บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

คุณค่าของการมองกันในแง่ดี
คุณค่าของการมองกันในแง่ดี
คุณเคยรู้สึกบ้างไหมว่า เวลาอยู่กับคนที่จ้องแต่จะตรวจสอบหรือจับผิดเรานั้น ไม่ว่าจะมองกันอย่างไร ร้ายหรือดี ทั้งหมดเป็นเรื่องของทัศนคติและอุปนิสัยที่ต้องได้รับการเอาใจใส่ ตรวจสอบ ความหวาดระแวงเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ และมันข้องเกี่ยวกับกลไกการป้องกันตัวเองด้วย สำหรับร่างกายและสมองที่ทำงานอย่างสัมพันธ์กันแล้ว ความหวาดระแวงเหมือนยาอย่างหนึ่ง แต่หากมีความหวาดระแวงมากเกินไป ก็เหมือนร่างกายและจิตใจได้รับยาพิษ คนที่มีความหวาดระแวงในระดับเข้มข้น จะเป็นคนที่ไว้ใจคนยาก ไม่ค่อยเชื่อใจใคร ทำอะไรก็มักจะลงมือทำเอง เราทุกคนมีหน้าที่เรียนรู้อารมณ์และจิตใจของตัวเอง เพื่อจะได้จับ ปรับ และเปลี่ยนแปลงมันได้อย่างทันท่วงที "จับ" หมายถึงรู้ความเคลื่อนไหวของอารมณ์ รู้ว่าเวลานี้อารมณ์บางอย่างก่อตัวขึ้นแล้ว หากมันสั่งให้กรี๊ดในยามโกรธ เราก็กรี๊ดออกไปโดยอัตโนมัติ มันสั่งให้ต่อยหรือยิงในยามกลัว เมื่อ "จับ" อารมณ์ทันแล้ว ก็อุ้มมันไว้ แล้วค่อยๆ ปรับมันให้โน้มเอียงไปในทางสร้างสรรค์หรือทางบวก เมื่อจับอยู่ ปรับได้ ต่อไปก็ฝึกที่จะเปลี่ยนแปลงมัน หรืออบรมมันให้ดี คนเราเปลี่ยนแปลงได้ ไม่มีใครเลวร้ายอยู่ชั่วนาตาปีหรอก ขอเพียงให้เขารู้ว่าเวลานี้เขาเป็นอย่างไร พอเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ให้เราหมั่นทบทวนว่าทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่าง และทุกๆ คนนั้น มีสองด้านอยู่ในตัวเองเสมอ การมองเห็นด้านที่ดีของกันและกัน ทำให้จิตใจของทั้งสองฝ่ายเปิดกว้าง จิตใจที่เปิดกว้างทำให้เกิดการยอมรับ รู้สึกว่าเป็นพวกเป็นเพื่อน เราทุกคนต้องเป็นคนมองโลกในแง่ดี โลกมีแง่ดีๆ ให้เรามองมากมาย มองเห็นให้ได้ มองหาให้เจอ บ้านใด ออฟฟิศใด ชุมชนใด สังคมใดก็ตาม ที่คนคิดดี พูดดี และทำดีต่อกัน 3 บุคลิกภาพที่จะนำไปสู่ความคิดบวก เพื่อจะนำสู่การมองกันในแง่บวก บุคลิกภาพของแต่ละคนถือเป็นจุดตั้งต้นค่ะ บุคลิกภาพดีๆ ย่อมไม่ก่อความรู้สึกร้ายในแวบแรกที่เห็น ดังนั้น การกำหนดบุคลิกภาพ หรือการรู้จักวางตัวให้เกิดเครื่องหมายบวกในความรู้สึกของคนรอบข้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราทำได้ โดย 1.มีท่าทีที่ผ่าเผย เปิดกว้าง และเป็นมิตร ท่าทีที่ว่า ขอเจาะลึกเฉพาะอวัจนภาษา คือกิริยาที่เราไม่ได้พูด แต่มันสื่อความหมายบางประการออกไป เช่น การมอง หากมองด้วยหางตาก็จะสร้างความรู้สึกลบ แต่หากมองแบบเต็มๆ ด้วยประกายตาปกติ หรือเจือไปด้วยความเป็นมิตร ก็จะสร้างความรู้สึกที่ดีได้มากกว่า แต่ต้องไม่ใจการสบตาแบบจ้องหน้าหรือประสานสายตาแบบหาเรื่อง การเดิน หากเดินอย่างระวัดระวัง เห็นหัวคนอื่น เห็นว่ามีคนอื่นอยู่ด้วย มีความสำรวมและนอบน้อมตามควร ก็จะก่อความรู้สึกที่ดีมากกว่าเดินเริด เชิด หยิ่ง และไม่เห็นหัวใคร เหล่านี้เป็นต้น ความผ่าเผยยังสะท้อนผ่านท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมจะจะเปิดกว้าง ทำความรู้จักกับคนอื่นๆ หรือพร้อมที่จะเปิดใจรับเพื่อนใหม่ๆ ยิ้มแย้มแจ่มใจ และให้โอกาสเขาได้พูด คุย แสดงตัวตนของเขาตามสมควร ท่าทีอย่างดีสร้างมิตรที่ดีมากกว่าศัตรูที่ร้ายกาจแน่นอน 2.คิดก่อนพูด พูดแต่สิ่งที่สมควร คำพูดและกิริยาขณะพูด เป็นตัวกำหนดการถูกมองในแง่ดีและในแง่ร้ายเอาไว้อย่างเบ็ดเสร็จ ไม่ว่าการแต่งเนื้อแต่งตัวของคุณจะดูดีแค่ไหน ประวัติชีวิตจะเลิศเลอปานใด แต่ทันทีที่พูด คุณก็จิกกัดเขา สร้างความต่ำต้อยอับอายให้เกิดแก่เขา ทุกสิ่งทุกอย่างในทางดีที่มีในตัวคุณก็จะมลายหายวับ กลายเป็นนางมารร้าย และหลังจากนั้น คุณจะถูกมองและถูกพูดถึงในทางร้ายไปอีกนานทีเดียว ฉะนั้น คิดก่อนพูด เพื่อไตร่ตรองว่าสิ่งนั้นควรพูดออกไปหรือไม่ ควรพูดอย่างไร ควรพูดเมื่อไหร่ คิดเสียให้เสร็จก่อน อย่าสนุก คะนองปาก หรือใช้ปากเป็นอาวุธโดยไม่จำเป็นหรือไม่ดูกาลเทศะ และต้องพูดอย่างสุภาพ ด้วยน้ำเสียงที่ดี น่าฟัง และไม่มีความหมายแฝงที่ต่างไปจากตัวคำพูดที่พูดออกไป กิริยาท่าทางขณะพูดก็ต้องผ่าเผย จริงใจ ไม่สื่อสารผ่านท่าทางแฝงด้วยเช่นกัน 3.จริงใจและไว้ใจ หมายถึงต้องมีความจริงใจต่อคนทุกคน และทำให้เขารู้สึกว่าคุณไว้ใจได้ หากผ่านความรู้สึกนี้มาได้แล้ว ต่อให้คุณมีน้ำเสียงอย่างไร ใช้คำพูดผิดไป หรือผิดพลาดในบางกาลเทศะ คุณก็ยังถูกมองอย่างดีอยู่เหมือนเดิม เพราะได้รับการให้อภัย ไม่เก็บเอาไปถือสาหรือด่าว่าลับหลัง เพราะโดยเนื้อแท้ คุณมีความจริงใจ ไม่ใช่คนประเภทหน้าไหว้หลังหลอก หรือปากอย่างใจอย่าง ข้อนี้ต้องผ่านกาลเวลาจนเกิดความเชื่อใจ ไม่ใช่ปุบปับก็จะรู้สึกได้เหมือน 2 ข้อแรก บทความโดย : อ.ประณม ถาวรเวช ข้อมูลจาก : โพสต์ทูเดย์ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |