ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ฎีกาภาษี การลดทุนถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่

 

 ฎีกาภาษี การลดทุนถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่

 

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2550-ประชุมใหญ่

บริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด โจทก์

กรมสรรพากร จำเลย

ข้อเท็จจริง

โจทก์ถือหุ้นในบริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทดังกล่าวได้ลดทุนจดทะเบียนโดยการลดจำนวนหุ้น ทำให้จำนวนหุ้นของโจทก์ที่ ถืออยู่ในบริษัทดังกล่าว 16,119,940 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ลดลงไปจำนวน 5,373,313 หุ้น คิดเป็นเงิน 53,733,130 บาท โจทก์ได้นำเงินจำนวนนี้มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ แต่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยเห็นว่าการลดทุนจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นการลดจำนวนหุ้นหรือลดมูลค่าหุ้นเข้าลักษณะเป็นค่าของทรัพย์สินที่ตีราคาต่ำลงตามมาตรา 65 ตรี (17) แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงนำผลเสียหายจากการลดทุนโดยการลดจำนวนหุ้นดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้จนกว่าจะมีการขายหุ้นดังกล่าว

โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มี คำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง

ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

คำวินิจฉัยศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า การที่บริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด ลดทุนของบริษัทลงซึ่งเป็นผลให้จำนวนหุ้นของโจทก์ที่ถือ อยู่ในบริษัทดังกล่าว 16,119,940 หุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท ลดลงไปจำนวน 5,373,313 หุ้น คิดเป็นเงิน 53,733,130 บาทนั้น โจทก์มีสิทธิ นำเงิน 53,733,130 บาท ดังกล่าวมาหักเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่

ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า ที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี บัญญัติว่า "รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ...(17) ค่าของทรัพย์สินนอก จากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 65 ทวิ..." มีเจตนารมณ์ห้ามบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำมูลค่าของทรัพย์สินที่มีการตีราคาต่ำลงมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เนื่องจากมูลค่าของทรัพย์สินที่มีการตีราคาต่ำลงนั้นยังมิใช่รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงของบริษัทหรืห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ในกรณีนี้รายจ่ายจะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อมีการขายทรัพย์สินดังกล่าวไปแล้วได้มูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนซื้อทรัพย์สินนั้นมา

เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ซื้อ หุ้นโดยถือไว้ในลักษณะทรัพย์สินเพื่อรับผลประโยชน์จากเงินปันผลจำนวน 16,119,940 หุ้น ในราคาตามมูลค่าหุ้น หุ้นละ 10 บาท โจทก์จึง มีมูลค่าทรัพย์สินในกรณีนี้คิดเป็นเงินจำนวน 161,199,400 บาท การลดทุนของบริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด มีผลเพียงทำให้มูลค่าหุ้นรวมของโจทก์ลดลงตามสัดส่วนที่มีการลดมูลค่าหุ้น หรือลดจำนวนหุ้นซึ่งเป็นผลให้มูลค่าทั้งสิ้นของเงินลงทุนในหุ้นอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์มีมูลค่าลดลง ดังนั้น การลดจำนวนหุ้นของบริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งทำให้จำนวนหุ้นที่โจทก์ถืออยู่ลดลงนี้จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต่อเมื่อมีการขายหุ้นส่วนที่เหลือจากการลดจำนวนหุ้นดังกล่าวไปทั้งหมด ผลขาดทุนจากการขายหุ้นดังกล่าวจึงจะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้

เมื่อโจทก์ยังมิได้ขายหุ้นในส่วนที่เหลือจากการลดจำนวนหุ้นไปทั้งหมด จึงถือว่ายังไม่มีรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงของทรัพย์สินดังกล่าวที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ การลดจำนวนหุ้นของบริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด ตามกรณีพิพาทจึงเข้าลักษณะเป็น "ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (17) ซึ่งต้องห้ามมิให้นำไปคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (1)

ที่โจทก์อ้างในคำแก้อุทธรณ์ว่า การลดทุนโดยการลดจำนวนหุ้นมีผลทำให้หุ้นของโจทก์จำนวนหนึ่งหายไปไม่เหมือนกับการลดมูลค่าหุ้น หุ้นที่หายไปนั้นไม่มีทางได้กลับคืนมาจึงไม่มีหุ้นเหลืออยู่ให้ขายในอนาคต ถือได้ว่าเกิดผลเสียหายแก่โจทก์ เพราะโจทก์ไม่ได้รับการคืนเงิน ตามมูลค่าหุ้นในจำนวนหุ้นที่หายไปเนื่องจากการลดทุน จึงเป็นทรัพย์สินที่สูญหายไปโดยสิ้นเชิง และโจทก์ไม่อาจเสียหายมากขึ้นหรือน้อยลงเนื่องจากการลดทุนอีก เพราะไม่มีหุ้นจำนวนที่หายไปให้ขายในอนาคตอย่างเช่นการลดทุนโดยการลดมูลค่าหุ้น ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมีความแน่นอนและกำหนดจำนวนได้แน่นอน โดยผลเสียหายจะเท่ากับมูลค่าของหุ้นตามจำนวนที่ลดลงเพราะการลดทุนดังกล่าว

เห็นว่า การลดทุนของบริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการลดมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นให้ต่ำลงหรือลดจำนวนหุ้นที่มีอยู่ให้น้อยลงเพื่อนำไปลดผลขาดทุนสะสมของบริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด ไม่มีผลกระทบต่อสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์ในบริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการลดทุนจดทะเบียนของบริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น และแม้การลดจำนวนหุ้น ให้น้อยลงมีผลทำให้หุ้นของโจทก์ในบริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด จำนวนหนึ่งหายไปก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้มูลค่าทั้งสิ้นของเงินลงทุนในหุ้นของบริษัท ล. (ประเทศไทย) จำกัด อันเป็นทรัพย์สินของโจทก์สูญหายไปทั้งหมดหรือสูญหายไปโดยสิ้นเชิง โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นอาจเสียหายมากขึ้นหรือไม่เสียหายเลยเนื่องจากการลดหุ้นก็ได้ เพราะโจทก์ยังมีจำนวนหุ้นที่เหลืออยู่จากการลงทุนให้ขายได้ในอนาคตเช่นเดียวกับการลดทุนโดยลดมูลค่าหุ้น ผลเสียหายที่เกิดขึ้นสำหรับการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นจึงยังไม่มีความแน่นอนและไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน เนื่องจากต้องพิจารณามูลค่าทั้งสิ้นของเงินลงทุนในหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินอันเดียวกันโดยไม่ได้พิจารณาที่หุ้นแต่ละหุ้น

และที่โจทก์ยกขึ้นเปรียบเทียบในคำแก้อุทธรณ์ว่า กรณีบริษัทได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัทอื่น ต่อมาบริษัทนั้นประสบภาวะขาดทุนและได้เลิกกิจการไป บริษัทก็สามารถนำผลเสียหายจากการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายได้ เนื่องจากบริษัทไม่อาจได้รับเงินคืนตามมูลค่าหุ้นที่ลงทุนไปนั้น เป็นเรื่องที่บริษัทอื่นประสบภาวะขาดทุน จนเลิกกิจการโดยไม่สามารถหารายได้ได้อีกต่อไป กรณีนี้ถือได้ว่าหุ้นในบริษัทอื่นที่บริษัทนั้นถืออยู่ไม่มีมูลค่าที่จะขายได้โดยสิ้นเชิง การขาดทุนจากการถือหุ้นดังกล่าวไว้จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ผิดกับกรณีของโจทก์ที่ผลเสียหายเนื่องจากการลงทุนที่ถูกลดจำนวนหุ้นนั้น โจทก์อาจได้รับกลับคืนมาเมื่อมีการขายหุ้นในส่วนที่เหลือนั้นไป

ที่โจทก์อ้างว่า การลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นเพื่อล้างผลขาดทุนสะสมถือได้ว่าเกิดความเสียหายต่อโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นแล้วและเป็นผลเสียหายที่โจทก์ไม่อาจได้รับกลับคืนมาจึงฟังไม่ขึ้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

ข้อคิดเห็น

การลดทุนของบริษัทไม่ว่าจะเป็นการลดจำนวนหุ้นหรือลดมูลค่าหุ้นมีผลทำให้มูลค่าเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นในบริษัทนั้นลดลง มูลค่าเงินลงทุนที่ลดลงถือเป็นผลเสียหายที่ผู้ถือหุ้นได้รับ ผลเสียหายที่ผู้ถือหุ้นได้รับจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร ต่อเมื่อเป็นผลเสียหายอันอาจได้รับกลับคืนเนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ฉะนั้น หากผู้ถือหุ้นไม่ได้ทำประกันภัยในผลเสียหายจากการลดทุนของบริษัทที่ตนถือหุ้นอยู่ ผลเสียหายที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการลดทุนน่าจะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิได้ แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าผลเสียหายที่ได้รับยังมีจำนวนไม่แน่นอน เพราะจำนวนหุ้นที่เหลืออยู่หากขายได้ในอนาคตอาจมีกำไรจนทำให้ไม่มีผลเสียหายหรือมีผลเสียหายน้อยลงก็ได้ จึงควรจะถือว่ามีผลเสียหายแน่นอนเมื่อมีการขายหุ้นที่เหลืออยู่แล้วขาดทุนเท่านั้น เมื่อผลเสียหายที่ได้รับยังมีจำนวนไม่แน่นอนในขณะที่มีการลดทุน จึงไม่อาจถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิได้

ค่าของทรัพย์สินที่ตีราคาต่ำลงที่จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (17) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น น่าจะเป็นกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นผู้ตีราคาทรัพย์สินให้ต่ำลงเอง จึงจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการตีราคาทรัพย์สินให้ต่ำลงตามอำเภอใจเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง การลดทุนของบริษัทเป็นการกระทำของบริษัท มูลค่าเงินลงทุนในหุ้นที่ลดลงจึงมิได้เกิดจากการที่ผู้ถือหุ้นตีราคาหุ้นอันเป็นทรัพย์สินให้ต่ำลงเอง มูลค่าเงินลงทุนที่ลดลงจึงไม่น่าจะเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (17) ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ถ้าการลดทุนนั้นผู้ถือหุ้นใดลงมติเห็นด้วยก็น่าจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (17) ได้ เพราะเป็นผู้ตีราคาหุ้นซึ่งถือเป็นทรัพย์สินของตนให้ต่ำลงเอง

คดีนี้บริษัทโจทก์ได้ถือหุ้นในบริษัทที่ลดทุน หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทโจทก์ได้ลงมติเห็นชอบในการลดทุน มูลค่าเงินลงทุนที่ลดลงจากการลดทุนของบริษัทดังกล่าวก็น่าจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (17) แต่ถ้าบริษัทโจทก์ไม่ได้ลงมติเห็นชอบในการลดทุน มูลค่าเงินลงทุนที่ลดลงจากการลดทุนของบริษัทดังกล่าวก็ไม่น่าจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (17) ฉะนั้น มูลค่าเงินลงทุนที่ ลดลงเนื่องจากการลดทุนจะถือเป็นรายจ่าย ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (17) หรือไม่ จึงน่าจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไป ดังนั้น การนำมาตรา 65 ตรี (17) มาใช้ในการวินิจฉัยคดีนี้จึงยังมีข้อโต้แย้งอยู่

โดย : ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม และ ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม  ที่มา : สรรพากรสาส์น ฉบับเดือน มีนาคม 2552




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี