ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ภ.ง.ด. 50 ปีนี้มีอะไรใหม่ (1)

 

ภ.ง.ด.50 ปีนี้มีอะไรใหม่(1)

 

  เมื่อถึงกำหนดเวลาสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี สิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร คือการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งในการคำนวณกำไรสุทธินั้นจำเป็นต้องรู้ถึงหลักเกณฑ์ ในการคำนวณกำไรสุทธิต่างๆ ที่กำหนดในประมวลรัษฎากร นอกเหนือไปจากหลักเกณฑ์ ดังกล่าวแล้ว สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องที่ให้ประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยไป เพราะหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดสามารถใช้สิทธิประโยชน์ได้อย่างเต็มที่แล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่าสามารถทำให้กิจการประหยัดภาษีไปได้เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว ซึ่งในแต่ละปีที่ผ่านมา กรมสรรพากรก็ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ทันต่อสภาพการณ์ในขณะนั้นมาโดยตลอด

  ในโอกาสนี้ ขอนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จำเป็นในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ ที่มีการตราขึ้นมาใหม่ล่าสุด เพื่อ update ข้อมูลในการ นำไปใช้ประกอบการกรอกแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) สำหรับกิจการที่มีรอบระยะเวลาบัญชี 2549 ซึ่งจะต้องยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.50 ภายในเดือนพฤษภาคม 2550 นี้

สิทธิประโยชน์ด้านรายได้

1. พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 441) พ.ศ. 2548 

     เป็นกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ สำหรับเงินได้จากการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่ ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรม-สรรพากรประกาศกำหนด ในกรณีนี้ อธิบดีกรมสรรพากรได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 152) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจไว้ว่า
   (1) ต้องเป็นเงินได้จากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
   (2) ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดเกี่ยวกับนโยบายในการจัดสรรกระแสรายรับที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงค่าใช้จ่าย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการตลอดอายุโครงการตามที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
   (3) ต้องไม่มีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลเฉพาะกิจ จนกว่านิติบุคคลเฉพาะกิจได้โอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือทั้งหมดกลับคืนให้ผู้เสนอโครงการและ สถานะนิติบุคคลเฉพาะกิจสิ้นสุดลง

นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังได้มีการวางแนวทางเพื่อให้เจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 134/2549 ให้การโอน ทรัพย์สินที่ผู้โอนซึ่งเป็นผู้เสนอโครงการจะต้องโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้รับโอนซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่ ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้โอนและผู้รับโอนต้องดำเนินการโอนและรับโอนทรัพย์สินในราคาไม่ต่ำกว่าราคาตามมูลค่าที่ปรากฏในบัญชี (Book Value) ณ วันที่โอนนั้น เป็นการโอนทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย

2.พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 452) พ.ศ. 2549 

     เป็นกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด ด้วยเหตุผลว่ารัฐบาลไทย รัฐบาลมาเลเซีย และรัฐบาลอินโดนีเซีย ได้จัดตั้งบริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่ในการซื้อ ขาย บริหารยางพารา และรักษาเสถียรภาพระดับราคายางพาราทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งทั้ง 3 ประเทศได้กำหนดให้ประเทศผู้ร่วมลงทุนยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด จึงได้มีการตราพระราช-กฤษฎีกาเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ฉบับนี้

3.พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 453) พ.ศ. 2549

     เป็นกรณีการยกเว้นภาษีให้แก่ผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน สำหรับผลประโยชน์ที่ได้จากการที่สถาบันการเงินควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน  รวมทั้งยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่สถาบันการเงิน สำหรับเงินได้พึงประเมิน รายรับ หรือการกระทำตราสารที่เกิดขึ้นหรือเนื่องมาจากการที่สถาบันการเงินควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่สถาบันการเงิน สำหรับมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทำตราสารที่เกิดขึ้นหรือเนื่องมาจาก การที่สถาบันการเงินโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ เฉพาะการควบเข้ากันหรือการโอนกิจการที่ได้กระทำระหว่างวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 

     ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการที่สถาบันการเงินควบเข้ากันหรือโอนกิจการให้แก่กันตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เนื่องมาจากกระทรวงการคลังและธนาคารแห่ง-ประเทศไทยได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมบริการทางการเงินที่จำเป็นให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และเพื่อช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงิน ทำให้สถาบันการเงินต้องควบเข้ากันหรือโอนกิจการให้แก่กันซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

สิทธิประโยชน์ด้านรายจ่าย

1.พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548

     เป็นกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 2 กรณี คือ การให้การศึกษาหรือการฝึกอบรมแก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น และการดำเนินการจัดการฝึกอบรม ดังนี้

    (1) กรณีการให้การศึกษาหรือการฝึกอบรม

         (1.1) ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการส่ง ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นหรือที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจา-นุเบกษา กรณีการจัดการฝึกอบรมตาม (1.1) นี้เป็นกรณีการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถานศึกษาหรือสถาน ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 2 กรณี คือสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ทางราชการจัดตั้งขึ้น ประการหนึ่ง และสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดอีกประการหนึ่ง ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดสถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม ตามประกาศกระทรวงการคลังลง วันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 สรุปได้ดังนี้
  (ก) สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่จะให้บริการการศึกษาหรือฝึกอบรมต้องเป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานเฉพาะที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ
  (ข) ต้องเป็นการศึกษาหรือฝึกอบรมในประเทศไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพ ความรู้ความสามารถ ทักษะ ฝีมือของลูกจ้างให้สูงขึ้น เพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้าง
  (ค) หลักสูตรที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานใช้ในการให้บริการการศึกษาหรือฝึกอบรมลูกจ้างของบริษัทหรือห้าง-หุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้  

  กรณีสถานศึกษา 

  -ต้องจัดการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการสำหรับการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา หรือ
  -ต้องจัดการศึกษาตามหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือ
  -ต้องจัดการศึกษาตามหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการสำหรับโรงเรียนนอกระบบ  ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือ
  -ต้องจัดการฝึกอบรมให้แก่สาธารณชนเป็นการทั่วไป (Public Training) หรือให้แก่ลูกจ้างของบริษัท  หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันตามหลักสูตรที่สถานศึกษานั้นๆ ได้จัดขึ้น 

  กรณีสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

      ต้องจัดการฝึกอบรมให้แก่สาธารณชนเป็นการทั่วไป (Public Training) หรือให้แก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน-นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจเป็นเครือ-ข่ายกัน เช่น ตัวแทนจำหน่ายสินค้า ศูนย์บริการซ่อมสินค้า เป็นต้น
  (ง) ค่าใช้จ่ายเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม ประกอบด้วย
  -ค่าใช้จ่ายการศึกษาที่เป็นค่าเล่าเรียน ค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุง
  -ค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมที่เป็นค่าธรรมเนียมเข้าอบรมหรือค่าลงทะเบียน
    ค่าใช้จ่ายข้างต้นหมายความรวมไปถึง ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทางเพื่อเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายในการดูงานในประเทศหรือต่างประเทศตามที่กำหนดในหลักสูตร (ถ้ามี) ที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานเรียกเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย
  (จ) ต้องมีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ออกให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายการศึกษาหรือค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษี-เงินได้สำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น

        สำหรับกรณีใบเสร็จรับเงินได้ออกให้ลูกจ้าง ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้
  (ฉ) ต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่างๆ พร้อมแนบรายละเอียดและกำหนด การฝึกอบรมในหลักสูตรนั้นเก็บไว้ ณ สถานประกอบการเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นแสดงต่อเจ้าพนักงาน
  (ช) ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น หลังจากสำเร็จการศึกษาหรือผ่านการฝึกอบรมแล้ว
         (1.2) ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ ตามหลัก-เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

  สำหรับกรณีการจัดการฝึกอบรมตาม (1.2) นี้ กรมสรรพากรได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ไว้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 148) สรุปได้ดังนี้
  (ก) ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้าง และได้รับการรับรองจากกระทรวงแรงงาน และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้างแต่ละคนนั้นต้องเป็นไปตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน
  (ข) การฝึกอบรมต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้าง
  (ค) ต้องเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
  (ง) ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรมนั้นกลับเข้าทำงานให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นหลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้น
  (จ) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดการฝึกอบรมนั้น ต้องกำหนดลักษณะ ขนาด และคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อมิให้ปะปนกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติ
      รายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมตาม พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) นี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนฯ ผู้จ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ทั้งจำนวน และยังสามารถนำไปยกเว้นภาษีได้อีกจำนวนร้อยละ 100 หรืออาจกล่าวได้ว่าสามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายได้เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปนั่นเอง

   (2) กรณีการดำเนินการจัดการฝึกอบรม

         (2.1) ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกเตรียมเข้าทำงานเพื่อประโยชน์ของกิจการของผู้ดำเนินการฝึก ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546 ถึงวันก่อนวันที่ พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ (วันที่ 18 ตุลาคม 2548)
         (2.2) ยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกเตรียมเข้าทำงานเพื่อประโยชน์ของกิจการของผู้ดำเนินการฝึก ตั้งแต่วันที่  พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ (19 ตุลาคม 2548
)




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี