ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท

 

อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท

 

   ปัญหาหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในเรื่องการจัดการทางการเงินของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือผู้ประกอบการใหม่ จะเป็นธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจมาแล้ว คือเรื่องของการใช้เงินกู้ผิดประเภท

หากจะแบ่งประเภทของเงินกู้ก็จะสามารถแบ่งเงินกู้ออกได้เป็นหลายประเภท แต่ถ้ากล่าวในเรื่องของระยะเวลาหรือวัตถุประสงค์ของการใช้เงินจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  เงินกู้ระยะสั้น (Short-term Loans)

  เงินกู้ระยะกลาง (Mid-term Loans)

  เงินกู้ระยะยาว (Long-term Loans)

 เงินกู้ระยะสั้น จะหมายถึงเงินกู้ที่มีระยะเวลาการกู้เงินและการชำระคืนน้อยกว่า 1 ปี โดยเงินกู้ระยะสั้นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ จะได้แก่ วงเงินเบิกเกินบัญชี หรือที่เรียกกันติดปากว่า O/D (Overdraft) และตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า P/N (Promissory Note) ส่วนเงินกู้ระยะกลางจะมีระยะเวลาการกู้ตั้งแต่ 1-3 ปี หรืออาจเป็น 1-5 ปี ส่วนเงินกู้ระยะยาวจะประมาณตั้งแต่ 5 ปีหรือตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป

ซึ่งเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาว จะเป็นลักษณะของเงินกู้ที่มีกำหนดจ่ายคืน (Term Loans) ทั้งที่อาจเป็นเงินกู้ธรรมดามีกำหนดเวลาจ่ายคืน (Ordinary Term Loans) หรือเงินกู้หมุนเวียน (Revolving Credits) แต่ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดของลักษณะเงินกู้ดังกล่าวไว้ในที่นี้ แต่ถ้าได้มีโอกาสได้เขียนถึงเรื่องของสินเชื่อหรือเรื่องของการกู้เงิน ก็จะได้กล่าวถึงในเรื่องดังกล่าวโดยละเอียดอีกครั้ง

วัตถุประสงค์ของเงินกู้ระยะสั้นจะใช้เพื่อการลงทุนระยะสั้น เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานการผลิต ค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าใช้จ่ายบุคลากร รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนอื่นๆ ส่วนเงินกู้ระยะกลางหรือระยะยาวก็จะใช้เพื่อการลงทุนของธุรกิจในระยะกลางหรือระยะยาว เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือการลงทุนในสินทรัพย์ของธุรกิจที่มีรอบระยะเวลาการสร้างรายได้นานกว่า 1 ปีขึ้นไป แล้วแต่ประเภทของสินทรัพย์หรือลักษณะการลงทุน

ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดก็คือ ธุรกิจหรือผู้ประกอบการมักใช้เงินกู้ผิดประเภทหรือใช้ผิดวัตถุประสงค์ กล่าวคือใช้เงินกู้ระยะสั้นเพื่อการลงทุนระยะยาว หรือใช้เงินกู้ระยะยาวเพื่อการลงทุนในระยะสั้น

โดยคิดเพียงว่าเงินกู้ก็คือเงินกู้ จะกู้สั้นหรือกู้ยาวก็ต้องคืนธนาคาร และเงินกู้ที่ใช้ก็นำไปใช้ในธุรกิจ ดังนั้นไม่น่าที่จะมีปัญหาใดถ้าธุรกิจสามารถชำระคืนธนาคารได้ หรือจากความรู้สึกว่าไม่สะดวกที่จะไปดำเนินการติดต่อธนาคารเพื่อขอใช้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม เนื่องจากอาจไม่มีหลักประกันเพิ่ม หรือไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น ค่าทำสัญญา ค่าจำนอง รวมถึงธุรกิจเองอาจมีวงเงินกู้คงเหลืออยู่ เช่น มีวงเงิน O/D ที่ยังใช้ไม่เต็มจำนวนตามที่ธนาคารอนุมัติ หรือมีวงเงินกู้ระยะยาวที่ยังใช้ไม่เต็มจำนวนหรือยังไม่มีการเบิกมาเพื่อการลงทุน ทำให้ธุรกิจหรือผู้ประกอบการคิดว่ามีความสะดวกกว่า ในการที่จะนำวงเงินกู้ในส่วนดังกล่าวมาลงทุนในสิ่งที่ต้องการ

ตัวอย่างเช่น นำเงินกู้ในส่วนที่เป็น O/D มาลงทุนซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อขยายกิจการ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือวงเงิน O/D ที่มีอยู่เดิมนั้นเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการผลิต และเงินทุนหมุนเวียนตามประมาณกำลังการผลิตที่มีอยู่เดิม แต่เมื่อมีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากวงเงิน O/D ที่มีอยู่เดิมจะไม่เพิ่มขึ้นตามกำลังการผลิตจากการลงทุนใหม่แล้ว แต่กลับลดลงเพราะบางส่วนถูกใช้ไปลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวคือเครื่องจักรใหม่ ทำให้ธุรกิจประสบปัญหาคือการขาดเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตสินค้า แม้ว่าในช่วงแรกจะสามารถดึงเงินสดคงเหลือในธุรกิจ หรือใช้การยืมเงินจากกรรมการหรือผู้ถือหุ้นมาเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตได้ในช่วงแรก แต่ในระยะยาวแล้วธุรกิจก็จะประสบปัญหาในที่สุด

และมักจะพบว่าธุรกิจที่ดำเนินการในลักษณะนี้ มีการใช้วงเงินกู้ระยะสั้น O/D เต็มจำนวน หรือที่เรียกว่า "ติดตัวแดง" อยู่ตลอดเวลา โดยไม่สามารถนำรายได้จากการขายสินค้ามาชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นดังกล่าวได้ เนื่องจากต้องนำรายได้ไปใช้ในการหมุนเวียนธุรกิจ หรือชำระคืนเงินจากกรรมการหรือผู้ถือหุ้นที่นำมาลงทุนในการผลิตสินค้า หรือในอีกกรณีหนึ่งในทางกลับกัน ธุรกิจได้นำเงินกู้ระยะยาวที่ใช้ในการลงทุนในส่วนอาคารเครื่องจักรและอุปกรณ์ ซึ่งอาจเหลือวงเงินในการลงทุนนำมาลงทุนระยะสั้น เช่น ค่าวัตถุดิบ หรือค่าใช้จ่ายในการผลิต ธุรกิจก็จะเกิดต้นทุนส่วนเกินขึ้น คือดอกเบี้ยจ่ายที่ธุรกิจต้องจ่ายออกไปในแต่ละรอบระยะเวลา เนื่องจากโดยปกติเงินกู้ระยะกลางหรือระยะยาว จะถูกคำนวณเพื่อหายอดชำระคืนเงินต้นและเงินกู้ที่มักจะเป็นรอบระยะเวลาที่สม่ำเสมอ ซึ่งโดยปกติคือต้องชำระคืนทุกเดือน ทำให้การชำระคืนอาจไม่มีความสัมพันธ์กับรอบระยะเวลาในการสร้างรายได้ของธุรกิจ และถ้าคำนวณถึงต้นทุนทางการเงินแล้ว ธุรกิจจะมีต้นทุนแพงกว่าอันมาจากส่วนเกินของดอกเบี้ยจ่ายในแต่ละงวดนั่นเอง

และสิ่งที่พบก็คือธุรกิจที่ดำเนินการในลักษณะนี้จะไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีของเงินกู้ระยะสั้น หรือใช้วงเงินกู้ระยะสั้นเช่น O/D เพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับวงเงินกู้ที่ทางธนาคารอนุมัติให้กับธุรกิจ

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจโดยทั่วไปมักจะอยู่ในด้านของ  การใช้เงินกู้ระยะสั้นในการลงทุนระยะยาว เพราะจะส่งผลให้เกิดปัญหา "การขาดเงินทุนหมุนเวียน" ซึ่งถือเป็นปัญหาพื้นฐานของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าใจในการบริหารจัดการทางการเงิน ส่วนการใช้เงินกู้ระยะยาวในการลงทุนระยะสั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรงเท่าการใช้เงินกู้ระยะสั้นในการลงทุนระยะยาว แต่จะส่งผลให้ธุรกิจมีต้นทุนสูงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีผลกำไรน้อยกว่าที่ธุรกิจควรจะได้รับ

แต่อย่างไรทั้งสองกรณีเป็นสิ่งที่ธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ควรหลีกเลี่ยงมิให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วกว่าที่จะติดต่อกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมให้เพียงพอกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการพิจารณาจากธนาคาร รวมถึงอาจต้องต้องมีการหาหลักประกันเพิ่มเพื่อค้ำประกันวงเงินสินเชื่อใหม่นี้ อีกทั้งก็ไม่แน่ว่าธุรกิจจะได้รับการอนุมัติเงินกู้จากทางธนาคาร เพราะการใช้เงินกู้ผิดประเภทของธุรกิจ ย่อมแสดงว่าธุรกิจขาดประสิทธิภาพในการวางแผนและการบริหารจัดการทางการเงิน อีกทั้งส่วนใหญ่แล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจนผู้ประกอบการจำเป็นต้องไปติดต่อกับธนาคารนั้น มักพบว่าธุรกิจประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก เช่น ขาดเงินสดในการผลิตสินค้า หรือดำเนินธุรกิจ

รวมถึงกรรมการหรือผู้ถือหุ้นไม่สามารถหาเงินมาลงในส่วนของเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจได้อีก โดยเมื่อธนาคารพิจารณาจากงบการเงินของธุรกิจ ก็มักจะพบรายการเงินกู้ยืมกรรมการในส่วนหนี้สิน จึงอาจพิจารณาว่าธุรกิจมีความเสี่ยงในการใช้เงินกู้ใหม่ เนื่องจากแทนที่จะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรือใช้ในการดำเนินธุรกิจจากปัญหาที่เกิดขึ้น ธุรกิจหรือตัวผู้ประกอบการจะนำเงินกู้ที่ได้รับ ไปชำระคืนกรรมการหรือผู้ถือหุ้นที่สำรองจ่ายให้กับธุรกิจก่อน โดยมิได้นำเงินไปใช้ในธุรกิจจริง ซึ่งที่มาของปัญหาดังกล่าวหรือสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ก็มาจากการที่ผู้ประกอบการไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เงินกู้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์นั่นเอง

ดังนั้นธุรกิจหรือตัวผู้ประกอบการควรจะต้องมีการวางแผนทางการเงินอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ หรือต้องมีการดำเนินการติดต่อกับธนาคารเพื่อขอวงเงินสินเชื่อ โดยถ้าต้องมีส่วนของเงินกู้ในการลงทุนจะต้องกำหนดและคาดคะเนส่วนของการลงทุนและวงเงินกู้ระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็น O/D หรือ P/N ก็ตาม พร้อมทั้งต้องประมาณการเกี่ยวกับกระแสเงินเข้า-ออก เพื่อกำหนดการใช้วงเงินกู้และการชำระคืนให้มีรอบระยะเวลาและวงเงินที่สัมพันธ์กัน และในส่วนของการลงทุนระยะกลางหรือระยะยาว ก็ควรเลือกใช้วงเงินกู้ระยะกลางหรือระยะยาวตามลักษณะการลงทุนนั้น พร้อมทั้งประมาณการและคำนวณเกี่ยวกับการชำระคืนเงินกู้ ในส่วนที่เป็นเงินต้นและดอกเบี้ยจ่ายซึ่งต้องชำระเป็นเงินสด ให้เพียงพอและเหมาะสมกับกระแสรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจ

และผู้ประกอบการจะต้องมีวินัยในการใช้เงินและการชำระคืนเงินกู้ให้ตรงตามเงื่อนไขของวงเงินกู้ ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว โดยอย่าใช้เงินกู้ผิดประเภทจากลักษณะวงเงิน เพราะจะเป็นสิ่งที่ยากต่อการดำเนินการแก้ไขถ้าเกิดปัญหาขึ้น

และสำหรับธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาอยู่จากการใช้เงินกู้ผิดประเภท ควรรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วนโดยการติดต่อกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อเจรจาขอปรับสัญญาหรือโครงสร้างเงินกู้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์และการใช้เงินกู้ในการลงทุน ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามและยากต่อการแก้ไขจากการใช้เงินกู้ผิดประเภท

บทความโดย : รัชกฤช คล่องพยาบาล ที่ปรึกษา ส่วนบริการปรึกษาการเงินและการร่วมลงทุน

          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

ที่มา : หนังสือพิมพ์บิซิเนสไทย (7-6-2007)




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน