ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ภาษีคณะบุคคล (3) ,(4) และ (5)

 

ภาษีคณะบุคคล (3)

 

  ในช่วงนี้ ในแวดวงภาษีสรรพากร หลายท่านที่ประกอบวิชาชีพอิสระ ซึ่งมีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เพื่อการกระจายเงินได้พึงประเมินออกจากการมีเงินเดือนค่าจ้าง อันเป็นรายได้ประจำกันเป็นอันมาก จึงเกิดปัญหาตามมาว่าการจัดตั้งขึ้นห้างฯ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลดังกล่าวกระทำได้หรือไม่เพียงใด ดังตัวอย่างแนววินิจฉัยของกรมสรรพากร ต่อไปนี้ครับ
   
นาย ว. ได้จัดตั้งคณะบุคคลชื่อ “คณะบุคคลโดยนาย ว. หรือ ด.ช. จ.” และได้ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ประกอบกิจการรับทำบัญชี คณะบุคคลฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90
   
สำหรับปีภาษี 2547 ขอคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร แจ้งว่า คณะบุคคลฯ ไม่สามารถรับทำบัญชีได้ และให้นำเงินได้จากการรับทำบัญชีดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้ประเภทเงินเดือนของนาย ว. นาย ว. จึงขอความเป็นธรรมในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าว 

   
โดยให้เหตุผลว่า กฎหมายมิได้กำหนดว่าผู้ร่วมในคณะบุคคลต้องมีความรู้ความสามารถในด้านเดียวกันหรือเท่าเทียมกัน แม้ ด.ช. จ. จะมีอายุย่างเข้า 12 ขวบ และเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 6 แต่ก็มีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี โดยลักษณะงานที่ได้มอบหมายให้ ด.ช. จ. ช่วยปฏิบัติสนับสนุนการดำเนินกิจการของคณะบุคคลฯ ได้แก่ จัด เตรียมและพิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า และเป็นผู้ลงนามในฐานะเป็นผู้รับเงินของสำนักงานบัญชี ค้นหาและสั่งพิมพ์ประกาศ และคำสั่งของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากรที่ได้แจ้งทางอินเทอร์เน็ต นำเอกสารของลูกค้าไปถ่ายเอกสาร และทำหน้าที่รับและส่งอีเมล จัดเก็บเอกสารเข้าแฟ้มและอื่น ๆ เป็นต้น
   
เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว กรมสรรพากรมีแนววินิจฉัยว่า 
   
1. การประกอบกิจการร่วมกันในฐานะของคณะบุคคลตามประมวลรัษฎากรจะต้องเป็นกรณีที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน โดยในการประกอบกิจการในฐานะคณะบุคคลนั้นจะต้องร่วมกันประกอบกิจการตามความเป็นจริงและร่วมกันรับผิดชอบในกิจการของคณะบุคคลนั้น และเงินได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการจะต้องเป็นของคณะบุคคลด้วย
   
2. คณะบุคคลมีสิทธิประกอบกิจการใดก็ได้ เว้นแต่โดยสภาพของหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำนั้นคณะบุคคลไม่อาจกระทำได้ เช่น การรับจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นต้น
   
และในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของคณะบุคคลนั้นตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
   
ทั้งนี้ ตามนัยหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0706/5637 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2548

----------------------------------------------------------------

ภาษีคณะบุคคล (4)

ถึงคราวที่มีคำถามไปที่กรมสรรพากรว่า คณะบุคคลแพทย์จัดตั้งได้หรือไม่เพียงใด กรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบข้อหารือที่ กค 0811/2227 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2545  ดังนี้
   
คณะบุคคลยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 ราย คณะที่ 1 คณะบุคคลนายแพทย์ ส. และคณะ จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรมประกอบด้วย นายแพทย์ ส. และนายแพทย์ บ. โดยนายแพทย์ ส. เป็นผู้จัดการ และคณะที่ 2 คณะบุคคลนายแพทย์ บ. และคณะ จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรมประกอบด้วย นายแพทย์ ส. และนายแพทย์ บ. เพื่อประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยนายแพทย์ บ.เป็นผู้จัดการ มีปัญหาว่าคณะบุคคลทั้งสองเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่
   
เกี่ยวกับเรื่องนี้กรมสรรพากรได้มีแนววินิจฉัยว่า
   
คณะบุคคลเป็นหน่วยภาษีที่ถูกกำหนดขึ้นตามประมวลรัษฎากร เพื่อให้ครอบคลุมการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำกิจการร่วมกัน คณะบุคคลมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นที่ได้จากการประกอบกิจการร่วมกัน ตามนัยมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบุคคลในคณะบุคคลทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงโดยไม่มีจำกัด
   
กรณีตามข้อเท็จจริงนายแพทย์ ส. และนายแพทย์ บ. มีเงินได้จากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมร่วมกัน จึงเข้าลักษณะเป็นคณะบุคคล แม้จะมีการจัดตั้งคณะบุคคลโดยแบ่งออกเป็น 2 คณะ แต่ทั้ง 2 คณะประกอบด้วยบุคคลในคณะบุคคลที่เป็นบุคคลเดียวกัน คือ นายแพทย์ ส. และนายแพทย์ บ. จึงต้องถือว่าเป็นคณะบุคคลเดียวกัน ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของคณะบุคคล ดังกล่าว จึงต้องนำเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นที่ได้รับจากการเป็นคณะบุคคลมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 


ก็เป็นอันว่า การสลับชื่อบุคคลในคณะบุคคลที่มีคณะบุคคลเป็นกลุ่มคนเดียวกันนั้น ไม่อาจทำให้เป็นคณะบุคคลใหม่แต่อย่างใด เป็นผลให้ต้องนำเงินได้มารวมกันเป็นคณะบุคคลเดียว ซึ่งอาจทำให้ได้คืนภาษีน้อยลงหรืออาจต้องจ่ายเพิ่มขึ้น เพราะอัตราภาษีก้าวหน้าตามฐานภาษีที่สูงขึ้นเพราะเหตุที่นำเงินได้มาคำนวณรวมกัน
   
ปัญหาเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้ ของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มุมภาษีนำมาเล่าสู่กันฟังนี้ เป็นมุมมองในอดีตของกรมสรรพากรที่ไม่ได้มีการแยกให้ชัดเจนว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแตกต่างกันอย่างไร อาจเป็นเพราะผลสุดท้ายของ การเสียภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลเหมือนกันทุกประการและประมวลรัษฎากรก็มิได้มีการแยกแยะให้ชัดแจ้งแต่อย่างใด เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ที่จะมีการทบทวนกันใหม่หมดทั้งระบบครับ

----------------------------------------------------------------

ภาษีคณะบุคคล (5)

แต่เดิมการจัดเก็บภาษีเงินได้จากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดคำนิยามคำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล” ไว้เป็นการเฉพาะแต่อย่างไร
   
หากแต่กล่าวรวม ๆ กันไว้ในหลายบทบัญญัติอาทิ มาตรา 42 (14)-การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
   
หรือมาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งกำหนด หน้าที่ในการยื่นรายการและเสียเงินได้บุคคลธรรมดาในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่ติบุคคลเสมือนเป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก
   
โดยให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการหรือผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
   
กรณีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล การจัดตั้งจึงกระทำได้โดยสัญญา ตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
   
กรณีคณะบุคคลอันประกอบด้วยนาย ก. นาง ข. นาย ค. และนาง ง. ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ทำการซื้อขายที่ดิน ถือเป็นการแสดงเจตนาตกลงเข้ากันเพื่อซื้อที่ดินมาเพื่อขาย แม้จะได้มีการซื้อที่ดินบางแปลงโดยมีการระบุชื่อบุคคลในคณะบุคคลเพียงสามคน และต่อมาได้ขายไป โดยได้นำเงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวทั้งหมดไปรวมคำนวณยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ในนามของคณะบุคคลที่มีชื่อทั้งสี่คน
   
กรณีกรมสรรพากรได้มีแนววินิจฉัยตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/04248 ลงวันที่ 8 เมษายน 2541ว่า บุคคลทั้งสี่มีเจตนาในการจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ในการเสียภาษีจึงต้องเสียภาษีในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลทั้งสี่คนนั้น 
   
และสำหรับกรณีการเสียภาษีเงินได้จากการขายที่ดินนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขาย  จะได้ระบุชื่อบุคคลเพียงสามคนคือ นาย ก. นาง ข. และนาย ค. โดยบุคคลทั้งสามได้ นำเงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ในนามของคณะบุคคลทั้งสี่คนแล้วก็ถือได้ว่าเมื่อบุคคลทั้งสี่คนมีเจตนาในการตกลงเข้ากันเพื่อการซื้อขายที่ดินดังกล่าว
   
และแม้ตามสัญญาซื้อขายจะได้ระบุชื่อบุคคลเพียงสามคน บุคคลที่สี่จึงถือเป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ ตามมาตรา 806 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
   
ดังนั้นการเสียภาษีเงินได้สำหรับการขายที่ดินดังกล่าวในนามของคณะบุคคลทั้งสี่คน จึงชอบด้วยมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว  
   

   ภาษีคณะบุคคล (1)และ(2)

 คณะบุคคล...อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม

   การแตกหน่วยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล

 

โดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์  ที่มา : นสพ.เดลินิวส์ วันที่ 29/6/52 ,6/7/52 และ 13/7/52




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี