ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



การโอนหุ้น

 

การโอนหุ้น

 

   การโอนหุ้นในบริษัทเอกชนนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ต่างกัน คือ กรณีหุ้นชนิดที่ออกให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนกันได้โดยการส่งมอบใบหุ้นให้แก่ผู้รับโอน ตาม ป.พ.พ.1135  และกรณีหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือ ย่อมโอนกันได้โดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนกับผู้รับโอนและมีพยานอย่างน้อยหนึ่งคนลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นๆ ด้วยตาม   ป.พ.พ. 1129 วรรคสอง หากพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา1129 ซึ่งบัญญัติว่า “ อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

   การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่งตราสารนั้นต้องแถลงเลขหมายหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย

   การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น”

   จะเห็นได้ว่า ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคแรก บัญญัติถึงหลักการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือหุ้นโดยทั่วๆไปว่า สามารถโอนกันได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น ต้องเสนอขายหุ้นดังกล่าวต่อผู้ถือหุ้นในบริษัทก่อนหรือต้องไม่โอนให้แก่บริษัทอื่นที่ประกอบกิจการซึ่งมีสภาพดุจเดียวกันและแข่งขันกับบริษัท หรือต้องได้รับอนุมัติจากกรรมการหรือที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเสียก่อน เป็นต้น  ส่วน ป.พ.พ มาตรา 1129 วรรคสอง บัญญัติถึงแบบการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือว่าต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน ผู้รับโอนและพยานอย่างน้อยหนึ่งคนรับรองลายมือชื่อดังกล่าว แม้ผู้โอนกับผู้รับโอนจะสมัครใจซื้อขายหุ้นกันเองก็ตาม หากไม่ปฏิบัติตามแบบดังกล่าวนั้นแล้วการโอนหุ้นดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ ผู้ที่รับโอนหุ้นต่อไปแม้จะโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่เป็นเจ้าของหุ้น

   ดังที่ศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาหลายฉบับ เช่น การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนผู้รับโอน และมีพยานรับรองลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนแล้ว ย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม(คำพิพากษาฎีกาที่ 413/2503)  และ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1304/2515)  ผู้โอนเป็นผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นได้มีหนังสือถึงบริษัทว่ามีความประสงค์จะโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอนขอให้จัดการโอนให้ และผู้รับโอนก็มีหนังสือถึงบริษัทว่ามีความประสงค์จะรับโอนหุ้นดังกล่าวจากผู้โอน ขอให้จัดการโอนให้ด้วยหนังสือ 2 ฉบับนี้เป็นเรื่องที่ผู้โอนกับผู้รับโอนมีไปถึงบริษัทให้จัดการโอนหุ้นให้เท่านั้น หาใช่เป็นหนังสือโอนหุ้นที่ผู้โอนกับผู้รับโอนลงลายมือชื่อไว้ต่อกัน แม้ผู้รับโอนจะสมัครใจซื้อขายหุ้นกัน แต่เมื่อมิได้ทำตามแบบซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง บังคับไว้ การโอนหุ้นก็ตกเป็นโมฆะ ดังตัวอย่างเช่น  ผู้ถือหุ้นอ้างว่าโอนหุ้นระบุชื่อแล้ว แต่เมื่อมิได้จัดทำตามแบบที่มาตรา 1129 วรรคสอง บัญญัติไว้ การโอนย่อมตกเป็นโมฆะ  ส่วนการโอนหุ้นบริษัทจำกัดชนิดระบุชื่อต้องมีพยานลงลายมือชื่อในหนังสือโอนหุ้น มิฉะนั้นเป็นโมฆะ แม้จะทำต่อหน้าพยานรู้เห็นหลายคนก็ตามผู้รับโอนหุ้นต่อไปสุจริต และเสียค่าตอบแทนก็ไม่เป็นเจ้าของหุ้น            

    ดังนั้น จะเห็นได้ว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือหากมิได้ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง ย่อมเป็นโมฆะ ผู้รับโอนหุ้นรายต่อมาแม้สุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่เป็นเจ้าของหุ้น กล่าวคือหุ้นนั้นยังไม่โอน ยังเป็นของผู้ถือหุ้นคนเดิมอยู่เนื่องจาก ป.พ.พ.มาตรา1129  วรรคสอง เป็นแบบแห่งนิติกรรมซึ่งเป็นองค์แห่งความสมบูรณ์เกี่ยวกับการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือ และเพื่อให้เกิดความแน่นอนกฎหมายจึงได้กำหนดวิธีการโอนขึ้นมาโดยเคร่งครัดอันเป็นการยกเว้นหลักเรื่องเสรีภาพในการแสดงเจตนา เมื่อไม่ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การโอนหุ้นดังกล่าวก็ย่อมตกเป็นโมฆะ        

    ฉะนั้น หุ้นชนิดระบุชื่อซึ่งเป็นทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ชนิดหนึ่งที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับการโอน ดังนั้นการซื้อขายหุ้นดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้ ป.พ.พ. ลักษณะ 22 หมวด 4 บริษัทจำกัด ซึ่งจะต้องทำตามแบบของ ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะดังกล่าวมาแล้ว เหมือนเช่นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์บางชนิดตาม  ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ แต่อย่างไรก็ตามแบบการโอนหุ้นดังกล่าวนี้จะไม่ใช้บังคับสำหรับการโอนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีระเบียบวิธีปฎิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษต่างหากไว้โดยเฉพาะแล้วสำหรับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าวัตถุประสงค์ที่จะให้มีการโอนหุ้นกันอย่างจริงจัง

บทความโดย : สุพรรณี  อุดมพรสุขสันต์  

           ศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมาย SMEs ฝ่ายประสานและบริการ SMEs (สสว.)       

อ้างอิงมาจาก  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)