ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่

 

ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่

 

  เราขอนำเสนอความผิดพลาด 8 ประการ สำหรับ เถ้าแก่ใหม่ หรือนักธุรกิจมือใหม่ ที่ควรตระหนัก ดังนี้ 

1. ไม่ทำการวิจัยหรือสำรวจตลาดเพื่อดูว่า แนวคิดธุรกิจของเราสามารถพัฒนาหรือโตได้ไหม

อันนี้ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจที่ขาดไม่ได้โดยเด็ดขาด 9 ใน 10 นักธุรกิจที่ประสบความล้มเหลวอาจเกิดจากสายป่านไม่ยาวพอหรือได้บุคลากรไม่เก่งมาร่วมงาน แต่ 9 ใน 10 ของนักธุรกิจที่ล้มเหลว มาจากไอเดียธุรกิจไม่เวิร์ก ต่อให้เก่งกล้าสามารถแค่ไหน ก็ " ล้ม " ได้ หากแนวคิดในการทำธุรกิจนั้นมีจุดอ่อนเพียบ

2. ประเมินสถานการณ์พลาด

ไม่ว่าจะเป็นขนาดของตลาด ช่วงจังหวะเวลา และการทำส่วนแบ่งตลาด โดยส่วนใหญ่นักธุรกิจหน้าใหม่มักตื่นเต้นที่จะนำเสนอสินค้าหรือบริการ จึงทุ่มลงทุนไปมหาศาลโดยลืมนึกไปว่ามีลูกค้าสักกี่คนที่จะซื้อสินค้าของเรา สมมติว่าตลาดแห่งหนึ่งมีลูกค้า 50 ล้านคน บางคนคิดว่าขอแค่ 2 เปอร์เซนต์ของ 50 ล้านก็พอ แต่รู้หรือไม่ว่า การทำ 2 เปอร์เซนต์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องหมู ๆ

3. มองโลกในแง่ดีเกินไป

นักธุรกิจมือใหม่ มักคำนวณค่าใช้จ่ายต่ำและไปคาดหวังกับยอดขายงาม ๆ แบบพุ่งกระฉูด ยิ่งไปประกอบกับปัจจัยอื่นชวนล้มเหลว เช่น จ้างบุคคลากรเกินความจำเป็น และทุ่มค่าใช้จ่ายไปที่สิ่งอำนวยความสะดวกในออฟฟิศมากเกินไป หากยอดขายไม่เป็นดังคาด ขณะที่ค่าโสหุ้ยบานตะไทแล้วละก็ อย่างนี้มีแต่ต้องม้วนเสื่อสถานเดียว

4. จับคู่กับหุ้นส่วนที่ไม่จำเป็น

สมมติคุณต้องการทำธุรกิจตัวหนึ่ง จึงกวาดต้อนเพื่อน ๆ มาถือหุ้น เพียงเพื่อต้องการเงินมาลงทุน หากธุรกิจไปได้ดีเพราะมันสมองของคุณ แทนที่ผลกำไรเป็นกอบเป็นกำจะตกเป็นของคุณหรือหุ้นส่วนสำคัญบางคน แต่กลับต้องเฉลี่ยให้หุ้นส่วนจำนวนมากมายเหล่านั้นอย่างน่าเสียดาย และในการทำธุรกิจแบบถือหุ้นกันมากหน้าหลายตาแต่ภายหลังกลับพบว่าแนวคิดไปกันไม่ได้ แบบนี้ก็อันตราย

5. จ้างคนเพราะเอาสะดวกเข้าว่าโดยไม่คำนึงถึงทักษะและความสามารถ

หลายคนใช้วิธีจ้างญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักมาทำงานเพราะเป็นวิธีที่ง่ายดี แต่ถ้าคนเหล่านี้ทำงานไม่เป็น ก็จะกลายเป็นปัญหาทันที แล้วก็เป็นเรื่องยากซะด้วยที่จะยื่นซองขาวเชิญออก ฉะนั้น ยอมเสียเวลาเฟ้นหาคนที่มีความสามารถตรงกับงานแบบ " put the right man on the right job " จะทำให้แบ่งเบาภาระลงได้เยอะ

6. ท้อแท้ง่ายเกินไป

มักจะชอบตอกย้ำคำพูดและความคิดที่ว่า " เป็นไปไม่ได้ " ซึ่งเป็นการบั่นทอนกำลังใจ แทนที่จะมองหาหนทางอื่นในการแก้ไข หรือปรับปรุงเพื่อให้ดีขึ้น ไม่ว่าใครจะพูดกรอกหูให้ได้ยินว่า " อุ๊ย .. ทำไม่ได้หรอก " อย่ายอมรับมันง่าย ๆ ขอให้เชื่อมั่นในตนเอง นักธุรกิจที่ดีจะต้องคิดหาทางออกอยู่เสมอแม้จะเจอกับทางตันแล้วก็ตาม

7. ในการบริหารงาน มุ่งเน้นไปที่การทำยอดขายและการขยายขนาดของบริษัทมากกว่าการทำกำไร

หลายคนมักจะภาคภูมิใจกับการสร้างอาณาจักรทางธุรกิจให้ใหญ่โต มีพนักงานจำนวนมาก เพราะทำให้ได้หน้าได้ตาในสังคม ยิ่งโตเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี แต่นักธุรกิจที่ฉลาดปราดเปรื่องต้องไม่ละเลยเรื่องการสร้างกำไรให้องค์กรด้วย

8. ขาดการวางเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจนในระยะยาว

ต้องรู้ว่าคุณต้องการให้บริษัทเติบโตในระดับไหน จะได้ประเมินสถานการณ์ถูก เช่น ลืมไปเลยหากจะสร้างบริษัทที่ทำยอดขายเป็นพันล้านเพราะสินค้าตัวนี้ แต่ถ้าเป็นเรื่องระดับไม่เกิน 10 ล้านบาท ก็ยังอาจจะพอลุ้น

     "อ่านตรงนี้ก่อน ! ริจะเป็นเถ้าแก่"

      อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง

  คิดก่อนตัดสินใจ :คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจรึยัง 

  "อยากจะค้าขาย"

  หลากหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ

      คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ

  ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ

       7 ก้าวที่"พลาด"ในการเริ่มธุรกิจ

  10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"

ที่มา : นิตยสาร SME Thailand




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
การโอนหุ้น
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)