บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
ปัจจุบันกฎหมายได้เอื้ออำนวยความสะดวก รวดเร็วในการจัดตั้งธุรกิจและความน่าเชื่อถือในการติดต่อธุรกิจการค้าให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ โดยได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไปแล้ว และการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัดมาเป็นบริษัทจำกัด โดยใช้ชื่อเดิมได้ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวโดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวได้ลดขั้นตอนต่างๆ ไม่ต้องเสียเวลาในการที่จะต้องมาจดทะเบียนใหม่ ซึ่งจากเดิมหากต้องการเปลี่ยนเป็นบริษัทจะต้องจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วมาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่และไม่สามารถใช้ชื่อเดิมของห้างฯ เพื่อการจัดตั้งบริษัทได้ การจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัดประกอบด้วย 1. ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่สามคนขึ้นไป 2. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงยินยอมให้แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด 3. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างต้องมีหนังสือแจ้งความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนให้นายทะเบียนทราบภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนให้ความยินยอม โดยแนบสำเนาบันทึกข้อตกลงยินยอมให้แปรสภาพ เป็นบริษัทจำกัดด้วย ห้างหุ้นส่วนที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ส่งหนังสือแจ้งความยินยอมที่สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ หรือ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจแห่งใด แห่งหนึ่ง สำหรับห้างหุ้นส่วนที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ส่งหนังสือแจ้งความยินยอม ได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่ห้างหุ้นส่วนนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ 4. ห้างหุ้นส่วนต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวและมีหนังสือบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนให้ทราบเรื่องที่ห้างหุ้นส่วนจะแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด 5. เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่บอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดคัดค้าน หุ้นส่วนผู้จัดการต้องจัด ให้มีการประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เพื่อให้ความยินยอมและดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ 5.1 จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท (ถ้ามี) 5.2 กำหนดทุนเรือนหุ้นของบริษัท ซึ่งต้องเท่ากับส่วนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนใน ห้างหุ้นส่วน และกำหนดจำนวนหุ้นของบริษัทที่จะตกได้แก่หุ้นส่วนแต่ละคน 5.3 กำหนดจำนวนเงินที่ได้ใช้แล้วในแต่ละหุ้น (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25) 5.4 กำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ รวมทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้นซึ่งจะออกและจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน 5.5 แต่งตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจของกรรมการ 5.6 แต่งตั้งผู้สอบบัญชี 5.7 ดำเนินการในเรื่องอื่นๆ ที่จำเป็นในการแปรสภาพ 6. หุ้นส่วนผู้จัดการเดิมต้องส่งมอบกิจการ ทรัพย์สิน บัญชี เอกสารและหลักฐานต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนให้แก่กรรมการบริษัทภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ให้ความยินยอมและดำเนินการในเรื่องต่างๆ ตาม 5. เสร็จสิ้นแล้ว 7. ในกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนยังไม่ได้ชำระเงินค่าหุ้น หรือชำระเงินค่าหุ้นไม่ครบร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าหุ้น หรือยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหรือทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่างๆ ให้แก่คณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้เป็นหุ้นส่วนชำระเงินค่าหุ้น โอนกรรมสิทธิ์ หรือทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่างๆ แล้วแต่กรณี ให้แก่คณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง 8. คณะกรรมการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดต่อนายทะเบียน ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตาม (7) ครบถ้วนแล้ว เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนเดิมหมดสภาพ การเป็นห้างหุ้นส่วน และห้างหุ้นส่วนที่จะแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด จะต้องไม่มีชื่อบริษัท วัตถุที่ประสงค์ ทุนจดทะเบียน ผู้ถือหุ้นและส่วนลงหุ้นของแต่ละคน แตกต่างไปจากที่ห้างหุ้นส่วนได้จดทะเบียนไว้เดิม ข้อมูลที่ต้องใช้ในการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด 1. ชื่อของบริษัท 2. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (ตั้งอยู่ ณ จังหวัดใด) 3. วัตถุที่ประสงค์ของบริษัทที่จะประกอบกิจการค้า 4. ข้อบังคับ (ถ้ามี) 5. จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน 6. ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ 7. ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน 8. รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ) *ดูตัวอย่างการกำหนดอำนาจกรรมการ* 9. ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน 10. ตราสำคัญ ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า |
ก้าวแรกของการขายของออนไลน์ เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่ กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ กรรมการกับความผิดทางอาญา เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น ความรับผิดของกรรมการบริษัท คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่ คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท 6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่ "อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่" ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ การโอนหุ้น เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย แผนธุรกิจ ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า! "อยากจะค้าขาย" 10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ" การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน 5 สาย อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร คุณก็เป็นเศรษฐีได้ หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ เริ่มต้นจากเล็ก คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ 10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้ คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ 7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550 อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ข้อควรทราบในการจดทะเบียน วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2 จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3) จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4) |