ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ฎีกาภาษี ความหมายของการมีเงินได้(บุคคลธรรมดา) เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย

 

ฎีกาภาษี

ความหมายของการมีเงินได้(บุคคลธรรมดา) เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย

 

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2549

กรมสรรพากร โจทก์

นาย ป. จำเลย

ข้อเท็จจริง

บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ได้รับงานถมทะเลเพื่อทำเป็นผืนแผ่นดินและรับจ้างทำถนนให้แก่กรมทางของประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จำเลยเป็นลูกจ้างบริษัท ดังกล่าวทำงานในตำแหน่งผู้จัดการประจำสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน จำเลยอยู่ในประเทศไทยในแต่ละปีภาษีไม่ถึง 180 วัน

จำเลยยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษี (ค.10) สำหรับปีภาษี 2540 ถึง 2542 ขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 691,600 บาท 598,570 บาท และ 598,530 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงินที่ขอคืนทั้งสิ้น 1,855,700 บาท และได้รับเงินไปจากสำนักงานสรรพากรอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544

ต่อมาโจทก์เห็นว่าเป็นการคืนโดยหลงผิด เนื่องจากจำเลยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะมีเงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ได้แจ้งให้จำเลย นำเงินภาษีที่ได้รับคืนส่งคืนโจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางขอให้บังคับจำเลยคืนเงินภาษีจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) แต่จำเลยไม่มีหน้าที่การงานใดๆ ในประเทศไทย เพราะบริษัทดังกล่าวได้ร่วมทุนกับชาวฟิลิปปินส์และจดทะเบียนตั้งบริษัทขึ้น ณ ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นนิติบุคคลในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และได้ประมูลรับงานถมทะเลจากรัฐบาล บริษัทดังกล่าวได้ส่งจำเลยไปทำงานในบริษัทที่ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ตั้งแต่เดือนกันยายน 2538 เป็นต้นมา และในปี 2540, 2541 และ 2542 จำเลยทำงานอยู่ที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์มากกว่า 180 วัน ทำให้จำเลยต้องเสียภาษีเงินได้ให้ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในขณะเดียวกันบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อป-เมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้หักเงินได้ของจำเลยเพื่อนำส่งให้กรมสรรพากรโจทก์ที่ประเทศไทยด้วย จึงทำให้จำเลยต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนจากเงินได้จำนวนเดียวกัน และประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์มีข้อตกลงเป็นอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ไว้ด้วย นอกจากนี้จำเลยได้รับค่าจ้างเป็นเงินได้เนื่องจากกิจการนอกประเทศของนายจ้าง แม้บริษัทผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินเดือนในประเทศไทย แต่จำเลยก็อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้นๆ รวมกันแล้วไม่ถึง 180 วัน จำเลยจึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม และมีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีที่นายจ้างได้หักและนำส่งต่อกรมสรรพากรไว้ตามที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) ขอให้ยกฟ้อง

ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยชำระค่าภาษีพร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 2,011,144 บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 1,885,700 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 4,000 บาท

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

คำวินิจฉัยศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 2034/132 ถึง 161 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย จำเลยทำงานในตำแหน่งผู้จัดการประจำสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน โดยนายจ้างได้รับงานถมทะเลเพื่อทำเป็นผืนแผ่นดินและรับจ้างทำถนนให้แก่กรมทางของประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จำเลยอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วันในแต่ละปีภาษี

พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยเพียงประการเดียวว่าจำเลยต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่โจทก์ หรือไม่ โดยจำเลยอุทธรณ์ว่า บริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) นายจ้างของจำเลยได้รับงานถมทะเลและทำถนนให้แก่รัฐบาลของประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และส่งจำเลยไปทำงานที่ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในตำแหน่งผู้จัดการประจำสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี 2538 ค่าจ้างที่จำเลยได้รับจากบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) จึงเป็นเงินได้เนื่องจากกิจการนอกประเทศของนายจ้าง แม้บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) จะจ่ายเงินเดือนให้แก่จำเลยในประเทศไทย แต่จำเลยทำงานอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ถึง 310 วัน ปีหนึ่งจะกลับประเทศไทยเพียงครั้งละ 5 วัน ซึ่งจำเลยอยู่ในประเทศไทยรวมแล้วปีหนึ่งไม่ถึง 180 วัน จึงไม่ต้องเสียภาษีให้แก่โจทก์ในประเทศไทยนั้น

เห็นว่า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเนื่อง จากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทยหรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ" ซึ่งเงินได้เนื่องจากกิจการของจ้างในประเทศไทยตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า เงินได้ของผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นลูกจ้างของนายจ้างที่ประกอบกิจการในประเทศไทย และนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานนั้น ทั้งนี้ไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะทำงานในประเทศหรือนอกประเทศ และไม่ว่านายจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในประเทศหรือนอกประเทศก็ถือว่าลูกจ้างนั้นมีแหล่งเงินได้ในประเทศ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย คดีนี้จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่ง เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างทั้งภายในและนอกประเทศไทย การที่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ส่งจำเลยไปทำงานที่นายจ้างรับงานถมทะเล เพื่อทำเป็นผืนแผ่นดินและทำถนนให้แก่กรม ทางของประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นงานในกิจการของนายจ้างในประเทศไทย ค่าจ้างที่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) จ่ายให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ที่จำเลยได้รับเนื่องจากปฎิบัติงานให้แก่กิจการของนายจ้างในประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคหนึ่ง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

 

พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 2,000 บาทแทนโจทก์

ข้อคิดเห็น

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นใช้หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) และหลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule) ในการเก็บภาษี โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร

ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวล-รัษฎากรซึ่งเป็นหลักแหล่งเงินได้นั้น ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

คำว่า "กิจการของนายจ้างในประเทศไทย" ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่งนั้น คำว่า "ในประเทศไทย" ขยายคำใด? ขยายคำว่า "กิจการ" หรือขยายคำว่า "นายจ้าง" ถ้าขยายคำว่า "กิจการ" ก็เป็นกิจการในประเทศไทย หากเป็นกิจการในต่างประเทศ เงินได้ที่ได้รับก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าขยายคำว่า "นายจ้าง" เป็นนายจ้างในประเทศไทย เราก็ต้องตีความว่า ไม่ว่าเงินได้นั้นจะเกิดจากกิจการในประเทศหรือในต่างประเทศก็ต้องเสียภาษี ตามแนวทางการตีความเดิมของกรมสรรพากร หากเป็นกรณีที่บริษัทส่งลูกจ้างไปทำงานที่สาขาในต่างประเทศ เงินเดือนที่ลูกจ้างได้รับไม่ว่าจะจ่ายจากในประเทศหรือนอกประเทศไทยไม่ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย เพราะสาขาถือเป็นกิจการนอกประเทศของบริษัทนายจ้าง (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0805/18056 ลงวันที่ 4 กันยายน 2522 และหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/9314 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2522) นั่นก็คือกรมสรรพากรเห็นว่าคำว่า "ประเทศไทย" ขยายคำว่า "กิจการ" จะต้องเป็นการทำงานให้แก่กิจการในประเทศไทยของนายจ้างเท่านั้นจึงจะต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย หากเป็นการทำงานให้แก่กิจการนอกประเทศของนายจ้าง เช่น สาขาของนายจ้างในต่างประเทศ แล้วไม่ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย นั่นคือแนวทางการตีความของกรมสรรพากรในอดีต

แต่ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน กรมสรรพากรให้พิจารณาว่า นายจ้างในประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินได้หรือไม่? หากนายจ้างในประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินได้แล้ว เงินได้ที่ลูกจ้างหรือผู้รับจ้างได้รับถือเป็นเงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย แต่ถ้านายจ้างในประเทศไทยไม่ได้เป็นผู้จ่ายเงินได้ สาขาในต่างประเทศเป็นผู้จ่ายเงินได้ กรมสรรพากรจะถือว่ามีเงินได้เนื่องจากกิจการนอกประเทศของนายจ้าง จึงไม่ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย ฉะนั้น ปัจจุบันกรมสรรพากรให้พิจารณาสถานที่จ่ายเงินเป็นสำคัญ ดังนั้น หากส่งลูกจ้างไปทำงานสาขาในต่างประเทศ เช่น พนักงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ถูกส่งจากสำนักงานใหญ่ในประเทศไทยไปประจำสาขาต่างๆ ในต่างประเทศ หากสำนักงานใหญ่ในประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินเดือน เงินเดือนที่ได้รับต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย เพราะถือว่ามี เงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย แต่ถ้าสาขาที่ส่งลูกจ้างไปประจำอยู่นั้นเป็น ผู้จ่ายเงินเดือน เงินเดือนที่ได้รับไม่ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค.0811/11332 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2541, กค 0811/03366 ลงวันที่ 16 เมษายน 2542, กค.0811/2215 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2544, กค 0811/2538 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2545, กค 0811 (กม.07)/602 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2545, กค 0811 (กม.02)/838 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2545 และ กค 0811/ก.1171)

ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2549 ที่หมายเหตุอยู่นี้แสดงว่าศาลฎีกาเห็นว่าคำว่า "ในประเทศไทย" ขยายคำว่า "นายจ้าง" ฉะนั้น งานที่ลูกจ้างทำให้แก่นายจ้างจะเป็นงานในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ได้ หากนายจ้างนั้นเป็นนายจ้างที่ประกอบกิจการในประเทศไทยแล้ว เงินได้ที่ลูกจ้างได้รับต้องถือเป็นเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากเงินได้ที่ได้รับนั้นตามหลักแหล่งเงินได้ในมาตรา 41 วรรคหนึ่ง

ขอให้สังเกตว่า ศาลฎีกามิได้คำนึงถึง สถานที่จ่ายเงินเหมือนกรมสรรพากร ศาลฎีกากลับเห็นว่าไม่ว่านายจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ถือว่าลูกจ้างนั้นมีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย ฉะนั้น ศาลฎีกาจึงตีความการมีเงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทยกว้างกว่ากรมสรรพากร กล่าวคือ หากลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นงานในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทย ศาลฎีกาเห็นว่า ลูกจ้างนั้นมีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย โดยไม่คำนึงว่านายจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทย แต่กรมสรรพากรเห็นว่าต้องเป็นกรณีที่จ่าย ค่าจ้างในประเทศไทยจึงจะถือว่ามีแหล่งเงินได้ ในประเทศไทย ความเห็นของกรมสรรพากรจึงเป็นคุณกว่า

โดย : ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม และ ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม   ที่มา : สรรพากรสาส์น




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี