ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ภาษีคณะบุคคลวิชาชีพอิสระ

 

ภาษีคณะบุคคลวิชาชีพอิสระ(1)

 

   ย้อนความไปแต่ปางก่อนที่ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ไม่ว่าใครจะประกอบอาชีพอะไรหากจับคู่กันได้ ก็สามารถเดินไปหาสรรพากรเพื่อแจ้งการมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายได้รวมตัวจัดตั้งเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแล้วนะ
   
จากนั้นก็ขอใช้สิทธิแยกเสียภาษีเงินได้ต่างหากจากบุคคลธรรมดาคนเดียว ก่อให้เกิดช่องโหว่ของกฎหมายภาษีอากร กล่าวคือ เมื่อจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้แล้ว ก็จัดการแยกหน่วยทางภาษีเงินได้ แยกการรับรู้เงินได้พึงประเมิน แยกฐานภาษีเริ่มต้นอัตราก้าวหน้าขึ้นใหม่
   
ในกรณีที่กฎหมาย ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างแท้จริง อาทิ การยกเว้นเงินได้สุทธิไม่เกิน 1.5 แสนบาทแรก ก็พลอยได้สิทธินี้ไปด้วย เป็นผลให้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลดลงไปเป็นอันมาก
   
แต่ในทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ไม่มีการพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านว่ามีผลกระทบทางภาษีอากรหรือไม่อย่างไร คงปล่อยให้เป็นไปจนวันหนึ่ง ท่านอธิบดี วินัย วิทวัสการเวช เข้ารับตำแหน่ง ในฐานะนายตรวจเก่า ก็ได้มองเห็นปัญหานี้ จึงเรียกผู้เกี่ยวข้องมาประชุมหารือ ได้ข้อสรุปว่า ปัญหาการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นปัญหาที่ปล่อยผ่านไปไม่ได้อีกแล้ว จึงเริ่มวางกรอบจัดระบบใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง ดำเนินการ
   
ในรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่งเชื่อว่ากรมสรรพากรก็คงต้องมองเห็นแล้ว แต่ขอยกเป็นตัวอย่างเพื่อให้เกิดภาพของการเสียภาษีเงินได้ในนามห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลว่า ในบางอาชีพแล้ว การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลถือเป็นหน่วยทางภาษีสุดท้ายได้หรือไม่ อันได้แก่ การประกอบวิชาชีพอิสระ
   
โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระนั้นต้องมีใบอนุญาตเช่น การประกอบโรคศิลปะ (แพทย์รักษาคนไข้) การสอบบัญชี การว่าความ การควบคุมงานก่อสร้าง การออกแบบแปลนอาคาร เป็นต้น ใบอนุญาตที่ได้รับในการประกอบวิชาชีพดังกล่าว ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวเท่านั้น ใช่หรือไม่ 

             

หากผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติ บุคคลขึ้น สิทธิในใบอนุญาตอันเป็นสิทธิเฉพาะตัว (สิทธิติดตัว) นั้น จะโอนไปยังห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้หรือไม่ ซึ่งเบื้องต้น
   
ผู้เขียนเห็นว่า สิทธิดังกล่าวไม่สามารถ โอนไปยังห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ มิใช่นิติบุคคลได้เลย ปัญหาการเสียภาษีเงินได้จึงเกิดขึ้น แต่ต้องขอยกยอดไปสัปดาห์หน้าแล้วครับ

-----------------------------------------------------------------

ภาษีคณะบุคคลวิชาชีพอิสระ(2)

 

   ขอย้อนความในสัปดาห์ก่อนที่กล่าวถึง กรณีผู้ประกอบวิชาชีพอิสระได้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลขึ้น เพื่อประกอบวิชาชีพอิสระจะกระทำได้หรือไม่ อย่างไร เพราะสิทธิในการประกอบวิชาชีพอิสระตามใบอนุญาตนั้นเป็นสิทธิเฉพาะตัว (สิทธิติดตัว) ซึ่งมีความเห็นในเบื้องต้นว่า สิทธิดังกล่าวย่อมไม่อาจโอนไปยังห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้เลย
   
ในประเทศไทยนั้น ในการเสียภาษีเงินได้มีหลักการสำคัญประการหนึ่งคือ ข้อกำหนดของกฎหมายต้องไม่ก่อปัญหาความเป็นกลางทางเศรษฐกิจตามลักษณะภาษีอากรที่ดี กล่าวคือ บทบัญญัติทางภาษีอากรต้องมีความเป็นธรรมทั้งในรูปการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล
   
คราวนี้ลองมาพิจารณาถึงกรณีการประกอบวิชาชีพอิสระในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เช่น กิจการโรงพยาบาล เมื่อคนไข้คนหนึ่งเดินเข้าไปในโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนโรงพยาบาลไม่มีสิทธิรักษาคนไข้รายนั้นได้เลย เพราะไม่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ มีแต่เพียงใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล ทางโรงพยาบาลจึงต้องจ้างแพทย์ ซึ่งมีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะมาทำการรักษาคนไข้รายนั้น 

เมื่อคนไข้จ่ายค่ารักษาให้แก่โรงพยาบาล โรงพยาบาลย่อมมีรายได้ค่ารักษาเต็มจำนวน แล้วนำมาจ่ายต่อให้แก่แพทย์ผู้รักษาคนไข้อีกต่อหนึ่ง
   
ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า การรักษาคนไข้ราย หนึ่ง ๆ ก่อให้เกิดเงินได้ให้แก่สองคน สองระดับ คือ ในส่วนของผู้ติดต่อรับรักษา ได้แก่ โรงพยาบาล กับแพทย์ผู้รักษาคนไข้ อีกระดับหนึ่ง
   
แต่เมื่อหันมามองการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ก็จะพบว่า มิได้เกิดเงินได้พึงประเมินขึ้น
   
ดังเช่นกรณี กิจการวิชาชีพอิสระที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีการรวบรัดตัดความให้เสียภาษีเงินได้ในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเพียงหน่วยภาษีเดียว ซึ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง
   
เพราะนอกจากจะกระจายฐานภาษี ซึ่งทุกหน่วยภาษีจะได้สิทธิเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราที่เริ่มต้นอัตราต่ำใหม่ทุกครั้งที่ตั้งหน่วยทางภาษีอากรแล้ว ยังได้สิทธิหักลดหย่อนส่วนบุคคลผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีก
   
นอกจากนี้ เมื่อมีการยกเว้นเงินได้สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรก ก็ได้สิทธิอีกเช่นเดียวกัน ในขณะที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนไม่มีสิทธิกระจายฐานภาษีได้เลย แถมยังต้องเสียภาษีกันถึงสองชั้น สองระดับดังกล่าว
   
นี่เองจึงเป็นเหตุให้กรมสรรพากรต้องหันมาพิจารณาปัญหานี้อย่างจริงจังยิ่งขึ้นกว่าเดิม.

   ภาษีคณะบุคคล (1)และ(2)

 ภาษีคณะบุคคล (3),(4)และ (5)

 คณะบุคคล...อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม

   การแตกหน่วยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล

บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์  ที่มา : เดลินิวส์ วันที่ 20/7/52 และ 27/7/52




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี