ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



การแปรสภาพของห้างฯ กับผลในทางภาษีอากร

 

การแปรสภาพของห้างฯ กับผลในทางภาษีอากร

 

   พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2551ส่วนที่ 12 (มาตรา 1246/1 ถึงมาตรา 1246/7)2 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็น บริษัทจำกัด ซึ่งสรุปสาระสำคัญให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่สามคนขึ้นไป 3 อาจแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้

   และเมื่อมีสภาพเป็นบริษัทจำกัดแล้ว บริษัทย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ และความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเดิมทั้งหมด ปัญหาจึงมีว่า การแปรสภาพของห้างฯ เป็นบริษัทจำกัดดังกล่าว ถือเป็นการเลิกการควบเข้ากัน ตามมาตรา 72 และ มาตรา 73 แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่ หากไม่ใช่ กรณีย่อม ไม่มีผลต่อการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี   

   เงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 74 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ถือเป็นการขายตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่ ดังนี้แล้ว การแปรสภาพห้างฯ เป็นบริษัท จะถือว่ามีการโอนทรัพย์สินจากห้างฯ ไปยังบริษัทอันจะก่อให้เกิดภาระทางภาษี หรือไม่ อย่างไร

   ผู้เขียนได้สรุปและรวบรวมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ที่แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด โดยพิจารณาเข้ากับหลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฎากรในส่วนของภาระภาษี เพื่อให้มองเห็นความเกี่ยวโยงกันในภาพรวมซึ่งทำให้ง่ายแก่การศึกษาทำความเข้าใจ นอกจากการนำเสนอประเด็นสำคัญตามหลักเกณฑ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฎากร แล้ว ยังได้นำเสนอประเด็นปัญหาและบทวิเคราะห์เกี่ยวกับประมวลรัษฎากรในรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจศึกษาทั่วไป โดยมีกรอบการนำเสนอดังนี้

  หลักเกณฑ์การแปรสภาพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนของหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการ และผลของการแปรสภาพ

   หลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฎากร ในส่วนของภาระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการควบบริษัท การเลิกบริษัท และภาระภาษีของผู้ถือหุ้นจากการเลิกบริษัท 

  ประเด็นปัญหาและบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร   

  หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    1. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2551 ส่วนที่ 12 (มาตรา 1246/1 ถึงมาตรา 1246/7) (กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท) 

    2. พระราชบัญญัติกำหนดความรับผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 (ความผิดอาญาเกี่ยวกับหุ้นส่วน บริษัท)

    3. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง การจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

  หลักเกณฑ์การแปรสภาพ 

     หลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนสถานะจากห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด ต้องจดทะเบียนเลิกแล้วทำการจดทะเบียนตั้งบริษัทขึ้นใหม่ 

     หลักเกณฑ์ใหม่ กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่สามคนขึ้นไป และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนให้ความยินยอม สามารถแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้ ในเบื้องต้นต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

      (1) ต้องเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด 

      (2) ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่สามคนขึ้นไป และ 

      (3) ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนให้ความยินยอม

   ขั้นตอนและวิธีการแปรสภาพ

      เมื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเข้าลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว สามารถแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้ โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้  

       1. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงยินยอมให้แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด  

       2. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างต้องมีหนังสือแจ้งความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนที่จะให้แปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัดเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนให้ความยินยอม โดยแนบสำเนาบันทึกข้อตกลงยินยอมให้แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดด้วย และหุ้นส่วนผู้จัดการรับรองความถูกต้องด้วย ห้างหุ้นส่วนที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ส่งหนังสือแจ้งความยินยอมที่สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ หรือส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจแห่งใดแห่งหนึ่ง สำหรับห้างหุ้นส่วนที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ส่งหนังสือแจ้งความยินยอมได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่ห้างหุ้นส่วนนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนั้น  

       3. ห้างหุ้นส่วนต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวและมีหนังสือบอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนบอกให้ทราบรายการที่ประสงค์จะแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัท และขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดนั้นส่งคำคัดค้านไปภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บอกกล่าวนั้น ถ้ามีเจ้าหนี้คัดค้าน จะแปรสภาพไม่ได้จนกว่าจะชำระหนี้หรือให้ประกันเพื่อหนี้นั้น

         ผลของการฝ่าฝืน 

         (ก) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้าง-หุ้นส่วนจำกัดใดไม่โฆษณาหรือไม่มีหนังสือบอกกล่าวความประสงค์จะแปรสภาพตาม มาตรา 1246/1(2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

         (ข) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้าง- หุ้นส่วนจำกัดใดจัดการแปรสภาพโดยฝ่าฝืนมาตรา 1246/1 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท  

       4. เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่บอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดคัดค้าน หุ้นส่วนผู้จัดการห้างต้องจัดให้มีการประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เพื่อให้ความยินยอมและดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้

          (1)  จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท (ถ้ามี) 

          (2)  กำหนดจำนวนทุนเรือนหุ้นของบริษัท ซึ่งต้องเท่ากับส่วนลงหุ้นของผู้เป็น   หุ้นส่วนทุกคนในห้างหุ้นส่วน และกำหนดจำนวนหุ้นของบริษัทที่จะตกได้แก่หุ้นส่วนแต่ละคน    

          (3)  กำหนดจำนวนเงินที่ได้ใช้แล้วในแต่ละหุ้น ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าแห่งมูลค่าของหุ้นแต่ละหุ้นที่ตั้งไว้ 

          (4)  กำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ รวมทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้นซึ่งจะออกและจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน  

          (5)  แต่งตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจของกรรมการ 

          (6)  แต่งตั้งผู้สอบบัญชี  

          (7)  ดำเนินการในเรื่องอื่นๆ ที่จำเป็นในการแปรสภาพ  

        5. หุ้นส่วนผู้จัดการเดิมต้องส่งมอบกิจการ ทรัพย์สิน บัญชีเอกสารและหลักฐาน ต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนให้แก่คณะกรรมการบริษัท ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ให้ความยินยอมและดำเนินการในเรื่องต่างๆ ตามมาตรา 1246/2 เสร็จสิ้นแล้ว

          ผลของการฝ่าฝืน

            หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 1246/3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

        6. ในกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนยังไม่ได้ชำระเงินค่าหุ้นหรือชำระเงินค่าหุ้นไม่ครบร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าหุ้น หรือยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน หรือทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่างๆ ให้แก่คณะกรรมการ ให้คณะกรรมการบริษัทมีหนังสือแจ้งให้ผู้เป็นหุ้นส่วนชำระเงินค่าหุ้น โอนกรรมสิทธิ์หรือทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่างๆ แล้วแต่กรณี ให้แก่คณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง  

        7. คณะกรรมการบริษัทต้องขอจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดต่อนายทะเบียน ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตามมาตรา 1246/3 ครบถ้วนแล้ว  

          ผลของการฝ่าฝืน

           คณะกรรมการของบริษัทจำกัดใดไม่จดทะเบียนแปรสภาพภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 1246/4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท 

    ในการขอจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด คณะกรรมการต้องยื่นรายงานการประชุมที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ร่วมกันพิจารณาให้ความยินยอมและดำเนินการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัดตามมาตรา 1246/2 หนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น พร้อมกับการขอจดทะเบียนด้วย เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนเดิมหมดสภาพการเป็นห้างหุ้นส่วนและห้างหุ้นส่วนที่จะแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด  จะต้องมีชื่อบริษัท วัตถุที่ประสงค์ ทุนจดทะเบียน ผู้ถือหุ้นและส่วนลงหุ้นของแต่ละคน แตกต่างไปจากที่ห้างหุ้นส่วนได้จดทะเบียนไว้เดิม

    ผลของการแปรสภาพ

      เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ จึงขอแยกความเกี่ยวพันในเรื่องผลของการแปรสภาพต่อห้างเดิม ผลต่อบริษัทที่เกิดใหม่ และผลต่อผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนเดิม ดังนี้

      ผลต่อห้างเดิม : เมื่อนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัดแล้ว ให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเดิมหมดสภาพการเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และให้นายทะเบียนหมายเหตุไว้ในทะเบียน กล่าวโดยสรุปก็คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเดิมหมดสภาพ แต่ไม่ต้องชำระบัญชีและไม่ต้องจดทะเบียนเลิกโดยนายทะเบียนจะหมายเหตุไว้

      ผลต่อบริษัทที่เกิดใหม่ : เมื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดแล้ว บริษัทย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเดิมทั้งหมด กล่าวโดยสรุปก็คือ บริษัทได้รับทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของห้างทั้งหมด

      ผลต่อผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนเดิม : เมื่อจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดแล้ว หากบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ตามที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน กล่าวโดยสรุปก็คือ ความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการแปรสภาพ ให้เจ้าหนี้เรียกให้บริษัทชำระหนี้ก่อน หากบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ได้ ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างตามที่ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องรับผิดในหนี้ในขณะที่เป็นห้างหุ้นส่วน 

    หลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฎากรปัญหามีว่า การแปรสภาพของห้างฯ เป็นบริษัทจำกัดดังกล่าว ถือเป็นการเลิก การควบเข้ากัน ตามมาตรา 72 และมาตรา 73 แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่ หากไม่ใช่ กรณีนี้ย่อมไม่มีผลต่อการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 74 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ถือเป็นการขายตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากรใช่หรือไม่

     ดังนี้แล้ว การแปรสภาพห้างฯ เป็นบริษัท จะถือว่ามีการโอนทรัพย์สินจากห้างฯ ไปยังบริษัทอันจะก่อให้เกิดภาระทางภาษี หรือไม่ อย่างไร การเลิกและการควบเข้ากันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 72 มาตรา 73 และมาตรา 74 และในการเลิกกันตามประมวลรัษฎากร ได้อิงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คืออาศัยหลักฐานการจดทะเบียนเลิกของนายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์ เป็นหลักฐานประกอบการเลิกตามประมวลรัษฎากรด้วย 

     ในเบื้องต้นจะขอกล่าวถึงภาระภาษีที่เกี่ยวกับ การเลิก และการควบเข้ากัน ตามมาตรา 72 และมาตรา 73 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประกอบความเข้าใจเสียก่อน เนื่องจากตาม หลักเกณฑ์เดิมนั้น การเปลี่ยนสถานะจากห้าง-หุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบริษัทจำกัด ต้องจดทะเบียนเลิกแล้วทำการ จดทะเบียนตั้งบริษัทขึ้นใหม่ซึ่งก่อให้เกิดภาระภาษีกับการควบบริษัท และภาระภาษีกับการ เลิกบริษัท

     ภาระภาษีจากการควบบริษัทการควบบริษัทได้นั้นจะต้องมีมติพิเศษ ให้ควบบริษัท เมื่อควบกันแล้ว ต่างบริษัทจะต้องนำความไปจดทะเบียนการควบภายใน 14 วัน และบริษัทที่ควบเข้ากันนั้นจะต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทใหม่ ซึ่งจะเป็นผู้รับไปซึ่งทุนเรือนหุ้นของบริษัททั้งหมดที่มาควบเข้ากันรวมทั้งบรรดาสิทธิและความรับผิดชอบทั้งปวง ซึ่งในขั้นตอนต่างๆ เหล่านั้นจะต้องมีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อากรแสตมป์ รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ในการจดทะเบียนเลิกบริษัทและการโอนทรัพย์สินโดยเฉพาะส่วนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ จากบริษัทที่ควบเข้ากันไปยังบริษัทใหม่ด้วย ดังนี้  

      1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล  บริษัทเดิมที่ควบเข้ากัน ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการประกอบกิจการ หรือเนื่องจากการประกอบกิจการ โดยบริษัทใหม่อันได้ควบเข้ากันมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีแทนบริษัทเดิม สำหรับทรัพย์สินของบริษัทเดิมที่โอนไปยังบริษัทใหม่ ต้องตีราคาตามราคาท้องตลาดในวันที่ควบเข้ากัน ซึ่งในการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทเดิม จะนำราคาที่ตีเพิ่มขึ้นหรือลดลงมารวมคำนวณกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิไม่ได้ ตามมาตรา 73 และมาตรา 74(1)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

      2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(4)(ฉ) กำหนดให้ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาในบริษัทเดิม ซึ่งกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทใหม่หลังการควบจะต้องคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากผลของการควบบริษัททำให้ได้ผลประโยชน์ (มูลค่าหุ้นที่ได้รับจากมาจากบริษัทใหม่) ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน แต่ถ้าได้ผลประโยชน์ไม่เกินกว่าเงินทุน ก็ไม่ต้องคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรก็ดี มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผลประโยชน์ที่ได้จากการควบบริษัท ตามข้อ 2(50) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 

      3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทเดิมต้องแจ้งเลิกกิจการ ส่วนบริษัทใหม่ต้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ตามมาตรา 85/14 และมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับสินค้าคงเหลือ หรือทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการ บริษัทเดิมและบริษัทใหม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ร่วมกัน ตามมาตรา 82/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร  ยกเว้นบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบนั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทเดิมจึงไม่ต้องเสียภาษีดังกล่าว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1(8)(ฉ )

       แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด

  สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท

ที่มา  : สรรพากรสาส์น (Update 11-8-52)




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี