ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง

 

Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง

 

   ในทางการแพทย์นั้น เมื่อการรักษาเยียวยาดำเนินทุกวิถีทางอย่างถึงที่สุด หมอจะเป็นคนที่รู้ก่อนใครๆ ว่าสิ่งที่รออยู่เบื้องหน้าผู้ป่วยคือความตาย

และหากคำตอบคือความตายมากกว่าความเป็น หมอก็จะตัดสินใจดำเนินการรักษาขั้นสุดท้าย ที่เรียกว่า “Comfort Care” ซึ่งเป็นการเตรียมให้ผู้ป่วยรวมทั้งญาติๆ ให้ยอมรับในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างมีสติ ใช้ชีวิตส่วนที่เหลืออย่างมีค่าและสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่สุด...

Comfort Care นั้นต้องเตรียมตัวทำอย่างระมัดระวัง ผู้ดำเนินการต้องได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี ในบางแห่งทั้งหมอเล็กหมอใหญ่ต้องทำเป็นทีมเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติรู้ว่าทุกอย่างได้ดำเนินการมาอย่างดีที่สุดแล้ว

ในทางธุรกิจ อาการป่วยขั้นสุดท้ายของเจ้าของบริษัทคงไม่พ้นเรื่อง “เจ๊ง” และสำหรับรรดาลูกจ้างทั้งหลาย วาระสุดท้ายก็คงต้องเป็นการให้ออกจากงาน

การเยียวยาก่อนยื่นซองให้คนใดคนหนึ่งออกไปจากตำแหน่ง หรือออกไปจากบริษัท มีความสำคัญไม่แตกต่างไปจาก Comfort Care ในทางการแพทย์ เพราะการให้คนๆ หนึ่งออกนั้น มีผลต่อทั้งลูกจ้างเอง รวมทั้งครอบครัวของลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตใจ สถานภาพทางการเงิน สังคม อาจกลายเป็นบาดแผลฉกรรจ์ในชีวิต...

และต้องไม่คิดว่าลูกจ้างตำแหน่งระดับล่างจะได้รับความเสียหายน้อยกว่าลูกจ้างตำแหน่งสูงๆ จนทำให้ใส่ใจแต่ระดับบน เพราะจริงๆ แล้วความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตของคนทุกระดับอาจไม่แตกต่างกัน

การวางแผนการสื่อสารในการปลดพนักงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งเพราะเกี่ยวข้องกับความจงรักภักดี และภาพลักษณ์บริษัท ของทั้งคนที่ถูกปลดและผู้โชคดีที่จะได้อยู่ต่อ ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ซึ่งก็จะเริ่มรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ ขึ้นมา

และแม้การวางแผนการสื่อสารการปลดพนักงานจะอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบุคคล หัวหน้าหน่วยงานเองก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพราะโดยปกติแล้วจะเป็นผู้ใกล้ชิดกับพนักงานมากกว่าเจ้าหน้าที่ของฝ่ายบุคคล

การวางแผนการสื่อสารในการปลดพนักงานที่รัดกุม อาจต้องถึงกับร่างสคริปท์กันก่อนล่วงหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าการบอกกล่าวข่าวร้ายนั้น ลงเอยด้วยความเข้าใจและความเห็นใจซึ่งกันและกัน และยังเหลือมิตรภาพในฐานะคนที่รู้จักมักคุ้นกันมาก่อน

ไม่กลายเป็นการเพิ่มศัตรูคู่แค้นส่วนตัวขึ้นมาในที่สุด

ในลำดับแรก ผู้ที่จะบอกข่าวร้ายเองนั่นแหละที่ต้องเตรียมตัวให้เป็นอย่างดี ต้องเตรียมทำใจรับกับปฏิกริยาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งควรจะนึกล่วงหน้าด้วยว่าปฏิกริยาและคำถามที่จะตามมาคืออะไร รุนแรงมากน้อยแค่ไหน และเตรียมคำตอบที่ดี และละมุนละม่อมไว้

หากรู้ว่าตัวเองเป็นคนพูดไม่เก่ง วาทศิลป์ไม่ดี หรือพูดจาไม่ค่อยระมัดระวัง ซ้อมให้ที่ปรึกษาฟังก่อนว่า หากตอบคำถามนี้ด้วยคำตอบแบบนี้จะดีหรือไม่ ถ้าไม่ดีควรจะตอบอย่างไร...ผู้แจ้งข่าวร้ายต้องรู้ตัวว่า สิ่งที่กำลังจะทำมีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและการดำเนินชีวิตของผู้ฟังมากแค่ไหน

การแจ้งข่าวร้ายนั้น จะต้องคิดคำที่จะใช้เปิดในการสนทนาไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเริ่มด้วยการทักทายสารทุกข์สุกดิบทั่วไป การวางสีหน้าท่าทาง สถานที่ ที่สำคัญต้องซ้อมการเปิดการสนทนาให้ดี โดยเฉพาะคนที่ต้องทำเป็นครั้งแรกในชีวิต อย่าให้ตกประหม่าจนเสียงสั่นเครือ กลายเป็นว่าผู้แจ้งข่าวร้ายเป็นลมไปก่อนเสียเอง ทำให้อำนาจการต่อรองลดทอนลง และอาจเพลี่ยงพล้ำจนมุมได้

เมื่อทักทายให้บรรยากาศผ่อนคลายแล้ว จึงเริ่มด้วยการกล่าวถึงสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่พนักงานพอรู้กันอยู่แล้ว และเมื่อถึงตอนนี้คนที่นั่งฟังอยู่ก็มักจะรู้ตัวแน่แล้วว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้น....

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผู้แจ้งข่าวร้ายจะต้องเล่าถึงสถานการณ์และความจำเป็นต่างๆ ที่จะต้องทำให้มีการปลดพนักงาน ควรต้องมีข้อมูลที่เป็นตัวเลข ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการ ผลการประเมิน หรือผลการปฏิบัติงานรายบุคคลให้พร้อม ชัดเจน และตรงไปตรงมา เพราะคำถามที่เกิดขึ้นเสมอในตอนนี้คือ "ทำไมต้องถึงกับปลด" "ทำไมต้องเป็นหนู" และ "ทำไมไม่เป็นเขา"

ไม่ว่าปฏิกริยาจะเป็นอย่างไร ผู้แจ้งข่าวร้ายต้องมีข้อมูลที่เป็นส่วนดีของคนๆ นั้นอยู่ในมือด้วย เพราะขั้นตอนต่อไปคือ การกอบกู้ความมั่นใจในตนเองของคนๆ นั้นให้ได้ เพื่อให้เขารู้ว่ายังมีทางที่ไปต่อได้ ต้องสามารถแนะนำได้ว่า งานที่เขาจะทำได้ดีควรจะเป็นอะไร

จากนั้นจะต้องบอกถึงสวัสดิการต่างๆ ที่จะได้รับ และต้องแสดงให้เห็นว่าบริษัทพยายามให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้...ขั้นตอนนี้ผู้แจ้งข่าวต้องมีคู่มือสิทธิของพนักงานให้พร้อม มีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่างๆ ในการเลิกจ้างพนักงาน และต้องชี้แจงได้ว่า ที่จัดให้เป็นกรณีพิเศษ หรือการให้อย่างอะลุ้มอล่วยที่สุดนั้นได้ใช้ความพยายามมากขนาดไหน..

ในขั้นตอนนี้ ผู้แจ้งข่าวอาจต้องเตรียมตัวกับการเจรจาต่อรองกับผู้ถูกปลด ซึ่งผู้แจ้งข่าวต้องเข้าใจบทบาท และขอบเขตอำนาจในการเจรจาของตัวเองให้ดี หากจะให้อะไรเป็นพิเศษ ก็ต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อขออำนาจพิเศษนั้นมาก่อน รวมทั้งอาจต้องพบกับการขัดขืนและการขู่ฟ้องร้องทางกฏหมาย ซึ่งจะต้องศึกษาข้อกฏหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีล่วงหน้า

สุดท้าย ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการแสดงความเห็นอกเห็นใจ และการพยายามช่วยเหลือทุกวิถีทาง “อย่างจริงใจ” การเลือกคนไปแจ้งข่าวจึงมีความสำคัญอย่างมาก ไม่ใจร้าย และไม่ใจอ่อนเกินไป มีวาทะศิลป์ที่ดี มีคุณธรรม และมีมนุษยธรรมสูง

ต้องไม่ลืมว่า พนักงานไม่ว่าระดับไหนต่างมีชีวิตและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน และเมื่อถึงคราวที่จะต้องจากกันตามหน้าที่ อย่างน้อยก็ควรเหลือไมตรีที่ดีทั้งส่วนตัวและต่อองค์กรไว้เสมอ

 เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย

 9 คาถาคุมสติ(แตก)เมื่อตกงาน !

บทความโดย : ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร (22-3-2552)  ที่มา : www.nationejobs.com




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน