ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ

 

ข้อดี/ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ

 

  ข้อมูลต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการมือใหม่ ที่จะจัดตั้งธุรกิจ รวมถึงการจัดทำบัญชี และการยื่นเสียภาษีในแต่ละประเภทให้ศึกษา


1. รูปแบบของธุรกิจ

   1.1 ธุรกิจเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) เป็นกิจการที่ดำเนินโดยคนๆเดียว

   ข้อดี

     จัดตั้งง่ายโดยคนๆ เดียว
     มีอิสระในการตัดสินใจ
     เจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบคนเดียวต่อผลการดำเนินงาน
     ข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
     การเลิกกิจการทำได้ง่าย
     ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารต่ำ

   ข้อเสีย

     เจ้าของกิจการต้องรับหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
     ขาดความน่าเชื่อถือของกิจการ
     การจัดหาเงินทุนทำได้ยาก
     การตัดสินใจอยู่ที่คนคนเดียว
     ธุรกิจอาจไม่ยืนยาวและไม่ต่อเนื่อง
     เสียเปรียบด้านภาษีอากร
     บุคลากรมีข้อจำกัดด้านความเจริญก้าวหน้า

   1.2 ห้างหุ้นส่วน (Partnership) คือธุรกิจที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ทำสัญญาด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรตกลงจะกระทำกิจการร่วมกันด้วยวัตถุประสงค์ ที่จะแบ่งกำไร ที่ได้รับจากการกระทำ ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนต้องลงทุนร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นตัวเงิน หรือทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ในสัญญาห้างหุ้นส่วนกำหนดรายละเอียดไว้

   การเลิกกิจการ

     เลิกตามที่สัญญากำหนดไว้
     เลิกตามกำหนดระยะเวลาที่วางเอาไว้
     หุ้นส่วนตาย ล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ
     คำสั่งศาล

   การแบ่งประเภทห้างหุ้นส่วน

     ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnerships) หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้สินร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกเป็นสองประเภท

        ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียน ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล เมื่อเกิดคดีจะฟ้องใครก็ได้

        ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นนิติบุคคลแยกจากหุ้นส่วน หากมีการฟ้องร้องต้องทำในนามห้างหุ้นส่วนก่อน ต่อเมื่อทรัพย์สินของห้างไม่พอชำระหนี้ จึงจะฟ้องร้องจากหุ้นส่วนต่อไป

     ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) ต้องจดทะเบียน ซึ่งนิติกรรมใดๆ จะทำในนามของห้างหุ้นส่วน ซึ่งผู้รับผิดชอบในห้างหุ้นส่วน แบ่งออกเป็นสองประเภท

        หุ้นส่วนชนิดจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบหนี้สิน ไม่เกินจำนวนเงินที่นำมาลงทุน ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้ไม่มีสิทธิ์เข้าจัดการห้างหุ้นส่วน มีสิทธิ์เพียงแสดงความคิดเห็น กฎหมายห้ามนำชื่อหุ้นส่วนประเภทนี้มาตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน ซึ่งหากหุ้นส่วนนี้ตาย หรือล้มละลาย ธุรกิจก็ยังดำเนินต่อไปได้

        หุ้นส่วนชนิดไม่จำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบหนี้สินอย่างไม่จำกัดจำนวน อย่างน้อยต้องมี 1 คน และมีสิทธิ์จัดการงานของห้างหุ้นส่วนได้

   ข้อดี

     ระดมทุนจากแหล่งอื่นได้ง่าย มั่นคงและน่าเชื่อถือกว่าเจ้าของคนเดียว
    ระดมความรู้ที่หลากหลายมาช่วยกันบริหาร
    การจัดตั้งไม่ยุ่งยาก การรวมหุ้นมีสัญญาต่อกันที่ไม่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
    หุ้นส่วนที่รับผิดชอบไม่จำกัดต้องเอาใจใส่การดำเนินงานคล้ายกิจการของตน มีอิสระในการบริหาร
    เลิกกิจการได้ง่าย

   ข้อเสีย

     มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น
     ถอนเงินทุกออกได้ยาก
     อายุธุรกิจถูกจำกัดด้วยชีวิตของผู้เป็นหุ้นส่วน
     หุ้นส่วนก่อหนี้ได้ไม่จำกัด
     อาจเกิดความขัดแย้งในหมู่ผู้ร่วมหุ้น
     ไม่จำกัดความรับผิดชอบของหุ้นส่วน ทำให้ไม่กล้าเสี่ยงขยายกิจการ

   1.3 บริษัทจำกัด (Limited Corporation) คือธุรกิจซึ่งเกิดจากการร่วมทุน ของกลุ่มคนเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรมาแบ่งกัน ลักษณะของบริษัทมีดังนี้

     ต้องมีผู้ร่วมทุนอย่างน้อย 3 คน (เป็นนิติบุคคลก็ได้)
     ทุนจะแบ่งออกเป็นมูลค่าต่างๆ กันเรียกว่าหุ้น
     ผู้ถือหุ้นจะขาย หรือโอนหุ้นให้ใครก็ได้
     ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจำกัด เท่ากับจำนวนหุ้นที่ถือ
     การแบ่งกำไร บริษัทจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนหุ้นที่ถือ

    ข้อดี

     มีสภาพเป็นนิติบุคคล แยกตัวจากผู้ถือหุ้น มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มีสิทธิ์ดำเนินคดีในนามบริษัท
     บริษัทสามารถหาทุนเพิ่มในการขายหุ้น
     ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบเพียงมูลค่าที่ตนค้างชำระ
     ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนหุ้นให้กับคนอื่นได้
     กรณีผู้ถือหุ้นตาย ล้มละลาย หรือศาลมีคำสั่งให้ออกจากผู้ถือหุ้น บริษัทก็ยังดำเนินกิจการได้
     มีความน่าเชื่อถือกว่าการจัดตั้งโดยเจ้าของคนเดียว หรือห้างหุ้นส่วน การเพิ่มทุนสามารถทำได้ด้วยการจดทะเบียนเพิ่มทุนและออกหุ้นขาย

    ข้อเสีย

     ขั้นตอนในการจัดตั้งยุ่งยาก และหน่วยงานรัฐดูแลเข้มงวด
     ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูง ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
     ต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป

     ความลับเปิดเผยได้ง่าย
     บางครั้งบริษัทอาจต้องจ้างมืออาชีพจากภายนอกเข้ามา ทำให้ขาดความตั้งใจ ซื่อสัตย์ และเสียสละ

    การจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด

     กรณีเป็นข้อบังคับของบริษัท
     เมื่อสิ้นกำหนดเวลา กรณีที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกาล
     เมื่อเสร็จการ เมื่อบริษัทถูกตั้งขึ้นเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง
     เมื่อมีมติให้เลิก
     เมื่อบริษัทล้มละลาย
     เมื่อศาลสั่งให้เลิก

   การตัดสินใจเลือกรูปแบบการทำธุรกิจ

    1. ประเภทของธุรกิจที่จะดำเนินการ ขนาด เงินลงทุน
    2. ต้องการบริหารกิจการและตัดสินใจเอง หรือจ้างมืออาชีพ
    3. เปรียบเทียบกฎหมายและภาษี ตามรูปแบบธุรกิจ ซึ่งมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน
    4. พิจารณาถึงการขยายธุรกิจหรือยกเลิกธุรกิจ

   2.การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจกับกระทรวงพาณิชย์

     ธุรกิจเจ้าของคนเดียว หากเป็นการประกอบธุรกิจขายสินค้า ให้จดทะเบียนพาณิชย์กับสำนักงานเขต
      ของ กรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัด ให้ติดต่อ ที่ อบต.
      ธุรกิจงานบริการ ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
     ห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน ให้ปฏิบัติเหมือนธุรกิจเจ้าของคนเดียว
     ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด ให้จดทะเบียนกับสำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ
      กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือต่างจังหวัด จดทะเบียนที่พาณิชย์จังหวัด

     บริษัทจำกัด ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล     

   3. การจัดทำบัญชีตามกฎหมาย

   ธุรกิจเจ้าของคนเดียว (บุคคลธรรมดา) และห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน

     ไม่ต้องทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีจะประกาศให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

   ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด

      ตาม พรบ.ทางการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังนี้

     วันเริ่มทำบัญชี ต้องเริ่มนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนป็นนิติบุคคล

     บัญชีที่ต้องจัดทำ ผู้ที่รับผิดชอบทำบัญชี จะต้องจบการศึกษาด้านบัญชี ยกเว้นผ่อนผันให้ผู้ที่ทำงานด้านนี้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้จบบัญชีมา โดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ

      1. บุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ต้องจบการศกษาด้านบัญชี โดยมีวุฒิ ปวส.(บัญชี) หรือปริญญาตรี(บัญชี)

      2. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณวุฒิ ปวส.(บัญชี) และสำหรับทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้าน มีสินทรัพย์มากกว่า 30 ล้านบาท และมีรายได้มากกว่า 30 ล้านบาท ผู้ทำบัญชีจะต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)

      3. บริษัทมหาชน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมการค้า บริษัทจดทะเบียน SET บริษัท BOI ผู้จัดทำบัญชีต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)

   ชนิดบัญชีที่นิติบุคคลจะต้องจัดทำคือ

      1. บัญชีรายวัน

         บัญชีเงินสด
          บัญชีเงินฝากธนาคาร
          บัญชีรายวันซื้อ รายวันขาย
          บัญชีรายวันทั่วไป

      2. บัญชีแยกประเภท

          บัญชีแยกประเภททรัพย์สิน หนี้สินและทุน
          บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย
          บัญชีแยกประเภทลูกหนี้และเจ้าหนี้

      3. บัญชีสินค้า

      4. บัญชีรายวันและแยกประเภทตามความจำเป็น

   การปิดบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องจัดให้มีการปิดบัญชีของนิติบุคคลทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันเปิดบัญชีครั้งก่อน

   การจัดทำงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องจัดทำงบการเงินและยื่นต่อสำนักงานกลางบัญชี หรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ภายใน 5 เดือน นับแต่วันเปิดบัญชี

   การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีหน้าที่ต้องรักษาบัญชีและเอกสารไว้ ณ สถานประกอบการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าประจำ โดยเก็บรักษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี

   บทกำหนดโทษ พรบ.การบัญชี 2543 ได้กำหนดโทษมีกระทำผิด โดยต้องได้รับโทษตามลักษณะความผิดซึ่งมีโทษจำคุกและโทษปรับ หรือทั้งจำคุกและปรับ แล้วแต่ประเด็น

   4. ภาษีอากรสำหรับธุรกิจ (ตามประมวลรัษฎากร) การประกอบธุรกิจมีรายได้ก็ต้องเสียภาษีอากร ภาษีเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งในการประกอบธุรกิจ ซึ่งภาษีมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะฯลฯ

   หลังจากได้มีการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการด้านภาษีซึ่งแยกคร่าวๆได้ดังนี้

     ธุรกิจเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน

     ขอมีเลขบัตรประจำตัวผูเสียภาษี ภายใน 60 วันนับจากวันที่มีเงินได้

      การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยกำหนดให้ยื่นปีละ 2 ครั้ง

      ยื่นภาษีครึ่งปี แบบ ภ.ง.ด. 94 ตั้งแต่วันที่ 1 กค. - 30 กย. ของทุกปี

      ยื่นตอนสิ้นปี แบบ ภ.ง.ด. 91 ตั้งแต่วันที่ 1 มค. - 31 มีค. ของทุกปี

     ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการ ซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการตามที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันเริ่มทำการ หรือผู้ประกอบการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1,800,000 บาท ต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือน และนำยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

     ภาษีธุรกิจเฉพาะ การธนาคาร ธุรกิจการเงิน การประกันชีวิต การรับจำนำ การประกอบกิจการปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าหรือกำไร การขายหลักทรัพย์ การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เหล่านี้ต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะภายใน 30 วันหลังจากวันเริ่มประกอบกิจการ โดยคำนวณจากยอดขายในอัตราร้อยละ 3.3 ในแต่ละเดือน นำยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

     ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด

      ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับจากวันจดทะเบียนนิติบุคคล

      การเสียภาษีงินได้นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 30 ของยอดกำไรสุทธิ (หรือมีสิทธิลดย่อนภาษีหากทุนจดทะเบียนไม่ถึง 5 ล้านบาท)

      การยื่นแบบ กำหนดให้ยื่นปีละ 2 ครั้ง การยื่นกลางปี (ภ.ง.ด.51) ยื่นภายใน 60 วัน นับจากวันสุดท้ายของงวด 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี อีกครั้งคือการยื่นสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50) ต้องยื่นภายใน 150วัน หลังจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

      ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับธุรกิจเจ้าของคนเดียว

      อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง

  คิดก่อนตัดสินใจ :คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจรึยัง 

  "อยากจะค้าขาย"

  หลากหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ

      คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ

  ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ

       7 ก้าวที่"พลาด"ในการเริ่มธุรกิจ

  10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"

ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
การโอนหุ้น
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)