บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
การเลือกหุ้นส่วนเพื่อร่วมทำธุรกิจนั้น ถ้าผู้ประกอบการเลือกหุ้นส่วนผิด โอกาสที่จะประสบความล้มเหลวก็มีสูง เพราะถ้ากิจการไปได้ดี หุ้นส่วนอาจแย่งผลประโยชน์กันเอง หรือถ้ากิจการล้มเหลว หุ้นส่วนอาจจะโทษกันไปโทษกันมา ดังนั้น ก่อนเริ่มทำธุรกิจ ผู้ประกอบการทุกคน ควรศึกษาหุ้นส่วนที่ต้องการจะเข้าร่วมให้ดีเสียก่อน หลักการเลือกหุ้นส่วน 1. เลือกหุ้นส่วนที่มีความสามารถแตกต่างกัน มาบริหารงาน เช่น คนที่มีความชำนาญด้านการตลาด ผู้ประกอบการอาจนำมาวางแผน วิเคราะห์ยอดขาย คนที่มีความชำนาญทางด้านการเงิน ผู้ประกอบการก็อาจให้จัดทำบัญชี งบประมาณต่าง ๆ เป็นต้น 2. เลือกหุ้นส่วนที่สามารถทุ่มเทกับงาน และสามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 3. เลือกหุ้นส่วนที่กล้าเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้คลี่คลายลงได้ จัดสัดส่วนการถือหุ้น หลังจากเลือกหุ้นส่วนได้ตามต้องการแล้ว สัดส่วนในการถือหุ้น ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ ผู้ประกอบการทั้งหลาย มักไว้ใจ กับหุ้นส่วนของตน และกำหนดสัดส่วนในการถือหุ้นเท่า ๆ กัน ผลที่ตามมาคือ หุ้นส่วนจะปัดความผิดชอบให้กัน ยิ่งถ้าแต่ละคนมีธุรกิจหลัก ของตนเองอยู่แล้ว ธุรกิจที่คิดขึ้นมาใหม่ก็กลายเป็นธุรกิจเสริม ดังนั้น สัดส่วนการถือหุ้น จึงควรมีหุ้นส่วนหลักเป็นแกนไว้ ศึกษากฎหมายก่อนร่วมหุ้น สิ่งสำคัญในการจัดสัดส่วนการถือหุ้น คือ ผู้ประกอบการจะต้อง ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุนดำเนินธุรกิจ ในกรณีที่เงินลงทุนไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาว่าจะระดมเงินทุนจากที่ใด และหุ้นส่วนแต่ละคนที่ถือหุ้นอยู่ตามสัดส่วนต่าง ๆ มีสิทธิ์อย่างไร ผู้ประกอบการจะต้องเปิดหนังสือกฎหมายดูอย่างละเอียด และตัดสินใจอย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง ที่มา : นิตยสารเส้นทางเศรษฐี ปีที่ 7 ฉบับที่ 74 (เมษายน 2544) |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |