บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

รู้ทันกฎหมาย - เสียภาษีโรงเรือน
รู้ทันกฎหมาย - เสียภาษีโรงเรือน
มีตึกรามบ้านช่องห้องแถวให้คนเช่าเรามีหน้าที่ต้องเสียภาษีสองอย่าง คือ ภาษีเงินได้ที่คนเช่าจ่ายให้มา กับ ภาษีโรงเรือนที่เป็นภาษีท้องถิ่น และต้องมีการส่งบิลเรียกเก็บที่เรียกเป็นภาษาทางการว่าหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่ โดยเสียเพียง ปีละครั้ง เจ้าของอาจตกลงกันว่าตึกแถวชุดนี้ฉันให้พี่นำไปหาประโยชน์ได้ แต่ต้องจ่ายภาษีทั้งหลายเอาเอง หรือผู้ให้เช่าอาจผลักภาระนี้ให้กับ คนเช่ารับเหมาไปจ่ายเองก็ได้ หรือถ้าให้เช่าช่วงเป็นทอดต่อลงไป จะตกลงกันให้คนเช่าช่วงเป็นคนจ่ายภาษีส่วนนี้ให้ กฎหมายก็ไม่ว่ากระไรจะตกลงอย่างไรเป็นเรื่องส่วนตัวต่อเมื่อทางการไม่ได้รับเงินค่าภาษีโรงเรือนตามจำนวนและตามกำหนดที่ออกจดหมายแจ้งไปเมื่อไรนั่นแหละถึงจะว่ากล่าวเอาความเราได้เมื่อนั้น งานนี้คนที่แบกรับเต็มๆคือ เจ้าของโรงเรือน ไม่ว่าคนเช่าลืมจ่ายหรือด้วยเหตุขัดข้องอื่นใด ก็ไม่สามารถโยนกลองโยนลูกอย่างไรให้พ้นตัวได้ เพราะกฎหมายท่านกำหนดคนรับผิดชอบไว้ชัดโดยจัดเอาไว้ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของโรงเรือนต่อให้มีปัญหากับคนเช่าเพราะเขาผิดสัญญา ไม่เพียงไม่จ่ายค่าภาษีโรงเรือนเท่านั้น ผู้เช่ายังปิดห้องหลบหนีไปไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าอีกด้วยก็ตามที ก็ต้องไปทวงหนี้ติดตามกันเอาเอง ทีนี้รายที่สัญญาเช่าครบกำหนดไปแล้วแต่ไม่ยอมออกไป จนต้องฟ้องร้องขับไล่ค่าเช่าก็ไม่ได้เพราะไม่ได้ให้ใครเช่าต่อ แบบนี้มีสงสัยว่าทำไมยังเรียกเก็บภาษีอีก เหตุผลก็มีอยู่ว่าถ้ามีสิ่งปลูกสร้างทางการเขาตั้งเป็นหลักเอาไว้ให้ต้องเสียภาษีโรงเรือนแม้แต่จะเปิดเป็นบริษัทของตัวเองไม่ได้ให้ใครเขาเช่าก็ต้องจ่ายภาษี เว้นแต่จะเป็นบ้านที่มีไว้อยู่เองหรือปิดตายไว้แต่ให้คนเฝ้า โดยไม่ได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้า ก็ได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นการที่มีตึกแถวไว้แม้จะไม่ได้คนเช่าใหม่ก็ย่อมต้องเสียภาษีโรงเรือนต่อไปตามปกติ โดยคำนวณภาษีเอาจากค่ารายปีที่ดูจากเงินที่ควรได้หากจะให้เช่าทรัพย์สินนั้นเป็นเกณฑ์ถ้ามีค่าเช่าก็เอาเป็นหลักคำนวณค่ารายปีได้เลย บางรายหัวใสจัดสรรสัญญาเช่าโดยเรียกเก็บเงินกินเปล่าก้อนหนึ่ง แล้วเก็บค่าเช่าเดือนละไม่กี่สตางค์ จะได้จ่ายภาษีโรงเรือนตามเงินค่าเช่าที่ใส่ไว้ในสัญญา เป็นเจตนาเลี่ยงภาษีเห็นๆ ทำได้แต่จะรอดหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง ภาษีแบบนี้เป็นภาษีแบบประเมิน คือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นคนประเมินเอาว่าทรัพย์สินนี้น่าจะหาประโยชน์ได้ปีละเท่าไร ต่อให้เขียนในสัญญาเช่าอย่างไรหากไม่สมเหตุผล เจ้าหน้าที่ก็ประเมินจากฐานที่เห็นว่าสมควรได้ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องอุทธรณ์ฟ้องร้องกันต่อไปอีกยืดยาว เงินกินเปล่าเหล่านั้นศาลท่านก็ถือว่าเป็นค่าตอบแทนจากการให้เช่าซึ่งนับเป็นการชำระค่าเช่าล่วงหน้าที่ถูกนำมาคำนวณเป็นค่ารายปีด้วยก็ถือเสียว่าช่วยชาติช่วยบำรุงท้องถิ่นเข้าไว้ ได้ประโยชน์จากทรัพย์สินก็แบ่งๆ ให้รัฐไป ถ้าไม่อยากสละทรัพย์เพื่อชาติขนาดนั้นก็อ่านข้อยกเว้นของกฎหมายแล้วทำตัวให้เข้าข่ายในเกณฑ์แล้วกัน ที่มา : หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันที่ 17 สิงหาคม 2550 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |