ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ภาษีอากรประเมิน

 

ภาษีอากรประเมิน

 

   ท่านผู้อ่านฝากคำถามไปยัง มุมภาษี อ่านแล้วน่าคิดมาก ๆ จึงนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ คำว่า “ประเมิน” ทำไมต้องนำไปต่อท้ายคำว่า “ภาษีอากร” เป็น “ภาษีอากรประเมิน” ต่อท้าย “เงินได้” เป็น “เงินได้พึงประเมิน” และต่อท้ายคำว่า “เจ้าพนักงาน” เป็น “เจ้าพนักงานประเมิน” จึงตั้งกระทู้ว่า คำว่า “ประเมิน” หมายความว่าอย่างไร เมื่อนำไปต่อท้ายแต่ละคำดังกล่าวจะให้ความหมายอย่างไร เพราะเท่าที่ผ่านมา ในการเรียนภาษีอากร หาตำราเกี่ยวกับภาษีอากรประเมินน้อยมาก เท่าที่จับใจความได้ ก็คือ 
   
“ภาษีอากรประเมิน” คือ ภาษีอากร ประเภทที่ผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีมีหน้าที่ยื่นรายการประเมินตนเองตามแบบแสดงรายการที่กฎหมายกำหนดและภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อแสดงว่า มีรายได้หรือรายรับที่ต้องนำมาคำนวณภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งชำระหรือนำส่งภาษีอากรไปพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ และให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินความถูกต้องของจำนวนเงินภาษีและการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรของผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากรนั้น ๆ ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เพียงใด ถ้าพบข้อผิดพลาด ก็ให้มีอำนาจดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักความเป็นธรรมแก่สังคมต่อไป
   
คำว่า “ประเมิน” ในที่นี้ จึงน่าจะหมายถึง ความถูกต้อง ความครบถ้วน หรือมาตรฐานที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ บริบูรณ์ ดังนั้น “เงินได้พึงประเมิน” จึงหมายถึงเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีอากรได้แก่ เงินได้จากหน้าที่งานที่ทำ เงินได้เนื่องจากกิจการที่ทำ และเงินได้เนื่องจากทรัพย์สิน ทั้งจากแหล่งเงินได้ในประเทศและแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ ที่ผู้มีเงินได้ได้รับในระหว่างปีภาษี ไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม และเป็นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการ และคำนวณภาษีอากรให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กฎหมายกำหนด 
   
สำหรับคำว่า “เจ้าพนักงานประเมิน” จึงหมายถึง เจ้าพนักงานที่มีคุณสมบัติ และมีความรู้ความสามารถตามที่กำหนด ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ในอันที่จะทำการประเมินความถูกต้อง ครบถ้วนของจำนวนเงินภาษีอากร และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากรว่า เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
   
ซึ่งหากมองมุมที่กว้างขึ้น เจ้าพนักงานประเมิน จะมีอำนาจก็ต่อเมื่อ ผู้ต้องเสียภาษีอากรประเมินยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง และหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น หากผู้ต้องเสียภาษีอากรได้ปฏิบัติ การทางภาษีอากรโดยถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว เจ้าพนักงานประเมินย่อมไม่มีอำนาจการประเมิน ใด ๆ นอกจากการให้บริการที่ดีแก่ผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากรด้วยความนอบน้อม อย่างมีสำนึกในบุญคุณเท่านั้น

   วิธีการเก็บภาษีอากรประเมินตามประ มวลรัษฎากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ท่านกำหนดให้ผู้ต้องเสียภาษีหรือผู้นำส่งภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยแสดงรายได้หรือรายรับ พร้อมคำนวณจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตรา อีกทั้งต้องปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรวมเรียกวิธีการเช่นนี้ว่า “การประเมินตนเอง” 
   
และเพื่อเกิดความเสมอภาค เป็นธรรมในการเสียภาษีอากรของผู้ต้องเสียภาษีอากร ที่เกรงว่า บางรายอาจปฏิบัติไม่ถูกต้อง จึงบัญญัติให้ “เจ้าพนักงานประเมิน” เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของการยื่นรายการและการเสียภาษีอากร รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่อื่นของผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากร ในกรณีที่พบว่าผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากรได้เสียหรือนำส่งภาษีอากร หรือปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะประเมินภาษีอากร พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม แล้วแจ้งการประเมินไปผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากร และมีอำนาจดำเนินคดีอาญาต่อการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดให้ต้องรับโทษจำคุก และหรือโทษปรับ เห็นได้ว่า ภาษีอากรในส่วนที่เป็น “ภาษีอากรประเมิน” ที่กรมสรรพากร จัดเก็บส่วนใหญ่ เป็นผลจากการชำระภาษีอากรโดยยื่นแบบแสดงรายการประเมินตนเองของผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษี ส่วนที่เจ้าพนักงานทำการประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมนั้นมีไม่ถึง 5% 
   
การยื่นแบบแสดงรายการประเมินตนเองและชำระภาษีอากร จึงเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างยิ่งในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรประเมิน เพราะหากผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากรได้ยื่นแบบแสดงรายการ รายได้หรือรายรับ และปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรโดยถูกต้องครบถ้วน ตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากจะไม่ต้องรับผิดใด ๆ ทางภาษีอากรแล้ว ยังไม่ต้องเสียเวลากับการรับมือต่อการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมิน ไม่ว่ากรณีใด ๆ อีกเลย จึงไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ใด ๆ ทำให้มีเวลาบริหารจัดการธุรกิจให้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง เข้มแข็ง และยั่งยืนสืบไป 
   
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ก่อนการยื่นแบบแสดงรายการ เป็นสิทธิของผู้ต้องเสียหรือนำส่งภาษีอากรในการที่จะกรอกรายการต่าง ๆ ลงไป ซึ่งหากได้กระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์และครบถ้วน ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งท่านผู้ต้องเสียภาษีหรือนำส่งภาษีอากร และต่อประชาชนโดยส่วนรวมอีกด้วย และทำให้เจ้าพนักงานประเมินสามารถดำเนินการกับรายที่ไม่สุจริต เพื่ออำนวยให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม สมดังเจตนารมณ์ของการบัญญัติประมวลรัษฎากรสืบไป.

บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์  

ที่มา : คอลัมภ์มุมภาษี  นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันจันทร์ ที่ 7 และ 14 กันยายน 2552




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT