ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ลิขสิทธิ์ Copyright Law

 

ลิขสิทธิ์ Copyright Law

 ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่าง แต่สามารถถือเอาได้ และกฎหมายให้ความคุ้มครองโดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive rights) ที่จะกระทำการใดๆเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ได้ทำขึ้น โดยหลักแล้วกฎหมายลิขสิทธิ์จะคุ้มครองเฉพาะรูปแบบของการแสดงออกของความคิด(expression of ideas)ไม่คุ้มครองถึงตัวความคิดที่ยังไม่ได้ถ่ายทอดให้ปรากฎออกมา งานลิขสิทธิ์ไม่จำเป็นต้องมี “ความใหม่” (novelty) ขอเพียงให้เกิดจากความคิดริเริ่มของตนเอง (original) ไม่ลอกเลียนแบบใคร และเป็นการสร้างสรรค์โดยใช้ความพยายามและสติปัญญาในระดับหนึ่งก็จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว

อนึ่ง กฎหมายลิขสิทธิ์นั้นมุ่งคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์มิให้ผู้อื่นลอกเลียนแบบหรือทำซ้ำตลอดจนห้ามมิให้มีการใช้ประโยชน์จากรูปแบบของการแสดงออกทางความคิดของผู้สร้างสรรค์โดยไม่ได้รับอนุญาต ด้วยเหตุนี้อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์จึงมีระยะยาวนานกว่าการคุ้มครองตัวความคิด ซึ่งเป็นเรื่องของการคุ้มครองการประดิษฐ์ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตร ทั้งนี้การคุ้มครองดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อประโยชน์ของสาธารณชนโดยรวมด้วย

งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์

งานสร้างที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยประเภทงานต่างๆ ดังนี้

1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศัย รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

2. งานนาฎกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การแสดงประกอบเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้

3. งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรือสร้างสรรค์รูปทรง  สามมิติ เกี่ยวกับภูมิประเทศหรือวิทยาศาสตร์

4. งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน๊ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว

5. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลซึ่งประกอบด้วยลำดับของภาพและเสียงอันสามารถที่นำมาเล่นซ้ำได้อีก

6. งานภาพยนต์ เช่น ภาพยนต์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนต์นั้นด้วย(ถ้ามี)

7. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนต์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุ

8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุ หรือการแพร่เสียงหรือภาพทางสถานีโทรทัศน์

9. งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

ผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์

ผลงานดังต่อไปนี้เป็นผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์

1. ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย

2. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

3. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

4. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1-3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

5. ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือวิธีทำงาน หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์

งานสร้างสรรค์ที่ได้ริเริ่มทำขึ้น จะได้รับการคุ้มครองในทันที (automatic protection) โดยมิต้องผ่านพิธีการใดๆ (no formality) รวมถึงการจดทะเบียน หากงานนั้นเข้าข่ายงานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนด เกี่ยวกับการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้น กฎหมายลิขสิทธิ์มีหลักการสำคัญสองประการเกี่ยวกับการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ คือ หลักสัญชาติ และหลักดินแดน

ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์

บุคคลที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้

1. ผู้สร้างสรรค์งาน โดยความคิดริเริ่มของตนเอง โดยไม่ลอกเลียนงานของบุคคลอื่น และอาจหมายรวมถึงผู้สร้างสรรค์งานร่วมกันด้วย

2. ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง

3. ผู้ว่าจ้างในกรณีว่าจ้างให้บุคคลอื่นสร้างสรรค์งาน

4. ผู้ดัดแปลง รวบรวม หรือประกอบกันเข้า โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์

5. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

6. ผู้รับโอนลิขสิทธิ์

การคุ้มครองลิขสิทธิ์

เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆต่องาน อันมีลิขสิทธิ์ของตนดังนี้

1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง

2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน

3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึก

4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น

5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ตาม 1,2,หรือ3 โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ที่ไม่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม

อายุการคุ้มครอง

โดยทั่วๆไป การคุ้มครองลิขสิทธิ์จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต หากแต่มีงานบางประเภทที่จะมีอายุการคุ้มครองแตกต่างกัน ดังนั้น อายุการคุ้มครองสามารถแยกได้โดยสรุป ดังนี้

1. งานทั่วๆไป ลิขสิทธิ์จะมีอยุ่ตลอดอายุสร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น  กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือไม่ปรากฎชื่อผู้สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น

2. งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่ภาพ ลิขสิทธิ์อายุ 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น

3. งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น

4. งานศิลปประยุกต์ ลิขสิทธิ์มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น

  พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (pdf)

  มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย

 

ที่มา  :  กรมทรัพย์สินทางปัญญา

เรียบเรียงโดย  : สุพรรณี อุดมพรสุขสันต์ ( ศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมาย SMEs )




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
หมิ่นประมาท
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
ความยินยอมของคู่สมรส
เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง