บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ข้อสังเกตการยื่น แบบ ภ.ง.ด. 51
ข้อสังเกตการยื่น แบบ ภ.ง.ด.51
วันจันทร์ที่ 31 ส.ค. 2552 เป็นวันสุดท้ายของการยื่นแบบ แสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรก ปี 2552 (ภ.ง.ด.51) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ณ 31 ธ.ค. 2552 การยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ในปีนี้จะไม่มีการเลื่อนวันยื่นแบบออกไปเพราะวันสุดท้ายไม่ใช่วันหยุดราชการ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 มีข้อสังเกตดังนี้ เสียภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ หรือกำไรสุทธิ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการของบริษัท จะต้องรู้ว่าการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกของบริษัทเสียภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ หรือกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยเสียภาษีจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง ส่วนบริษัทอื่นๆ นอกเหนือจากนี้จะเสียภาษีเงินได้จากประมาณการกำไรสุทธิ โดยนำประมาณการกำไรสุทธิกึ่งหนึ่งมากรอกแบบเพื่อคำนวณภาษี วิธีหาประมาณการกำไรสุทธิกึ่งหนึ่ง บริษัทที่เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกจากประมาณการกำไรสุทธิ จะต้องประมาณการกำไรสุทธิทั้งรอบระยะเวลาบัญชีก่อนว่ามีประมาณเท่าใด แล้วจึงนำกำไรสุทธิกึ่งหนึ่งมากรอกและคำนวณภาษีในแบบ ภ.ง.ด.51 ไม่ใช่นำประมาณการกำไรสุทธิทั้งรอบระยะเวลาบัญชี ไปคำนวณภาษีแล้วนำภาษีกึ่งหนึ่งมากรอกในแบบ ภ.ง.ด.51 เพราะหากเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิ 1.5 แสนบาทแรก และเสียภาษีในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 30 กรณี กำไรสุทธิไม่เกิน 3 ล้านบาท วีดีโอ ตอน ครบเครื่องเรื่อง ภ.ง.ด.51 ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 มีโทษใด หากได้ประมาณการกำไรสุทธิกึ่งหนึ่งขาดไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามที่ กรมสรรพากรกำหนด บริษัทจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของ ภาษีที่คำนวณจากประมาณการกำไรสุทธิที่ได้ประมาณการขาดไป แต่เงินเพิ่มอาจเสียไม่เกินร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ชำระขาด ไปได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/ 2542 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี ทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับสิทธิประโยชน์โดยได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรสุทธิ 1.5 แสนบาทแรก และเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิที่เกินกว่า 1.5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิที่เกินกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และกำไรสุทธิที่เกินกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีอัตราร้อยละ 30 เช่นเดียวกับบริษัททั่วไป สำหรับบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาจจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ร้อยละ 25 หรือร้อยละ 30 ก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทได้รับสิทธิประโยชน์เสียภาษีในอัตราใด ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ บริษัทที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 หากได้ถูกผู้อื่นหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ สามารถนำภาษีที่ถูกหักไว้ในช่วง 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้ ข้อที่มักปฏิบัติผิดพลาดก็คือ นำภาษีที่ถูกหักไว้ในช่วง 6 เดือนหลังมาใช้ ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ภายในกำหนดเวลา มีโทษใด บริษัทที่ ไม่ได้ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลา จะได้รับโทษอาญาปรับไม่เกิน 2,000 บาท หากยื่นแบบภายใน 7 วันนับแต่พ้นกำหนดเวลา ค่าปรับจะเสียเพียง 1,000 บาท แต่ถ้าเกินกว่า 7 วัน ก็จะเสียค่าปรับ 2,000 บาท ส่วนโทษทางแพ่ง หากแบบ ภ.ง.ด. 51 นั้นมีภาษีต้องชำระ จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ต้องชำระด้วย แต่เงินเพิ่มอาจจะลดลงมาได้หากเข้าหลักเกณฑ์ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542 เช่นเดียวกัน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ควรนำข้อสังเกตที่กล่าวมาไปปรับใช้ในการยื่นแบบฯ หากกระทำผิดพลาดแล้ว ถ้าไม่เสียเงินก็เสียเวลาเป็นแน่ สวัสดีครับ
บทความโดย : สมชาย ชูเกตุ ที่มา : โพสต์ทูเดย์ วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |