ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



การเฉลี่ยภาษีซื้อ

 

การเฉลี่ยภาษีซื้อ 

 

    ในการทำธุรกิจผู้ประกอบการหลายรายมักทำธุรกิจให้มีความหลากหลายและครบวงจรมากขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยผู้ประกอบการคนเดียวอาจประกอบธุรกิจหลายประเภท ซึ่งบางธุรกิจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและบางธุรกิจไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขายปลาสวยงาม ถ้าขายเฉพาะปลาสวยงามก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าผู้ประกอบการมีบริการรับจ้างทำและตกแต่งตู้ปลา รวมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องจัดการกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในธุรกิจทั้งสองประเภทอย่างถูกต้อง

    ทําไมต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

      การเฉลี่ยภาษีซื้อจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT) และผู้ประกอบการได้นำสินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท โดยไม่สามารถแยก ได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่นำมาใช้นั้น เป็นการใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการนั้นเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใดแน่ จึงต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ตนเองนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้

    ธุรกิจอะไรบ้างที่อาจต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

      การประกอบธุรกิจประเภทที่อาจจำเป็นต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ตัวอย่างเช่น

      - การประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (VAT) และธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT)
      - การประกอบธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT) และให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง (VAT)
      - การประกอบธุรกิจขายพืชผลทางการเกษตร (NON VAT) และประกอบธุรกิจส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)
      - การประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ (NON VAT) และประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ (VAT) 

    การเฉลี่ยภาษีซื้อมีวิธีการใดบ้าง ?

      การเฉลี่ยภาษีซื้อมี  2 วิธีคือ 

      1. เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้  
      2. เฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

    การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ 

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ ใช้สำหรับเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

      1. ภาษีซื้อสำหรับค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
      2. ภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา ค่าซ่อมแซม เป็นต้น

    การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีวิธีการอย่างไร ?

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้มีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

    - ปีแรกที่เริ่มมีรายได้ 

       1.ให้ประมาณการรายได้ของกิจการทั้ง 2 ประเภททั้งที่ต้องเสียและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในปีที่เริ่มมีรายได้ (ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี ทั้งนี้ไม่ว่าจะมี รายได้ต่อเนื่องกันทุกเดือนภาษีหรือไม่ก็ตาม) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ โดยในปีแรกให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย
       2. สิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ให้ผู้ประกอบการทำการปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดจากปีที่เริ่มมี รายได้ โดยให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่ได้มีการเฉลี่ยภาษีซื้อถึงเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.2 เพิ่มเติมเพียงฉบับเดียวภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีแรกภายหลังสิ้นสุดปีที่เริ่มมีรายได้ โดยแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

     กรณีต้องจ่ายชำระภาษีเพิ่มเติม

       ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้ และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มากกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้น โดยผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด
       นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่เกินดังกล่าวซึ่งยังมิได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

     กรณีได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

       ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้วน้อยกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อส่วนที่ขาดนั้น 
       นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่ขาดดังกล่าวซึ่งได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น 

    - ปีที่ 2 และปีต่อๆไป

       1. ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 และปีต่อๆ ไป โดยใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ
       2. สิ้นปีที่ 2 และปีต่อๆ ไป ผู้ประกอบการ สามารถเลือกปฏิบัติได้ดังนี้

         - ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบันของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดไป โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับสิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ หรือ
         - ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบัน วิธีนี้จะทำให้กิจการได้รับความสะดวกในการจัดทำบัญชี โดยเมื่อเริ่มต้นปีภาษีใหม่ก็จะใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ

         เมื่อผู้ประกอบการได้เลือกปฏิบัติตามวิธีใดแล้วให้ถือปฏิบัติตามวิธีนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้

    กรณีศึกษา 1 การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้

      ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย เริ่มเปิดดำเนินการในปี 2549 ประกอบธุรกิจขายปลาสวยงาม (NON VAT) และขายอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ (VAT) ได้ประมาณการสัดส่วนรายได้ของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ ในสัดส่วน  40 : 60 ตามลำดับในปี 2549 มีภาษีซื้อที่เกิดจากทรัพย์สินและบริการส่วนกลางที่ใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท ซึ่งไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ดังนี้

เมื่อสิ้นปี 2549  ปรากฏว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจริงของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ มีสัดส่วน 55 : 45  ตามลำดับ

    ประเด็นที่ 1 ในระหว่างปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไรในแต่ละเดือน ?

    ในระหว่างปี 2549 ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการรายได้ ของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ ในสัดส่วน 40 : 60 ตามลำดับ ในปี 2549 เป็นปีแรกที่เริ่มมี  รายได้ ให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย

 

    ประเด็นที่ 2 สิ้นปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวยจะต้องปรับปรุงภาษีซื้ออย่างไร และมีผลกระทบต่อต้นทุนของทรัพย์สินและบริการอย่างไร?
           
    สิ้นปี 2549  ถือเป็นสิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ ผู้ประกอบการจะต้องปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปี 2549 ของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนมกราคม 2550 ดังนี้


    จะเห็นได้ว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้ มากกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง  45,750 > 41,175  = 4,575 บาท

    ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีเพิ่มเติม 4,575 บาท โดยยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30.2 เพิ่มเติมเพียงฉบับเดียว ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใดโดยผู้ประกอบการจะต้องนำภาษีซื้อ จำนวน 4,575 บาท ไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของปี 2549 ที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

    ประเด็นที่ 3 ในระหว่างปี 2550 หากมีภาษีซื้อที่ต้องนำมาเฉลี่ย จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไร ?

     ปี 2550 ถือเป็นปีที่ 2 ที่มีรายได้ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้น โดยใช้สัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของปี 2549 เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อปี 2550  ในกรณีพบว่าปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย มีรายได้จากการประกอบกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วน 55 : 45 ดังนั้นในปี 2550 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวยจึงมีสิทธินำภาษีซื้อมาใช้ในอัตราร้อยละ 45  เมื่อสิ้นปี 2550 ผู้ประกอบการสามารถเลือกปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริง  ในปี 2550 หรือเลือกที่จะไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในปี 2550 ก็ได้ แต่วิธีหลังผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวกในการจัดทำบัญชีมากกว่า

    การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีข้อยกเว้นหรือไม่ ?

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีข้อยกเว้นไม่ต้องนำภาษีซื้อมาเฉลี่ย หากรายได้จากการประกอบกิจการของปีที่ผ่านมาเป็นดังนี้

      (1) หากรายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการ VAT มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกนำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขาย แต่ผู้ประกอบการห้ามนำภาษีซื้อดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปี ก็ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ เช่น

         - รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง (VAT)                  90%
         - รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT)          10%
                                         รวมรายได้    100%

       2) หากรายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการประเภท NON VAT มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ผู้ประกอบการมีสิทธิ เลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจาก ภาษีขาย แต่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปีก็ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ เช่น

          - รายได้จากกิจการขายพืชผลทางการเกษตร (NON VAT)     90%
          - รายได้จากการส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)         10%
                                     รวมรายได้        100%

    สรุปประเด็นการเฉลี่ยภาษีซื้อได้ตามส่วนของรายได้

      ผู้ประกอบการหลายรายอาจมีความรู้สึกว่าหากกิจการต้องทำการเฉลี่ยภาษีซื้อ จะเกิดความยุ่งยากและอาจมีปัญหาในภายหลังได้ ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการหลีกเลี่ยงการเฉลี่ยภาษีซื้อ หรือต้องการขจัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเฉลี่ยภาษีซื้อ ผู้ประกอบการควรต้องวางแผนการดำเนินธุรกิจให้ชัดเจนตั้งแต่แรก  ซึ่งมีหลายแนวทางยกตัวอย่างเช่น

   1. แยกหน่วยธุรกิจออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างธุรกิจที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กับธุรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแยกตั้งธุรกิจเป็นคนละบุคคลหรือคนละนิติบุคคล หรือ
   2. แยกสถานประกอบการ และแยกการบริหารงานของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากกันอย่างชัดเจน หรือ
   3. แยกรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการทั้ง 2 ประเภทออกจากกัน เช่น แยกการจัดซื้อ แยกการออกใบกำกับภาษี แยกการใช้สินทรัพย์หรือบริการ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดการเฉลี่ยภาษีซื้อให้เหลือเฉพาะที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้จริงๆเท่านั้น

https://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538724893&Ntype=134




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี