึงมีมากกว่า คนอื่น ..คำถามว่า คุณปกป้องต้องตามไปรับผิดชอบทุกบริษัทตามสัญญาจริงหรือ ???

     ตามเจตนารมณ์ ของการค้ำประกันนั้น เขาให้ค้ำประกันกันเฉพาะพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการทำงานในตำแหน่งที่ค้ำนั้น ๆ เท่านั้น ไม่ใช่ค้ำประกันทุกพฤติกรรม ทุกลมหายใจ หรือไม่ใช่ค้ำทุกตำแหน่งที่คนนั้นเลื่อนขึ้นหรือเปลี่ยนไป หรือ ค้ำประกันเฉพาะในงานที่ผู้ค้ำเห็นว่าตนเองรับผิดชอบได้ในปัจจุบัน เท่านั้น 

     การเขียนสัญญาค้ำประกันที่ดีนั้นต้องให้ผู้ค้ำประกันโต้แย้ง คัดค้าน หรือมีสิทธิที่จะเปลี่ยนถ้อยคำ เปลี่ยนวงเงินที่ค้ำ หรือ กำหนดขอบเขตที่ค้ำได้ด้วย ไม่ใช่เขียนคลุมครอบจักรวาล กระดิกไม่ได้เลย พิมพ์มาเสร็จแล้วรวบหัว รวบหางให้ผู้ค้ำลงชื่อค้ำด้วยหัวใจตุ้ม ๆ ต่อม ๆ ตกไปอยู่ตาตุ่ม อย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ..ผู้ค้ำประกันนั้น เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง กระดูกแขวนคออยู่แล้ว ยังมาถูกบริษัทคู่สัญญามาบีบคอหายใจไม่ออกอีก ..คุณลองมาเป็นผู้ค้ำประกันดูบ้างสิ แล้วจะรู้ว่ามันเสียว มันเสี่ยง แค่ไหน

     อันบริษัทในเครือที่มีอยู่ขณะทำสัญญา 10 บริษัท นั้น ถือว่าผู้ค้ำรู้ว่ามีอยู่จริงและตกลงรับเข้าผูกพันค้ำประกันได้ แต่บริษัทที่ตั้งขึ้นทีหลังเป็นบริษัทที่ 11 หรือ บริษัทที่ 100 นั้น ผู้ค้ำประกันไม่ทราบทั้งตำแหน่ง หน้าที่ ขอบเขตงาน ไม่ทราบขอบเขตความรับผิดชอบความเสียหาย  การจะให้เขารับผิดชอบในสิ่งที่เขาไม่รู้มาก่อนนี้น เป็นเรื่องไม่ยุติธรรม ไม่เป็นธรรมกับเขา การค้ำประกันในบริษัทที่เกิดภายหลังเช่นนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานเคยพิพากษาเป็นบรรทัดฐานไว้แล้วว่า แม้ในสัญญาจะระบุว่ายินยอมค้ำประกันในกรณีที่ลูกจ้างย้ายไปทำงานในบริษัทในเครือนั้น ให้หมายถึงเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในขณะที่ทำสัญญาค้ำเท่านั้น การย้ายไปทำความเสียหายในบริษัทที่ตั้งภายหลังสัญญา ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน.. ตามคำพิพากษา เลขที่ ..8587/2544  คุณปกป้อง รอดตัวครับ แต่หลานชายคนที่ทำเสียหายโดยตรง ไม่รอด ต้องชดใช้ความสียหายที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง

     มีคำถามต่อว่า ถ้าหลานชายไปทำความเสียหายที่บริษัทอื่นมาก่อน ก่อนที่คุณปกป้อง จะค้ำประกันนี้ คุณปกป้องจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ ??? ข้อนี้ตอบง่ายครับ คือ ไม่ต้อง เพราะโดยทั่วไปแล้วกฎหมายหรือสัญญาจะไม่มีผลย้อนหลัง ส่วนมากจะบอกว่า ตั้งแต่วันค้ำเป็นต้นไป ตามแนวคำพิพากษา เลขที่  290/2539 ครับ

     ให้ถามอีกคำถามหนึ่ง ไม่คิดตังค์ ครับ ..คำถามต่อว่า ผมจะบอกเลิกการค้ำประกัน จะได้ไหมครับ ??? คำถามนี้ค่อยน่าสนใจหน่อย สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่บอกเลิกฝ่ายเดียวได้ ไม่จำเป็นต้องให้คู่สัญญายินยอม ถ้าคุณไม่อยากค้ำ หรือ เห็นพฤติกรรมไม่ดี มีความเสี่ยงของหลานคุณ คุณก็ทำหนังสือขอยกเลิกการค้ำได้ตามที่คุณปรารถนา ( หาพยานลงชื่อและถ่ายเอกสารไว้ด้วย เมื่อยกเลิกก็หมดความรับผิดชอบครับ ส่วนหลานคุณจะไปหาคนค้ำใหม่ หรือ บริษัทไม่ต้องใช้คนค้ำก็แล้วแต่เขา ..ถ้าหลานชายเป็นมวยหน่อย ก็ถ่วงเวลาหาคนค้ำยากออกไปอีก เดี๋ยวเขาก็ลืมทวงเองแหละ ..( อันนี้ผมไม่ได้บอกวิชามารหลานคุณนะ ..แต่บอกเทคนิคบริษัทให้ระวังตัวและเร่งรัดให้ใกล้ชิด )

     อาจารย์ครับ ขอแถม อุ๊ย !! ขอถามอีกคำถามหนึ่งครับ หลังจากที่ผมค้ำแล้ว เขาเคยลาออกไปครั้งหนึ่งแล้วกลับมาทำใหม่ ผมยังจะต้องค้ำประกันต่อเนื่องไหมครับ ?? อย่างนี้ยิ่งชัดครับ การค้ำประกันครั้งแรกของคุณจบตั้งแต่วันลาออกครั้งแรกแล้ว การกลับมาใหม่ ถ้าคุณไม่ไปลงชื่อค้ำใหม่ คุณไม่ต้องรับผิดชอบ ตามแนวคำพิพากษา เลขที่ 3489/2527

“ อาจารย์ครับ “ เขาเรียกผมเบา ๆ
“ อะไรอีกล่ะ..ถ้าถามอีก คิดตังค์นะ “ ผมพูดเล่น ๆ
“ ที่อาจารย์บอกว่าศาลตัดสินไว้แล้ว มีเลขที่คำพิพากษาศาลฎีกาไหมครับ ..ผมจะจดไปขู่บริษัทนั้นสักหน่อย “
“ เอ้า จดเอา เลขที่ ..8587/2544  เลขที่ 290/2539 เลขที่ 3489/2527 พอใจหรือยัง”

“ การจะทำบุญกับคนให้ได้บุญนั้น ให้ช่วยเขาตอนที่เขากำลังตกทุกข์ ได้ยาก ขณะมีชีวิตอยู่นี่แหละครับ จึงจะได้บุญในชาตินี้ จะรอช่วย รอทำบุญ 100 วันให้ภายหลัง จะมีประโยชน์อะไร ”

บทความโดย : สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา 

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/nationejobs/2009/10/01/entry-1




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ลิขสิทธิ์ Copyright Law
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
หมิ่นประมาท
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
ความยินยอมของคู่สมรส
เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง