ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”

 

เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”

 

  เป็นที่ทราบกันดีว่า หากผู้ประกอบการใหม่ต้องการที่จะทำให้ธุรกิจในฝันของตนเองประสบความสำเร็จ และมีเส้นทางเดินของการเจริญเติบโตที่มั่นคงและชัดเจน จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นด้วยการมี แผนธุรกิจ เป็นของตัวเองเสียก่อน

เพราะ แผนธุรกิจ จะเป็นเสมือน "เข็มทิศ" ชี้บอกตำแหน่งและสถานะของธุรกิจได้ว่า กำลังเดินไปในทิศทางที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ เดินไปได้ช้าหรือเร็วอย่างไร รวมไปถึงการชี้ให้เห็นโอกาสและอุปสรรคที่ไม่ได้เตรียมการไว้ หรือเป็นสภาวะที่เกิดจากการปรับตัวของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่คาดการณ์ไว้ไม่ถึง

ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมักจะประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ หลายๆ อย่างที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยเหล่านี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางครั้งจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ได้ยาก

มิหนำซ้ำ ปัจจัยเหล่านี้ อาจมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นเป็นทวีคูณ

ดังนั้น การเริ่มต้นธุรกิจ จึงจำเป็นที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการใหม่ จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือตรวจสอบเตือนภัยทางธุรกิจ ที่สามารถจำลองภาพสถานการณ์ต่างๆ ทางธุรกิจที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สามารถกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในช่วงเวลาต่างๆ ให้เหมาะสมกับโอกาส หรือ อุปสรรค ที่อาจเกิดขึ้น

หากเห็นช่องโอกาสเปิดให้ ก็ต้องรีบไขว่คว้ามาให้ได้ทันที

เพราะ "โอกาส" เป็นสิ่งที่มีไว้ให้ "ฉวย" หากท่านมองเห็น "โอกาส" แล้วนั่งมองโอกาสนั้นเฉยๆ โดยไม่ทำอะไร โอกาส ก็ย่อมจะหลุดลอยไปอย่างรวดเร็ว และอาจไม่หวนกลับมาให้ท่านได้เห็นอีกเลย

หากเห็น อุปสรรค อยู่ข้างหน้า ท่านอาจต้องงัดกลยุทธ์ การตั้งรับ รอเชิง หรือ รอดูสถานการณ์ไว้ก่อน โดยไม่ผลีผลาม ตกเหวลึกไปมากกว่านี้

เครื่องมือเตือนภัยล่วงหน้าทางธุรกิจนี้ ก็คือ "แผนธุรกิจ" นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การมี แผนธุรกิจ ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จ หรือ เป็นคัมภีร์ ที่จะประกันว่าธุรกิจใหม่ของท่านจะต้องประสบความสำเร็จและเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน แต่ แผนธุรกิจ จะเป็นเสมือนกระจกเงาที่จะสะท้อนให้ท่านมองเห็นปัญหา ต่างๆ ได้ทันทีที่ปัญหาเหล่านั้นเริ่มมาสร้างผลกระทบต่อธุรกิจของท่าน

แผนธุรกิจที่ชนะเลิศในการประกวดในเวทีต่างๆ เมื่อนำมาทำเป็นธุรกิจจริง อาจจำเป็นต้องปรับแผนไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือก็ได้ หรือ แผนธุรกิจ ที่ได้รับรางวัลในการประกวดบางแผน อาจไม่มีทางที่จะนำมาทำเป็นธุรกิจได้จริงก็มี

ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า หากท่านเป็นผู้ใฝ่ฝันอยากจะสร้างธุรกิจอะไรก็ตามที่เป็นของตัวเองขึ้นมา สิ่งแรกสุดที่จะสานฝันของท่านให้เป็นจริงขึ้นมาได้ ก็คือ การที่ท่านได้ทดลองเขียน แผนธุรกิจ ของท่านขึ้นมาด้วยตัวของท่านเอง

อาจจะเป็นแบบร่างง่ายๆ ไม่ต้องสลับซับซ้อนมากมายนัก เพื่อทดสอบว่า ไอเดีย ธุรกิจของท่านจะมีโอกาสเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน เป็นโอกาสที่ท่านจะได้ทดลอง บนกระดาษ เสียก่อนว่า จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างที่จะนำพาธุรกิจของท่านไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ

การลงมือเขียนแผนธุรกิจด้วยตัวเอง เป็นการเตรียมตัวที่ดีที่สุดที่จะตรวจสอบตัวเจ้าของธุรกิจเองว่า ตนเองมีความเข้าใจกับธุรกิจของตัวเองลึกซึ้งมากน้อยในระดับไหน ลึกซึ้งมากพอที่จะเอาชนะคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาดได้หรือไม่

การเขียนแผนธุรกิจ ก็เสมือนการเขียนแบบแปลนสร้างบ้านของท่านนั่นเอง เพียงแต่แผนธุรกิจจะเน้นไปที่รายละเอียดว่า ท่านจะดำเนินการทางธุรกิจอย่างไร เช่น


  ท่านจะขายอะไร สินค้าหรือบริการจะได้มาจากไหน

  ขายให้ใคร ทำไมผู้บริโภคจึงจะต้องมาซื้อสินค้าหรือมาใช้บริการของท่าน

  ขายอย่างไร ขายราคาเท่าไร เก็บเงินอย่างไร

  จะป่าวประกาศให้ผู้คนทราบอย่างไรว่า ธุรกิจของท่านเกิดขึ้นแล้ว

  จะต้องใช้เงินลงทุนเท่าไร แหล่งเงินลงทุนเริ่มแรกจะมาจากไหน

  หากต้องใช้เงินกู้ จะกู้จากใคร ทำไมเขาจึงจะต้องให้เงินเรากู้

  จะได้กำไร (หรือขาดทุน) เท่าไร ใน เดือนแรก ไตรมาสแรก หรือ ปีแรก และ ปีต่อๆ ไป

  หากขายได้ดีเกินคาด จะทำอย่างไร หากขายไม่ได้ตามที่คิด จะทำอย่างไร

  ฯลฯ

จะเห็นได้ว่า การตอบคำถามเหล่านี้คร่าวๆ ก็เปรียบเสมือนที่ท่านจะได้แบบร่างของ แผนธุรกิจ ขึ้นมาแล้ว

ในระหว่างที่ท่านเขียนแผนธุรกิจ หรือ ตอบคำถามต่างๆ ในการจำลองการทำธุรกิจกับตัวท่านเองให้เกิดภาพของตัวธุรกิจที่ชัดเจนมากขึ้นมาเรื่อยๆ ท่านจะพบว่า มีรูรั่วหรือจุดอ่อนต่างๆ มากมาย ท่านจำเป็นที่จะต้องคิดแก้ไขปัญหา รูรั่ว หรือ จุดอ่อนเหล่านั้นให้ได้จนเป็นที่พอใจเสียก่อน

นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้ประกอบการที่ตัดสินใจกระโดดลงไปทำธุรกิจโดยที่ยังไม่มี แผนธุรกิจ ที่เป็นกิจจะลักษณะ มักจะพบกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างติดๆ ขัดๆ ลุ่มๆ ดอนๆ อยู่เป็นประจำ

เพราะการมีแผนธุรกิจที่ได้คิดเตรียมการไว้อย่างรอบคอบตามสมควร จะทำให้ท่านเห็นปัญหาอุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้นได้ก่อน และเตรียมมาตรการล่วงหน้าไว้แล้วหากปัญหานั้นเกิดขึ้นมา หรือไม่ก็มีการป้องกันอย่างรอบคอบจนปัญหาเหล่านั้นจะไม่มาสร้างความจุกจิกกวนใจ รบกวนการเดินไปข้างหน้าของธุรกิจตามเป้าหมาย

ข้อควรรู้อีกประการหนึ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจใหม่ก็คือ แผนธุรกิจ ที่ดี จะต้องเป็นแผนที่ได้รับการปรับปรุง แก้ไข ทบทวน ให้ทันสมัยตลอดเวลาสอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกที่เปลี่ยนแปลง

การเขียนแผนขึ้นมา แล้วยึดถือเป็นสรณะ โดยไม่มีการแตะต้องหรือปรับสภาพของแผนเลย เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง

      อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง

  คิดก่อนตัดสินใจ :คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจรึยัง 

  "อยากจะค้าขาย"

  หลากหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ

      คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ

  ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ

       7 ก้าวที่"พลาด"ในการเริ่มธุรกิจ

  10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"

บทความโดย : เรวัต ตันตยานนท์    ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
การโอนหุ้น
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)