ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ภาษีคณะบุคคล (6) และ (7)

 

ภาษีคณะบุคคล (6) 

 

   ข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลขึ้น เพื่อประกอบกิจการอื่นนอกจากวิชาชีพอิสระว่าจะกระทำได้หรือไม่ เพียงไร เพราะสิทธิในการประกอบอาชีพบางประเภทนั้นต้องใช้ใบอนุญาตอันเป็นสิทธิเฉพาะตัว (สิทธิติดตัว) ซึ่งได้มีความเห็นในเบื้องต้นไปแล้วว่า สิทธิดังกล่าวย่อมไม่อาจโอนไปยังห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้เลย
   
เพราะห้างหรือคณะฯ มิใช่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต หากเป็นแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลเท่านั้นที่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการดังกล่าว มาพิจารณาถึงการประกอบอาชีพที่มีลักษณะทำนองเดียวกับวิชาชีพอิสระเป็นรายอาชีพกันเลยครับ
   
อันดับแรก ขอกล่าวถึงการประกอบอาชีพเป็นตัวแทนนายหน้าประกันภัย ทั้งกรณีประกันชีวิต และประกันวินาศภัย อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
   
ผู้ประกอบอาชีพนี้มีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ดีและเป็นระเบียบแบบแผน กล่าวคือต้องเป็นผู้ผ่านการทดสอบ และได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนจึงจะประกอบอาชีพได้ ในวงการขายประกันจึงไม่มีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเพื่อประกอบอาชีพ หรือ เพื่อหลบเลี่ยงภาษี
   
อันดับสอง
การประกอบอาชีพสอนหนังสือหรือเป็นผู้บรรยายรายบุคคล มิใช่การสอนหนังสือหรือบรรยายเป็นหมู่คณะ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร วิทยากรหรือผู้บรรยายคนหนึ่งคนใดจะจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลขึ้นมาเพื่อรับงานสอนนั้น เห็นว่ากระทำไม่ได้ เพราะผู้สอนหรือผู้บรรยายกับกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแยกต่างหากจากกันโดยสิ้นเชิง แต่ห้างหรือคณะฯ อาจเป็นผู้รับงานสอนมาแล้วจ้างวิทยากรหรือผู้บรรยายอีกทอดหนึ่งต่างหาก ก็ย่อมเป็นสิทธิที่กระทำได้
   
อันดับสาม การเป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีนี้ ตามหลักกฎหมายผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนต้องเป็นบุคคล อันได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเท่านั้น แต่สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลไม่มีสถานภาพเป็นบุคคลจึงไม่อาจถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้
   
ดังนั้น การแยกหน่วยภาษีด้วยการเข้าไปถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในกิจการดังกล่าว โดยห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลจึงไม่อาจกระทำได้
   
อันดับสี่ การประกอบอาชีพนักแสดงสาธารณะที่เป็นส่วนบุคคล โดยมิได้ทำการแสดงเป็นหมู่หรือคณะ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ก็จะคล้ายกับกรณีที่สองการเป็นผู้บรรยายหรือวิทยากรหรือผู้สอนนั่นเองครับ จึงไม่ขอกล่าวในรายละเอียด

----------------------------------------------------------------

ภาษีคณะบุคคล (7) 

 

   กล่าวโดยทั่วไป การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เพื่อประกอบกิจการนั้น ถือเป็นสิทธิเสรีภาพของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
   
แต่สิทธิเสรีภาพดังกล่าวย่อมต้องมีขอบเขตของกฎหมาย โดยเฉพาะในส่วนของกฎหมาย ว่าด้วยภาษีอากร
   
ดังเช่น กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร อันเป็นกฎหมายพิเศษที่ต้องนำมาพิจารณาก่อน เพราะถือเป็นบทบัญญัติ ยกเว้นหลักกฎหมายทั่วไป
   
สิทธิในการประกอบธุรกิจหรือวิชาชีพในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลนั้น หากมิใช่เป็นกรณีที่ต้องใช้ใบอนุญาต หรือความสามารถส่วนบุคคล อันเป็นสิทธิเฉพาะตัว (สิทธิติดตัว)แล้ว ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลย่อมกระทำการนั้น ๆ ได้ โดยไม่ขัดกับข้อบทกฎหมายใด ๆ ตามหลักเสรีภาพของบุคคล อาทิ
   
การเข้าหุ้นกันฝากธนาคาร โดยเปิดบัญชีในนามของคณะบุคคล กรณีนี้ แม้จะ ไม่มีข้อบทที่ว่าด้วยการใช้ใบอนุญาตหรือความสามารถส่วนบุคคล แต่ก็มีข้อจำกัดของจำนวนเงินที่นำมาฝากว่า เป็นเงินทุนที่ลงไว้ในการก่อตั้งร่วมกันเพื่อฝากหรือไม่
   
หากมิใช่ส่วนของเงินลงทุน เช่นนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนนำเงินจากแหล่งใดมาฝาก หากมีการกู้ยืมเงินมาฝาก อาจถือเป็นการประกอบ กิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีกด้วย รวมทั้งการกู้ยืมเงินจากผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง
   
กรณีประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สินก็เช่นกัน ไม่มีข้อบทที่ว่าด้วยการใช้ใบอนุญาตหรือความสามารถส่วนบุคคล แต่ก็มีข้อจำกัดในการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามนัยมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ไม่ว่าทรัพย์สินที่ให้เช่าจะเป็นบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ หรือเป็นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม หรือเป็นที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรม หรือเป็นยานพาหนะ หรือเป็นทรัพย์สินอย่างนั้น
ทุกกรณีกำหนดให้สิทธิในการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาเฉพาะเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าเท่านั้น
   
นั่นย่อมหมายความว่า กรณีจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลขึ้นมาเพื่อการให้เช่าทรัพย์สิน
   
โดยห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลนั้น ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่นำออกให้เช่า เช่นนี้ ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลนั้น จะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาไม่ได้เลย ต้องหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรหรือค่าใช้จ่ายจริงเท่านั้น
   
ในประเด็นหลังนี้ ต้องขอฝากท่านผู้มีเงินได้ให้ช่วยโปรดพิจารณาและพึงสังวรระวังเป็นอย่างยิ่งครับ

   ภาษีคณะบุคคล (1)และ(2)

 ภาษีคณะบุคคล (3),(4)และ (5)

 คณะบุคคล...อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม

   การแตกหน่วยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล

บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์  ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 3 และ 10 สิงหาคม  2552




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี