บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

วิธีการหา ตัวช่วย สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
วิธีการหา ตัวช่วย สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่ไม่สามารถปรับตัวรับกับสถานการณ์ดังกล่าวเดินเข้าสู่ปัญหาทางการเงิน ซึ่งบางรายอาจจะยังไม่ถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล แต่บางรายอาจถลำลึกไปจนถึงการถูกฟ้องร้องแล้วก็ได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำทางธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการหนี้สิน เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางกระแสคลื่นลมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาหนี้สิน ธุรกิจบางรายโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคงไม่สามารถดำเนินการได้เอง จำเป็นที่ธุรกิจจะต้องหา ตัวช่วย ในการดำเนินการดังกล่าว โดยมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ ก่อนที่จะไปหา ตัวช่วย จากภายนอก ธุรกิจควรที่จะ ช่วยตัวเอง เสียก่อน โดยต้องประเมินจำนวนหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้น รู้ความสามารถของตนที่จะสามารถจ่ายคืนให้กับเจ้าหนี้ได้ในแต่ละเดือน เข้าไปพบพูดคุยกับเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อต่อรอง และให้ความสำคัญกับหนี้บางอย่างที่จำเป็นก่อน (เช่น ค่าเช่า และค่าสาธารณูปการ เป็นต้น) นอกจากนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงไว้เสมอก่อนที่จะไปหาผู้รู้เพื่อให้คำแนะนำ หรือหาเจ้าหนี้เพื่อต่อรอง คือ - การกู้เงินเพิ่มขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้น นั่นหมายถึงภาระการจ่ายดอกเบี้ยจะต้องเพิ่มขึ้นด้วยอย่างแน่นอน - หลีกเลี่ยงเงินกู้ประเภทความเสี่ยงสูง (Loan sharks) ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของเงินเชื่อเพื่อการบริโภค (Consumer credit) ที่มักจะเรียกอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าทั่วไปมาก และมักจะถูกข่มขู่ได้ง่ายในกรณีผิดนัดชำระหนี้ - ตรวจสอบความน่าเชื่อถือขององค์กรก่อนที่จะติดต่อไป และสำรวจดูว่าคำแนะนำประเภทไหนบ้างที่จะสามารถปรึกษาได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรือทางโทรศัพท์ - หาข้อมูลให้ได้มากที่สุด เพราะบางครั้งอาจได้รับคำแนะนำฟรี หรือไม่ก็ในราคาที่สมเหตุสมผล
พนักงานบัญชีและนักกฎหมายมักจะเป็นผู้ที่สามารถให้คำแนะนำทางด้านการเงินที่ดีได้ โดยเฉพาะกับงานที่เขาเหล่านั้นได้ทำให้กับธุรกิจ ซึ่งถ้าธุรกิจไม่มีคนเหล่านี้ ธุรกิจอาจจะต้องจ้างบุคคลที่เหมาะสมสำหรับมาทำงานตรงนี้สักคนหนึ่ง หรือขอคำปรึกษากับผู้ที่มีประสบการณ์และความรู้ตรงกับปัญหาที่ธุรกิจกำลังประสบอยู่ โดยจะสามารถหาบุคคลเหล่านี้ได้ดีที่สุดจากการแนะนำของเพื่อน เพื่อนร่วมงาน หุ้นส่วนทางธุรกิจ ธนาคารที่ติดต่อ หรือองค์กรต่างๆ ที่มักจะไม่แนะนำเป็นตัวบุคคล แต่จะให้ข้อมูลในรูปของบัญชีรายชื่อแทน สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำแก่ลูกค้า แต่พึงจดจำไว้ว่าสถาบันการเงินมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ซึ่งต้องปกป้องตัวเองด้วย ผลประโยชน์หรือความสนใจอาจไม่ใช่สิ่งเดียวกับที่ธุรกิจต้องการก็ได้ ก่อนที่จะนัดหมายกับสถาบันการเงิน ธุรกิจควรรวบรวมข้อมูล และข้อเท็จจริง ตลอดจนปัญหาที่ชัดเจนพร้อมอยู่ในมือแล้ว สถาบันการเงินส่วนใหญ่มีแผนกเฉพาะสำหรับการเจรจาต่อรองกับลูกค้าที่มีปัญหาทางการเงิน ปัญหาที่แตกต่างกันย่อมต้องการการแก้ไขที่แตกต่างกันไป บางครั้งการสนทนาทางโทรศัพท์ด้วยระยะเวลาสั้นๆ นับได้ว่าเพียงพอ แต่บางสถานการณ์จำเป็นที่จะต้องมีการประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน สถาบันการเงินมักจะให้ความสนใจต่อสถานะทางบัญชีของธุรกิจและระดับของการกู้ยืมเงินเป็นลำดับแรก เมื่อไรก็ตามที่สิ่งเหล่านี้ได้มีการทบทวนเรียบร้อยแล้ว สถาบันการเงินถึงจะเริ่มต้นพูดคุยกับธุรกิจในการวางแผนร่วมกัน นั่นหมายถึง การกำหนดเพดานเงินกู้ และรูปแบบการชำระเงิน ซึ่งอาจมีการทบทวนกันอีกรอบ เพื่อให้แผนที่ร่วมกันวางไว้สามารถตอบสนองต่อความเป็นไปได้ของธุรกิจในการจัดการหนี้สินตามข้อตกลงใหม่โดยไม่มีปัญหาต่อไปในอนาคตได้อีก สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะให้บทสรุปของข้อเสนอแนะที่แตกต่างกันไปในแต่ละกรณี อาทิ การทำแฟคเตอริ่งในหนี้สิน (Debt factoring) การใช้เครื่องมือที่มีอยู่ของหน่วยงานภาครัฐ หรือการแนะนำไปยังที่ปรึกษาเฉพาะด้านที่เหมาะสม ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นผู้ที่ทำงานให้คำปรึกษากับบุคคลทั่วไปที่มีปัญหาเรื่องหนี้สิน แต่มีบางรายที่ให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจด้วยเหมือนกัน ผู้ให้คำปรึกษาดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งที่ทำแบบการกุศล ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ในต่างประเทศจะมีอยู่แพร่หลาย แต่ในประเทศไทยดูเหมือนจะมีแต่เฉพาะหน่วยงานของรัฐและกึ่งรัฐเท่านั้น นอกนั้น จะเป็นการให้คำปรึกษาจากองค์กรที่คิดค่าบริการ ซึ่งมีอยู่มากมาย และแตกต่างกันไปตามชื่อเสียงและรูปแบบการให้บริการ สิ่งที่พึงระวังในกรณีนี้ก็คือ ผู้ให้คำปรึกษาจากองค์กรที่คิดค่าบริการบางแห่งอาจให้คำมั่นสัญญาว่าจะต่อรองหนี้สินจนกระทั่งธุรกิจสามารถพอที่จะชำระคืนเป็นรายเดือนได้ในที่สุด ซึ่งบางครั้งละเลยประเด็นในเรื่องของระยะเวลาการชำระเงินที่อาจต้องใช้ระยะเวลานาน และอาจต้องรับภาระดอกเบี้ยในอัตราสูงขึ้นด้วยได้ เจ้าหนี้และลูกหนี้จะมีการทำข้อตกลงร่วมกันอย่างสมัครใจภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว โดยจะกำหนดรูปแบบและวิธีการชำระหนี้ที่เจ้าหนี้จะได้รับจากลูกหนี้ในแต่ละเดือน ภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้แน่นอน หรือในกรณีที่ทรัพย์สินอย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์สามารถนำมาจำหน่ายได้ ข้อตกลงดังกล่าวอาจระบุไว้ว่าเงินที่ขายทรัพย์สินได้นั้น จะนำมาชำระหนี้เป็นเงินก้อนทันที วิธีการนี้เป็นทางออกหนึ่งของการที่ธุรกิจจะไม่ต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลาย และเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ อาทิ ช่วยประหยัดต้นทุนบางส่วนจากการที่ต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลาย เจ้าหนี้เองก็จะสามารถได้รับมูลค่าหนี้สินคืนมามากกว่าที่เป็นอยู่ตามกระบวนการล้มละลายโดยทั่วไป สำหรับลูกหนี้ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการมีมลทินติดตัวและข้อจำกัดต่างๆ ของการตกอยู่ในภาวะล้มละลายเช่นกัน โดยทั่วไป การทำ IVA มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 1. ลูกหนี้คัดเลือกตัวแทนในการจัดการหนี้สินขึ้น และจะต้องมีการจัดทำข้อเสนอ (Proposal) ที่เน้นการแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะได้รับจากการจัดการหนี้สินตามข้อเสนอนี้ โดยแสดงรายละเอียดของทุน และทรัพย์สินที่ธุรกิจคาดว่าจะสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้ 2. ถ้าการดำเนินการทางกฎหมายกำลังจะเกิดขึ้น ลูกหนี้สามารถยื่นเรื่องต่อศาลสำหรับการหยุดยั้งเจ้าหนี้จากการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายที่จะมีต่อการชำระหนี้ของลูกหนี้ได้ ซึ่งถ้าศาลยินยอมออกคำสั่งดังกล่าว เจ้าหนี้จะไม่สามารถยื่นฟ้องร้องให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ 3. เจ้าหนี้ทั้งหลายจะถูกเรียกให้มาประชุมร่วมกัน เพื่อตัดสินใจว่าจะยอมรับหรือปฎิเสธในข้อเสนอดังกล่าว ถ้าข้อเสนอได้รับความเห็นชอบแล้ว จะเป็นการผูกมัดให้เจ้าหนี้ที่เข้าร่วมประชุมเหล่านั้นต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว 4. ถ้าที่ประชุมมีมติยอมรับในข้อเสนอดังกล่าว ตัวแทนของลูกหนี้ที่ได้แต่งตั้งไว้จะมีอำนาจในการเข้ามาดูแลทรัพย์สินทั้งหมดให้เป็นไปตามรายละเอียดและเงื่อนไขข้อตกลงต่างๆ ที่ปรากฎไว้ในข้อเสนอ 5. ข้อเสนอใดก็ตามถ้าปราศจากการยินยอมแล้ว ไม่สามารถลดสิทธิอันชอบธรรมของเจ้าหนี้ที่มีสิทธิพิเศษหรืออยู่ภายใต้การคุ้มครองต่อหนี้สินของลูกหนี้ได้ ในกรณีที่สถานะทางการเงินของธุรกิจอ่อนแอลง มีความเป็นไปได้ที่ธุรกิจในฐานะลูกหนี้จะได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ นั่นหมายถึงธุรกิจอาจยื่นเงื่อนไขต่อรองโดยตัวเองหรืออาจหาคนมาช่วยทำให้ ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้สามารถทำได้ในกรณีต่างๆ ดังนี้ 1. การรวมหนี้สินจากหลายๆ แหล่งมาไว้เป็นที่เดียวกัน แล้วกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้รายเดือนเสียใหม่ 2. ขอยกเลิกดอกเบี้ยค้างจ่ายทั้งหมดหรือบางส่วน 3. ยื่นข้อเสนอหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้มากขึ้น 4. ให้คำมั่นสัญญากับเจ้าหนี้ที่ตกลงยินยอมให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ ในการปรับโครงสร้างหนี้นั้น ถึงแม้เจ้าหนี้ทั้งหลายอาจจะรู้สึกสบายใจน้อยกว่าลูกหนี้ แต่อย่างน้อยความรู้สึกที่ได้รับของเจ้าหนี้คือ การมองเห็นถึงความพยายามของลูกหนี้ที่จะแก้ไขปัญหาหนี้สินคงค้าง นอกจากนั้น การเข้าถึงเจ้าหนี้ก็ต้องมีเทคนิคและวิธีการที่ทำให้เจ้าหนี้ประทับใจและยอมรับ อาทิ 1. ให้มองการปรับโครงสร้างหนี้จากมุมมองของเจ้าหนี้และแสดงให้เขาเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการตกลงยินยอมให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ ตามความเป็นจริงแล้ว คำมั่นสัญญาของธุรกิจที่จะปรับตัวเองให้ดีขึ้นในอนาคต หรือท่าทีของการหลีกเลี่ยงที่จะสร้างหนี้เสียให้เกิดขึ้นน่าจะเพียงพอ 2. ข้อเสนอควรมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี 3. ข้อเสนอต้องเป็นไปได้ในทางปฎิบัติ เนื่องจาก เจ้าหนี้ต้องเชื่อว่าสิ่งนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะ เป็นไปได้ยากที่จะหวนกลับและร้องขอสำหรับการประนอมหนี้กันอีกต่อไปในอนาคต
ที่มา : http://cms.sme.go.th และ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |