บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

ปัญหาหนี้สินในครอบครัว
ปัญหาหนี้สินในครอบครัว
ปัญหาเรื่องหนี้สินในครอบครัว หรือปัญหารายรับไม่พอกับรายจ่าย เป็นปัญหาที่ทำให้คุณพ่อบ้าน คุณแม่บ้านหนักใจอยู่ไม่น้อย แต่อย่างเพิ่งทุกข์ใจจนเกินไป ปัญหานี้ยังพอมีทางแก้ไขได้ การป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สิน มีหลักง่ายๆ ว่าต้องลดรายจ่าย และเพิ่ม รายได้ให้มากขึ้น การลดรายจ่าย จะเหมือนกับการอุดรูรั่ว ไม่ให้เงินไหลออกโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้สามารถทำได้ โดยการลองสำรวจค่าใช้จ่ายในเดือนที่ผ่านมา ลองจดบันทึกดูว่าในครอบครัวมีการใช้จ่ายอะไรไปบ้าง และ รายการ ใดที่ไม่จำเป็นน่าจะตัดออกไปได้ ก็ให้ตัดออกไปให้หมดในเดือนถัดไปจะสามารถลดรายจ่ายลงได้ แต่ทั้งนี้ ทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกัน เพราะถ้าคนหนึ่งประหยัดแต่อีกคนยังใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เหมือนเดิมก็คงไม่ได้ผล คงต้องชี้แจงให้สมาชิกทุกคนในบ้านโดยเฉพาะลูกๆ ให้เข้าใจถึงฐานะครอบครัวตามความเป็นจริง จะได้เข้าใจตรงกันและยินดีที่จะช่วยกันประหยัดต่อไป เมื่อลดรายจ่ายได้แล้ว ก็ให้เอารายรับของทั้งบ้านมารวมกัน ดูสิว่าจะพอกับรายจ่ายหรือไม่ ถ้า พอและยังเหลือก็คงต้องเอาไปทยอยใช้หนี้ และเก็บออมไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน เช่น การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือการตกงาน เป็นต้น แต่ถ้ารายได้ยังน้อยกว่ารายจ่าย ก็คงต้องช่วยกันคิดว่าจะไปหารายได้เพิ่มมาจากที่ไหนอีก เช่น คน ที่ไม่ได้ทำงานก็ออกหางานทำ หรือคนที่ทำงานแล้วอาจทำงานนอกเวลาเพื่อหารายได้พิเศษ หรือเปลี่ยนงาน ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น อาจจะขายของมีค่าที่เก็บไว้ จำนำสิ่งของ หรือจำนองทรัพย์สิน หรือจะไปกู้ยืมเงินเพิ่ม เป็นต้น สำหรับหนี้สินที่มีอยู่เดิมควรทยอยชำระ เพราะเมื่อเงินต้นลดลงดอกเบี้ยก็จะลดลงด้วย และถ้าหา แหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าได้ ก็ควรย้ายแหล่งเงินกู้ใหม่ เพื่อจะได้ลดภาระลง ข้อสำคัญอย่าคิดรวยทางลัด โดยการเล่นการพนัน หรือทำอาชีพทุจริต เพราะจะยิ่งทำให้เรื่องเลวร้ายลงไปอีก การแก้ปัญหาหนี้สินที่จะได้ผลดี ต้องใช้เวลา ใช้ความอดทน และใช้ความร่วมมือของทุกคนใน ครอบครัว ถ้าคุณยังมีข้อสงสัยและอยากพูดคุยกับเรา (กรมสุขภาพจิต) โทรศัพท์มาได้ที่หมายเลข 02-526-3342 ตลอด 24 ชั่วโมง บทความโดย : คุณอินทิรา ปัทมินทร นักวิชาการสาธารณสุข 8 สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |