ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



กิจการร่วมค้า (Joint Venture)

 

 

      การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรับจ้างทำงานโครงการใหญ่ๆ หรือรับงานที่ต้องมีการประกวดราคา(ประมูลงาน) ผู้ประกอบการบางรายอาจไม่สามารถรับงานได้โดยลำพังเพราะเงินทุนไม่พอหรือขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรับงานนั้นๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการ อาจมีความจำเป็นต้องร่วมกับผู้อื่นในการรับงาน เพื่อยกระดับความสามารถในการดำเนินงาน และเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ และที่สำคัญการรวมตัวกันจะทำให้เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีประสิทธิภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งขันได้

  การร่วมกันทางธุรกิจมีหลายลักษณะซึ่งอาจมีการนำเงินและเทคโนโลยีมาร่วมกันลงทุน โดยการกำหนดสัดส่วนหุ้นและการจัดสรร ผลประโยชน์ระหว่างกัน มีรูปแบบเหมือนการจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่ หรือบางลักษณะจะมีการร่วมกันรับงานเพียงอย่างเดียว โดยมีการแบ่งแยกสิทธิและหน้าที่ รวมทั้งกำไรและขาดทุนอย่างชัดเจน การร่วมกันในทางการค้านั้นที่นิยมกันในปัจจุบันคือ

    กิจการร่วมค้า (Joint Venture)

    กิจการค้าร่วม(Consortium)

   กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หมายถึง การที่ธุรกิจตั้งแต่ธุรกิจ 2 ธุรกิจขึ้นไปทำสัญญาที่จะร่วมลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจร่วมกันในทางการค้าหรือหากำไร โดยสิ่งที่นำมาร่วมลงทุนอาจเป็นเงินทุน ที่ดิน อาคาร เทคโนโลยี การผลิต หรือบุคลากร ภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาร่วมค้าซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินการอย่างชัดเจน เช่น ผลิตหรือจำหน่ายสินค้า หรือดำเนินโครงการใดโครงการหนึ่งร่วมกัน โดยต้องมีการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้น หน้าที่ความรับผิดชอบ และสิทธิของแต่ละฝ่ายรวมถึงการจัดสรรผลประโยชน์อันเกิดจากการดำเนินการ ทั้งนี้ ในการทำการร่วมค้าจะต้องมีผู้ร่วมค้าฝ่ายหนึ่งเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทกับบริษัท หรือบริษัทกับบุคคลธรรมดา ซึ่งต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ใช้ชื่อว่า "กิจการร่วมค้า"

   สาเหตุที่ทำให้มีการร่วมค้ากัน มักเกิดจากความต้องการเงินหรือทรัพยากรในการลงทุนเพิ่ม เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นหรือกำลังประสบปัญหาไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ หรืออาจเกิดจากการแสวงหาเทคโนโลยีและวิทยาการที่ทันสมัย เพื่อยกระดับความสามารถในการดำเนินงาน หรือต้องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่ โดยอาจนำทรัพยากรส่วนที่เหลือไปร่วมทุน เช่น กำลังการผลิตของโรงงานที่เหลืออยู่ อาคารสำนักงานที่ว่างอยู่ เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไป ธุรกิจที่เข้ามาร่วมค้ากันจะเป็นธุรกิจที่มีฐานะแตกต่างกัน เพราะหากอยู่ในฐานะเท่าเทียมกันแล้ว ก็มักจะเป็นคู่แข่งมากกว่าที่จะร่วมมือกันสำหรับธุรกิจที่ทำการร่วมค้ากันอาจอยู่ในประเทศเดียวกัน หรือในต่างประเทศ และ/หรือสาขาของธุรกิจต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศก็ได้

   ประโยชน์ของการร่วมค้า

1. ช่วยให้ธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนหรือทรัพยากรเพิ่มขึ้นจำนวนมาก สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

2. ช่วยลดและกระจายความเสี่ยงอันเกิดจากการประกอบกิจการในภาวะขาดทุนหรือดำเนินกิจการล้มเหลว
เนื่องจากมีผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานถึง 2 ฝ่ายหรือมากกว่า โดยในสัญญาจะระบุภาระหน้าที่และความรับ
ผิดชอบของแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจน

3. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เนื่องจากการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรร่วมกัน ทำให้ประหยัดและ
สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม

4. ช่วยประหยัดภาษี โดยเฉพาะภาษีจากส่วนแบ่งกำไร เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า "หากกิจการร่วมค้านั้นเป็นกิจการที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทย เมื่อได้รับส่วนแบ่งของกำไรไม่ต้องนำมาคำนวณรวมกับรายได้ของบริษัทเดิมเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก"

          รายละเอียดของกิจการร่วมค้า

  การร่วมค้า หมายถึง การประกอบกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจของบุคคล หรือ กิจการตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีการควบคุมร่วมกันตามที่ตกลงในสัญญา การควบคุมร่วมกันก็หมายถึง การที่ผู้ร่วมค้ามีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงิน และการดำเนินงานของธุรกิจที่ร่วมค้านั้นร่วมกัน เพื่อให้ได้รับประโยชน์ของกิจกรรมต่างๆของธุรกิจนั้น การจัดตั้งการร่วมค้าอาจตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย เช่น จัดตั้งในลักษณะห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือ อาจไม่ได้มีการจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายก็ได้ แต่ไม่ว่าการร่วมค้าจะมีรูปแบบใดตามกฎหมาย การจะจัดเป็นการร่วมค้าได้ต้องมีลักษณะที่สำคัญ คือ 

  มีผู้ร่วมค้าตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ตกลงกันเป็นสัญญา และ

  สัญญาดังกล่าวระบุให้ผู้ร่วมค้าทุกรายมีอำนาจในการควบร่วมกัน

  คำว่า “ผู้ร่วมค้า” หมายถึง บุคคล หรือ กิจการที่เข้าร่วมในการร่วมค้า และมีอำนาจควบคุมร่วมในกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ หรือ การดำเนินงานของการร่วมค้านั้น แต่ถ้าผู้เข้าร่วมรายใดไม่มีอำนาจควบคุมร่วม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 จะถือว่าบุคคลหรือกิจการนั้นเป็นเพียง “ผู้ลงทุน” ไม่ใช่ผู้ร่วมค้า

  สำหรับสัญญาร่วมค้านั้นมักเป็นลายลักษณ์อักษร และอาจจะรวมเป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับของบริษัท หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ว่าด้วยการค้า ซึ่งข้อกำหนดในสัญญาที่สำคัญก็คือ จะต้องไม่ให้มีผู้ร่วมค้ารายใดรายหนึ่งสามารถควบคุมการดำเนินงานของการร่วมค้าได้โดยเพียงผู้เดียว ในสัญญาร่วมค้าจะต้องกำหนดถึงการให้ความเห็นชอบของผู้ร่วมค้าในการจะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยในบางเรื่องอาจต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ร่วมค้าทุกคนก่อนจึงดำเนินการได้ แต่ในบางเรื่องอาจเพียงต้องการความเห็นชอบจากผู้ร่วมค้าทุกคนก่อนจึงดำเนินการได้ แต่ในบางเรื่องอาจเพียงต้องการความเห็นชอบจากผู้ร่วมค้าส่วนใหญ่เท่านั้นก็สามารถดำเนินการได้ทันที

  การร่วมค้านั้น แม้ว่าผู้ร่วมค้าจะมีอำนาจในการควบคุมกิจการได้ แต่ก็เป็นการควบคุมร่วมกับกับผู้ร่วมค้าคนอื่นๆ ไม่ใช่การควบคุมอย่างเต็มที่ ดังนั้นการร่วมค้าจึงมิใช่บริษัทย่อยของผู้ร่วมค้า ผู้ร่วมค้าจึงไม่จำเป็นต้องจัดทำงบการเงินรวมสำหรับการร่วมค้า

  การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการร่วมค้าของผู้ร่วมค้านั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการร่วมค้า ซึ่งรูปแบบของกิจการร่วมค้าตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

  1. การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมกัน (JOINTLY CONTROLLED OPERRATIONS)

  2. สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (JOINTLY CONTROLLER ASSETS)

  3. กิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมค้า (JOINTLY CONTROLLER ENTITIES)

  การบันทึกบัญชี หรือการแสดงรายการบัญชีสำหรับ 2 รูปแบบแรกนั้น ไม่ได้มีลักษณะอะไรที่พิเศษไปจากรายการที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการผู้ร่วมค้าเอง เฉพาะการร่วมค้าในแบบที่ 3 เท่านั้น ที่จะมีการบันทึกและการแสดงรายการที่เป็นลักษณะเฉพาะของกิจการร่วมค้า

  กิจการร่วมค้า ( Joint Venture ) ตามความหมายในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฏากร คือ

" กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและ /หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น "

 ในทางปฏิบัติกรมสรรพากรได้วางบรรทัดฐานในการพิจารณาเพิ่มเติม โดยกำหนดว่ากิจการร่วมค้า จะต้องมีคุณสมบัติเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย

  1) มีการร่วมทุนกัน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน แรงงาน หรือเทคโนโลยี หรือร่วมกันในผลกำไรหรือขาดทุนอันจะพึงได้ตามสัญญาที่ร่วมกันทำกับบุคคลภายนอกหรือ

  2) ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยระบุในสัญญาว่าเป็น " กิจการร่วมค้า " หรือ

  3) ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอกโดยสัญญานั้นกำหนดให้ต้องรับผิดร่วมกัน ในงานที่ทำไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนและต้องรับค่าตอบแทนตามสัญญาร่วมกัน โดยสัญญานั้นไม่ได้แบ่งแยกงานและค่าตอบแทนระหว่างกันไว้อย่างชัดเจน

    ตัวอย่าง บริษัท กขค.ก่อสร้าง จำกัด ร่วมกับ บริษัท ฮ.คอนสตรัคชั่น จำกัด เข้าทำสัญญารับจ้างทำถนนแก่กรมทางหลวง มูลค่าโคงการ 700 ล้าน กำหนดระยะเวลา 3 ปี 6 เดือน 

 กรณีเช่นนี้ ย่อมถือว่า กิจการร่วมค้ารายนี้เป็นหน่วยภาษีใหม่แยกต่างหากจากผู้ร่วมค้าเดิมแต่ละราย

 ข้อดี ของการตั้งเป็นกิจการร่วมค้าคือ ถ้าโครงการของกิจการร่วมค้าขาดทุน ก็ไม่ต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล และได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินปันผลของกิจการร่วมค้า

 ข้อเสียคือ ผู้ร่วมค้าแต่ละรายไม่สามารถนำผลขาดทุน ของกิจการร่วมค้าดังกล่าวไปขอหักเป็นค่าใช้จ่ายในการยื่นแบบ ภงด.50 ของโครงการปกติอื่นๆ เช่นกัน

  1. กิจการร่วมค้า มีสถานะเป็นนิติบุคคล จึงมีสิทธิและหน้าที่เหมือนกับนิติบุคคลทั่วไป เช่น ต้องจัดทำบัญชีและ ยื่นเสียภาษี

  2. ต้องขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในนาม " กิจการร่วมค้า " กับทางสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยใช้หลักฐานดังนี้

    2.1 สัญญากิจการร่วมค้า
    2.2 ถ้าเป็นนิติบุคคล ให้แสดงหนังสือรับรองนิติบุคคลทุกฝ่าย พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ
    2.3 ถ้าเป็นบางส่วนเป็นบุคคล ก็ใช้สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลนั้น 
    2.4 หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือ สัญญาเช่า
    2.5 หนังสือมอบอำนาจ และหลักฐานผู้รับมอบอำนาจ

   และถ้าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ให้เตรียมหลักฐานการจดภาษีมูลค่าเพิ่มไปด้วยไปด้วย

  กิจการค้าร่วม (Consortium) คือ การประกอบธุรกิจที่มีลักษณะของการร่วมกันขององค์กรธุรกิจตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป เพื่อดำเนิน กิจการหนึ่งด้วยวัตถุประสงค์ คือเป็นการเข้าร่วมกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามแผนธุรกิจ แต่ละฝ่ายจะใช้ความสามารถและความ ชำนาญในการทำงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบให้สำเร็จตามโครงการ และมีการแบ่งแยกการทำงานไว้อย่างชัดเจน โดยต่างฝ่ายต่าง ออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินเฉพาะของบริษัทตน

  สัญญากิจการค้าร่วมเป็นเพียงการลงนามร่วมกันในการทำสัญญากับเจ้าของโครงการเท่านั้น เพราะแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบเฉพาะใน ส่วนของตน ไม่มีการร่วมทุนหรือแบ่งปันผลกำไรหรือขาดทุนระหว่างกัน เมื่องานเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะยุติลงเหมือนกับกิจการร่วมค้า กิจการร่วมค้าไม่มีชื่อเรียกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายรัษฎากร จึงไม่ต้องขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี อากร แต่มีการเสียภาษีจากกำไรของแต่ละบริษัทนั่นเอง

  ประโยชน์ของกิจการค้าร่วม คือ ผู้ประกอบการจะสามารถคำนวณหรือประเมินความสามารถของตนในการรับงานในแต่ละส่วนได้ และจะรับผิดชอบเฉพาะส่วนงานของตนเองเท่านั้น ตัวอย่างของกิจการค้าร่วมเช่น บริษัท A และบริษัท B ร่วมกันทำสัญญากับ หน่วยงานรัฐ ในการขายและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ชื่อ "กิจการร่วมค้า AB" หรือ "คอนซอร์เตียม AB" ซึ่งบริษัท A รับผิดชอบในการขายอุปกรณ์ ส่วนบริษัท B รับผิดชอบในการติดตั้งระบบ เมื่อปรากฎว่าเกิดความเสียหายจากการพัฒนาระบบจนไม่สามารถใช้งานได้อันมิใช่เกิดจากอุปกรณ์ ดังนั้นบริษัท B จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

   Consortium จะมีลักษณะแตกต่างจาก Joint Venture กล่าวคือ สมาชิกของ Consortium นั้นจะมีการแบ่งแยกงานและเงินที่สมาชิกแต่ละคนจะได้รับจากเจ้าของโครงการ จะมีการร่วมกันก็เพียงแต่มาลงนามในสัญญาฉบับเดียวกันที่ทำกับเจ้าของโครงการเท่านั้นเอง โดย Consortium นั้นไม่ได้เป็นหน่วยภาษีแยกต่างหากจากผู้เป็นสมาชิกของ Consortium 

  จึงกล่าวได้ว่า Consortium นั้น สมาชิกแต่ละคนจะได้รับเงินในส่วนของงานที่ตนทำ จะกำไรหรือขาดทุนก็เป็นเรื่องของตน ไม่มีการไปรวมกับกำไรหรือขาดทุนของสมาชิก Consortium รายอื่น และสมาชิก Consortium แต่ละรายก็จะเสียภาษีโดยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีของตนแยกแต่ละรายไป

  ส่วนในแง่ความรับผิดนั้น สมาชิกของกิจการร่วมค้าจะรับผิดร่วมกันต่อเจ้าของโครงการ แต่ Consortium นั้น โดยปกติต่างคนต่างรับผิดชอบเฉพาะส่วนที่เป็นงานของตน แต่หากเจ้าของโครงการต้องการให้สมาชิกของ Consortium รับผิดชอบร่วมกันทั้งหมดก็ตกลงกันได้

  คำว่า Consortium นั้นไม่มีการบัญญัติไว้ทั้งในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์และ ประมวลรัษฏากร จึงไม่ต้องขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี และทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากไม่ใช่หน่วยภาษีที่แยกต่างหากจากสมาชิก Consortium

  

      ชม Slide กิจการค้าร่วม (Joint Venture)

ข้อมูลอ้างอิง :  สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
 




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT