บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

การเฉลี่ยภาษีซื้อ (2)
การเฉลี่ยภาษีซื้อ (2)
การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร ใช้สำหรับเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามพื้นที่การใช้อาคาร การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร มีวิธีการอย่างไร ? การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคารมีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้ - เมื่อเริ่มก่อสร้างอาคาร 1. ให้ผู้ประกอบการทำการประมาณพื้นที่อาคารที่ใช้เพื่อการประกอบกิจการ VAT และ NON VAT โดยให้แจ้งประมาณการใช้พื้นที่เป็นตารางเมตรในแต่ละชั้นต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ.05.1 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มก่อสร้างอาคาร หรือวันที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคาร แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน - เมื่ออาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ 1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ.05.2 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ หากผู้ประกอบการยังไม่ได้ใช้พื้นที่ของอาคาร หรือใช้พื้นที่ของอาคารตรงตามที่ได้ประมาณไว้ หรือใช้พื้นที่ของอาคารในส่วนของกิจการ VAT และ NON VAT ไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน ในกรณีนี้ผู้ประกอบการไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้ กรณีศึกษา 2 บริษัท แคน จำกัด มีแผนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ได้ประมาณสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารสำนักงาน ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในสัดส่วน 70 : 30 ตามลำดับเมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แล้ว สมมติว่าบริษัท แคน จำกัด มีสัดส่วนการใช้อาคารเกิดขึ้นจริงในกรณีต่างๆ ดังนี้
ข้อสรุป เมื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว และบริษัท แคน จำกัด มีการใช้พื้นที่อาคารจริงตามที่ได้สมมติไว้ 4 กรณีดังกล่าวข้างต้น บริษัท แคน จำกัด ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้แจ้งประมาณการไว้เป็นครั้งแรก ให้ผู้ประกอบการดำเนินการ ดังนี้ 1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร กรณีต้องจ่ายชำระภาษีเพิ่มเติม ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการและได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มากกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีซื้อส่วนเกิน โดยผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม กรณีได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการและได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว น้อยกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่ขาด นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่ขาดซึ่งได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีนั้น กรณีศึกษา 3 บริษัท แคน จำกัด มีแผนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ได้ประมาณสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารสำนักงาน ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วน 70 : 30 ตามลำดับ เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แล้ว สมมติว่าบริษัท แคน จำกัด มีสัดส่วนการใช้อาคารเกิดขึ้นจริงในกรณีต่างๆ ดังนี้ ข้อสรุป เมื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว และบริษัท แคน จำกัด มีการใช้พื้นที่อาคารจริงตามที่ได้สมมติไว้ 4 กรณีดังกล่าวข้างต้น บริษัท แคน จำกัด ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว เนื่องจากมีการใช้พื้นที่จริงในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้แจ้งประมาณการไว้เป็นครั้งที่สองหรือครั้งต่อๆ ไป ให้ผู้ประกอบการดำเนินการดังนี้ 1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร กรณีศึกษา 4 บริษัท บีบี จำกัด เริ่มก่อสร้างในเดือนสิงหาคม 2548 เพื่อใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยได้ประมาณการการใช้พื้นที่อาคารในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 70% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 30% ของพื้นที่อาคารทั้งหมด อาคารได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2549 โดยมีภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 ถึงเดือนพฤษภาคม 2549 ดังนี้ เมื่อเริ่มก่อสร้างอาคาร ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการที่ได้กำหนดไว้สำหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 70% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 30% เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้อาคารดังนี้
การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 1 เดือนมิถุนายน 2549 กิจการไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ เนื่องจากการใช้พื้นที่อาคารจริงไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ ดังนั้นกิจการต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคารที่เกิดขึ้นจริง ในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 40% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 60%
1.ชำระภาษีซื้อส่วนเกิน เนื่องจากภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการ มากกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง ดังนั้นผู้ประกอบการต้องชำระภาษีซื้อเพิ่มเติม 327,900 บาท ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.3 เป็นรายเดือนภาษีทั้ง 10 เดือน เดือนละ 1 ฉบับ ตามจำนวนเดือนภาษีที่ปรับปรุงภาษีซื้อ โดยยื่นพร้อมกันทั้งหมด 10 ฉบับ ภายในวันที่ 15 ของเดือนพฤศจิกายน 2549 โดยผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร 2. นำภาษีซื้อส่วนเกินจำนวน 327,900 บาท ไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของอาคารหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีนั้น สรุปประเด็นการเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร ผู้ประกอบการควรทำการประมาณการใช้พื้นที่อาคารอย่างระมัดระวัง โดยต้องประมาณการการใช้พื้นที่ให้ชัดเจนและแน่นอน สำหรับกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยากในการต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว โดยเมื่ออาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ผู้ประกอบการจะต้องใช้พื้นที่อาคารตามส่วนที่ได้แจ้งประมาณการไว้หรือไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับตั้งแต่เดือนภาษีที่อาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารสำหรับกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าส่วนที่ได้ประมาณการไว้ จะมีผลต่อภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ในช่วงของการก่อสร้างอาคาร ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อให้ตรงตามการใช้พื้นที่จริง โดยต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อ ย้อนหลังกลับไปตั้งแต่แรกที่เริ่มมีภาษีซื้อจาก การก่อสร้างอาคาร และปรับปรุงเป็นรายเดือน-ภาษี หากผู้ประกอบการใช้ภาษีซื้อมากเกินไปต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย อีกทั้งเมื่อมีการปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อจะส่งผลต่อการ จัดทำบัญชีของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการต้องปรับปรุงต้นทุนของอาคารและค่าเสื่อมราคาให้ถูกต้องอีกด้วย บทสรุป จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องของการเฉลี่ยภาษีซื้อ คงจะทำให้ผู้ประกอบการหลายๆท่านมีความเข้าใจในเรื่องราวของการเฉลี่ย ภาษีมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ที่ประกอบธุรกิจทั้งประเภท VAT และ NON VAT จะได้ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและจัดการกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องทั้งการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้และการเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนจัดการกับการเฉลี่ยภาษีซื้อตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหายุ่งยากและเป็นภาระในภายหลังเมื่อต้องปรับปรุงบัญชีหรือเสียภาษีเพิ่มเติมอีก ที่มา : สรรพากรสาส์น ฉบับประจำเดือน พฤษภาคม 2550 บรรณานุกรม - กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2549. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์, 2549 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |