ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ทำบัญชีรับ-จ่าย แล้วไม่จนจริงหรือ

 

ทำบัญชีรับ-จ่าย แล้วไม่จนจริงหรือ

 

   หลายท่านคงเคยได้เห็นได้ยินโฆษณาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ชุด "จดแล้วไม่จน" ที่รณรงค์ให้ประชาชนจัดทำสมุดบัญชีครัวเรือนเพื่อบันทึกบัญชีรายรับ รายจ่ายของครอบครัว หรือสมุด "จดแล้วรวย" ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ "คู่มือชีวิตพอเพียงตามแนวพระราชดำริ" ของศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว กรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่รณรงค์ให้พนักงานในหน่วยงานของตน ให้ความสำคัญในเรื่องการจด การบันทึก เรื่องเงินๆ ทองๆ ส่วนตัวอย่างจริงจังในหลากหลายรูปแบบ

หลายคนที่ไม่ได้จดอาจจะมีข้อข้องใจว่า จดแล้วจะไม่จนจริงหรือ? จดแล้วจะรวยจริงหรือ? การจดจะช่วยเราได้อย่างไร? เราจะเสียเวลาไปกับการจดเปล่าๆ หรือไม่? จดไปจดมาจะคุ้มมั้ยเนี่ย? เราจะจดไปเพื่ออะไรกันเนี่ย? ทำไมหลายๆ หน่วยงานจึงมีการรณรงค์เรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง

จริงๆ แล้วการจดมีความสำคัญอย่างยิ่ง การจดไม่เพียงแต่เป็นการบันทึกช่วยจำเท่านั้น แต่การจด (โดยเฉพาะการจดบันทึกรายรับ รายจ่ายส่วนตัว) ยังสามารถสร้างความมหัศจรรย์ และสร้างปาฏิหาริย์ให้เกิดขึ้นกับตัวเราเองได้ด้วยเชื่อหรือไม่? ใครไม่เชื่อคงต้องลองพิสูจน์ด้วยตัวเองค่ะ

ความสำคัญประการแรกของการจดบันทึก รายรับ รายจ่ายส่วนตัว ก็คือ จะช่วยให้เรารู้จักตนเองดีขึ้น เพราะว่าในแต่ละวัน วันละ 24 ชั่วโมง ในแต่ละกิจกรรมที่เราทำ มักจะเกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงานเพื่อหาเงิน หรือการใช้เงินเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง

ลองคิดดูเล่นๆ ว่า ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเวลาเข้านอน เราทำกิจกรรมอะไรบ้าง และมีรายได้ หรือค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเท่าไร แค่ลองคิดดูเล่นๆ ก็คงพอจะเห็นภาพว่ากิจกรรมต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกับเงินในกระเป๋าเราแทบทั้งสิ้น แล้วเราจะจำได้หมดมั้ยเนี่ย? หลายท่านอาจจะแย้งว่าไม่เห็นจำเป็นต้องจดเลย จำๆ ไว้แบบคร่าวๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว

ที่จริง การจดบันทึกรายรับ รายจ่ายทุกสิ้นวันจะช่วยให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น เพราะว่ารายรับ และรายจ่ายที่เกิดขึ้นจะเป็นข้อมูลที่สะท้อนพฤติกรรมของเราได้อย่างชัดเจนที่สุด ข้อมูลจากการจดบันทึกจะบอกเราว่าเงินที่เราทำมาหาได้ ถูกใช้จ่ายไปในทางใดบ้าง เงินส่วนใหญ่จ่ายไปเพื่ออะไร สัดส่วนการจัดสรรเงินของเราเป็นอย่างไร

บางท่านอาจจะพบว่า เงินส่วนใหญ่หมดไปกับค่าเดินทาง เพราะว่าตื่นสายบ่อย จึงต้องเรียกแท็กซี่หรือต้องขึ้นทางด่วนเป็นประจำ พอเห็นตัวเลขค่าแท็กซี่ หรือค่าทางด่วนต่อเดือนแล้ว ท่านอาจตื่นเช้าขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยนาฬิกาปลุกก็เป็นได้ หรือบางท่านอาจจะพบว่า เงินส่วนใหญ่หมดไปกับการค่าอาหาร แล้วท่านก็จะเข้าใจได้ว่าที่น้ำหนักขึ้นเอา ขึ้นเอา ก็เพราะท่านใช้เวลาว่างไปกับการทานอาหาร

เมื่อรวมตัวเลขในแต่ละเดือนดูแล้ว ท่านอาจจะตกใจ เมื่อพบว่าเงินส่วนใหญ่หมดไปกับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งมากเกิน หรืออาจจะพบว่าเงินหมดไปกับบางกิจกรรมน้อยเกินไป รวมทั้งพบว่ากิจกรรมบางอย่างที่เราไม่เคยสนใจ ไม่ใส่ใจ ทำไมใช้เงินเยอะจัง

รับรองค่ะว่า เมื่อรู้จักตัวเอง เมื่อเห็นพฤติกรรมของตนเองแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ไม่จำเป็น หรือละเลิกกิจกรรมที่สร้างความฟุ่มเฟือยทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้น จุดเริ่มต้นที่ดี ก็คือ การทำไดอารี่ทางการเงินเป็นประจำ

เพื่อจะได้เห็นพฤติกรรมของตัวเองค่ะ ซึ่งการจดบันทึกอย่างต่อเนื่องก็จะเป็นการตรวจสอบพฤติกรรมของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบข้อบกพร่อง เริ่มจะออกนอกลู่นอกทาง ก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขได้ทันเวลา

ต่อมา เมื่อเรารู้จักตนเองแล้ว เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างแล้ว สิ่งสำคัญที่จะตามมา ก็คือ พัฒนาการทางการเงินที่จะสร้างวินัยทางการเงินที่ดี เพราะบันทึกทางการเงินที่บกพร่องในอดีต ย่อมทำให้เราปรับปรุงปัจจุบัน และวางแผนอนาคตที่ดีขึ้นได้

นอกจากนี้ การทำบัญชีรายรับ รายจ่ายในครอบครัว ยังเพิ่มความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว ความเห็นอกเห็นใจกันผ่านการสื่อสาร การรับส่งข้อมูลทางการเงินระหว่างกัน ได้อย่างดีอีกด้วย อย่างเช่น คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะมอบหมายให้ลูกๆ เป็นผู้บันทึก ทุกวันก่อนนอน คุณลูกจะต้องเก็บข้อมูลจากคุณพ่อ คุณแม่ และถ่ายทอดข้อมูลของตนเองเพื่อจัดทำบันทึกของครอบครัว ลูกๆ อาจจะเข้าใจได้ว่า ทำไมคุณพ่อ จึงยังไม่ซื้อโทรศัพท์มือถือให้สักที

สำหรับรูปแบบของบันทึกรายรับ รายจ่าย หากใครได้แบบสำเร็จรูปมาจะสะดวกใช้ของสำนักไหนก็ไม่ว่ากัน หรือจะลองออกแบบ ตีตารางเอง ตามความเข้าใจของเราเองก็ยิ่งดีค่ะ จะวาดรูป ติดรูปเพิ่มสีสันในการบันทึก ช่วยเพิ่มรสชาติก็ไม่ว่ากัน ใครที่มีเป้าหมายการจัดสรรเงินอย่างชัดเจน เช่น จะซื้อรถ ซื้อบ้าน จะหารูปบ้าน รูปรถมาติดเพื่อสร้างแรงจูงใจ ก็น่าจะเพิ่มพลังในการบันทึกได้ไม่น้อยทีเดียว ว่าวันนี้เราจ่ายเงินเข้ากองทุนเงินออมเพื่อบ้านหลังใหม่ไว้เท่าไร จะว่าไปแล้วของแบบนี้ ไม่ลองไม่รู้ค่ะ ลองทำดูสักสองสามอาทิตย์ รับรองจะติดใจ

       ทำบัญชีรับจ่ายช่วยให้ครอบครัวเป็นสุข

  วางแผนการเงินเป็นเรื่องของทุกคน

  ยังไม่จน..อยู่อย่างจน..จะไม่จน

  การมีเงินออม

  ปัญหาหนี้สินในครอบครัว

  8 เคล็ดลับใช้เงินซื้อความสุขให้ตัวเอง

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 




รวมแนะนำบทความดีๆ

ทำไมผมถึงต้องกราบยาม
ครูกับนักเรียน
10 ไอเดียออมเงินง่ายๆ แต่ได้ผลดี
จะดีแค่ไหนที่เรารู้ว่า ยังมีคนที่คอยดูแล และเป็นที่พึ่งได้เสมอ
คลิปโฆษณาซึ้งๆ "เพราะอนาคตเด็กควรค่าแก่การเสียสละ"
10 นิสัยดีๆที่จะทำให้เรากลายเป็นคนฉลาด
10 สิ่งที่ผู้ชนะชอบทำ
มีเงินเท่าไหร่ ถึงจะพอใช้ยามเกษียณ
ค่าของเงิน
Castaway คนติดเกาะ!! ชีวิตนี้ไม่สิ้นหวัง
ฝึกนิสัยที่ดี จาก 5 ห้องในบ้าน กับ 'อนันต์ อัศวโภคิน' แห่งแลนด์แอนด์เฮาท์
สูตรออมเงินอย่างได้ผล
แรงบันดาลใจ เพื่อค้นหาตัวเอง
ความไว้ใจ
สัญญาณที่ทำให้รู้ว่าชีวิตการทำงานกำลังมาถูกทาง
ก็ยังดีกว่า
พุทธสถาน สถานที่สำคัญทางศาสนา ศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธ
ทำอย่างไร ให้ได้งานทั้งคุณภาพและปริมาณ
เพื่อลูก...
นิทาน เรื่องน้ำกับทิฐิ
ต้นแอปเปิ้ลกับเด็กน้อย
ชาวนากับลาแก่
พระคุณครู...ไม่มีวันเกษียณ
ข้อคิดตามหลักพุทธวจน เพื่อนำไปปฎิบัติในการดำเนินชีวิต
มือของแม่
เข้าใจชีวิต
"บทเรียนมีคุณค่าจากผู้สูงอายุ"...แนะนำให้สอนลูกหลาน
โรคแพ้ไม่เป็น
การลงโทษของพ่อ
จดหมายของพ่อ
สะกิดต่อมแมน...เปิดตำราการเป็นสุภาพบุรษยุคใหม่
6 ขั้นตอนสู่การเป็นผู้มีเงินใช้ไม่ขัดสน
พ่อ...ผู้ชายที่ผมเคยเกลียด
ชีวิตคู่ กับ การทำธุรกิจ
ให้ยืมอย่างไร ตัวเราถึงไม่เจ็บปวด
รวมสุดยอด แรงบันดาลใจ
Book Of The Year : หนังสือที่คนดังได้อ่านในปี’54 แล้วประทับใจ
วิธีดูคน อ่านคน จากสามก๊ก
ความทะนงตนของแมลงวัน
คนมีเสน่ห์
จะเข้มแข็ง...หรือจะอ่อนแอ
ออมวันนี้เพื่อชีวิตที่สุขสบายในวันข้างหน้า
10 วิธีในการคิดต่างตามแบบแอปเปิล
ใช้บัตรเครดิตอย่างไร ไม่ให้เดือดร้อน
ระวังภัย!... “แก๊งโจรกรรมรถ”
ถามเถิดจะเกิดผล
แฉกลโกงใหม่ ! ...ภัยจาก แก๊งค์ Call Center
กำลังใจ
ทำอย่างไรให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา
Save Big - แนะวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายก้อนโต
ลัทธิบริโภคนิยม
จับมือฉัน (Hold My Hand)
"คุณเคยทำสิ่งที่ผิดพลาดในชีวิตหรือไม่ ? "
อยากได้เงินเดือนขึ้นทำอย่างไรดี
คุณค่าของคน : อยู่ที่ตัวเอง (นายสตีฟ จอบส์)
วิธีเอาชนะ...ความขี้เกียจ
ถ้าคุณเป็นหนี้ต้องทำอย่างไร
คนรวยด้วยการทำงาน
ทำอย่างไรในเมื่อคุณเกิด...ไม่มีความสุขในการทำงาน
ทำอย่างไรให้รวย
เพื่ออะไร...
งานทรมานกับงานในฝัน
ฝันให้ไกล...ไปให้ถึง
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้
แก้วที่ไม่เคยพอ
เค้าว่ากันว่า...(เรื่องเปรียบเทียบระหว่างหนังสือกับความรัก)
เทคนิคการสร้างภาพลักษณ์ของตนเองให้ประทับใจ
ใบลาออกจากความทุกข์
พฤติกรรมที่นำสู่ความสุข
วิธีพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส
10 คำพูดดีๆที่ลูกอยากได้ยินจากพ่อแม่
วิธีปฎิบัติหกประการเพื่อทำให้ผู้อื่นชอบท่าน
ทำยังไงดี เมื่อเงินออมไม่มี เงินที่เป็นหนี้ก็ยังไม่หมด
ชีวิตนี้...ยังมีทิศตะวันออก
"เราควรเอาใจใส่ในงาน...แต่ไม่นำงานมาใส่ในใจ"
" เด็กขี้ขโมย"
สิ่งที่เรามักจะนึกเสียใจก่อนเสียชีวิต
การเงินกับผู้หญิง
พ่อครับ...ผมขอโทษ
พ่อแห่งศตวรรษ (Father of the century)
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้ได้ดี
นิทานของพ่อ
เงินที่หล่นหาย
10 หนทางสู่ความสำเร็จจากนักธุรกิจดัง
วางแผนการเงิน เรื่องของคนทุกวัย
คุณเคยดูถูกคนอื่นว่าแย่กว่าคุณบ้างหรือไม่
บทเรียนชีวิตจาก "ไมเคิล แจ็คสัน" ในแง่การใช้เงิน
วิธีคิดเมื่อต้องเป็นผู้แพ้
ออมสินเวลา
แก้ปัญหาหนี้ด้วยสติ
วางแผนการเงินเป็นเรื่องของทุกคน
ลิขิตฟ้า หรือจะสู้มานะตน
ปัญหามีให้สู้ ไม่ใช่ให้ถอย!!!
ความซื่อสัตย์
อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง
Clip ลุกขึ้น!! อีกครั้ง...กำลังใจสำหรับคนที่ท้อแท้
ทำอย่างไรเมื่อ (ใจ) เป็นหนี้
หนุ่มบ้านนอก
คาถาหัวใจเศรษฐี