ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ฎีกาภาษี ค่าจ้างจากการรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศ ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่

 

                           ฎีกาภาษี

ค่าจ้างจากการรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศ ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่

 

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 12466/2547

บริษัท ฮ. จำกัด โจทก์

กรมสรรพากร จำเลย

ข้อเท็จจริง

โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับจ้างและให้บริการออกแบบระบบประมวลผลโปรแกรมที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ทำสัญญา การจ้างงานในการผลิตโปรแกรมกับบริษัทฮีโน่ มอเตอร์ส จำกัด ลูกค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตามสัญญาการจ้างงานในการผลิตโปรแกรมเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 7 ถึง 10 (คำแปลเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 11 ถึง 15 และ ล.1 แผ่นที่ 95 ถึง 99) โดยมี ข้อสัญญาว่าโปรแกรมที่โจทก์เขียนขึ้นตามสัญญาลูกค้าเป็นผู้กำหนดรูปแบบและรายละเอียดต่างๆทั้งหมด ค่าจ้างคิดตามจำนวนงานที่ลูกค้าแจ้งในใบสั่งงานซึ่งโจทก์จัดทำเสร็จ กับส่งมอบให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ และลูกค้าได้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมดังกล่าว

             

โจทก์เขียนโปรแกรมดังกล่าวตามใบสั่งงานรวม 30 ฉบับ ส่งมอบให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ ออกใบกำกับสินค้าและใบกำกับภาษีให้ลูกค้าในเดือนเมษายน 2539 และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 สำหรับเดือนเมษายน 2539 โดยในส่วนยอดขายหรือรายรับจากการเขียนโปรแกรม ดังกล่าว จำนวน 2,261,333.63 บาท โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 80/1 ส่วนยอดขายหรือรายรับอื่นๆ โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 คำนวณแล้วโจทก์มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายโจทก์จึงขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินจำนวน 88,030.10 บาท ตามสำเนาแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า-เพิ่ม ภ.พ.30 เอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 355

ต่อมาเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ายอดขายหรือรายรับจำนวน 2,261,333.63 บาท ดังกล่าว ไม่ใช่กรณีที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 แต่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใน อัตราร้อยละ 7 เจ้าพนักงานประเมินจึงแจ้งการประเมินแก่โจทก์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2543 ให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดขายหรือรายรับดังกล่าวเป็นจำนวน 158,293.35 บาท พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนทั้งสิ้น 435,306.00 บาท ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.73.1 เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 20 (ล.2 แผ่นที่ 38) โดยอธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินได้และเจ้าหน้าที่ของจำเลยมีหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากรตามหมาย จ.1 แผ่นที่ 22 แจ้งแก่โจทก์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีตาม ที่ขอไว้ในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 เอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 355

โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามคำอุทธรณ์เอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 34 ถึง 37 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยว่า ยอดขายที่โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 เป็นค่าตอบแทนในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ลูกค้าในต่างประเทศเป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 แต่กรณีมีเหตุอันควรผ่อนผันจึงลดเบี้ยปรับลงร้อยละ 50 คงให้โจทก์เสียภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมจำนวน 356,160.04 บาท ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์เอกสารหมาย

จ.1 แผ่นที่ 21 (ล.2 แผ่นที่ 8) โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางโดยฟ้องคดีนี้

ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

คำวินิจฉัยศาลฎีกา

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของ จำเลยว่า ยอดขายหรือรายรับของโจทก์ใน เดือนเมษายน 2539 จำนวน 2,261,333.63 บาท ที่โจทก์ได้รับจากบริษัทฮีโน่ มอเตอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตามสัญญาการจ้างงานในการผลิตโปรแกรม เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 7 ถึง 10 (คำแปลเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 11 ถึง 15 และ ล.1 แผ่นที่ 95 ถึง 99) เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 ตามการประเมินของเจ้า- พนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่

พิเคราะห์แล้ว ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า เงิน ดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจถือได้ว่าเป็นค่าขายเทคโนโลยีหรือค่าใช้เทคโนโลยี หรือเป็นการให้ใช้สิทธิในงานวรรณกรรม จึงถือเป็นค่าแห่ง-ลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) ไม่เข้าลักษณะการให้บริการที่ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราภาษีร้อยละ 0 ตามหนังสือตอบข้อหารือที่ กค 0811/พ.1501 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2542 นั้น

เห็นว่าแม้งานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ทำให้แก่บริษัทฮิโน่มอเตอร์ จำกัด จะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว และอาจโอนลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นได้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 8 และมาตรา 17 แต่มาตรา 10 ของพระราช-บัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติว่า "งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่นให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น"

ซึ่งหมายความว่า ในกรณีที่งานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายได้ถูกทำขึ้นโดยการว่าจ้างผู้ว่าจ้างเป็น ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้นโดยผลของกฎหมาย ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นหามีลิขสิทธิ์ในงานนั้นไม่ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างเป็นอย่างอื่น ผู้สร้างสรรค์งานจึงไม่จำต้องเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์ขึ้นเสมอ ส่วนผู้มีลิขสิทธิ์ก็อาจโดยการเป็นผู้ว่าจ้างไม่ใช่เป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยตนเอง หรือไม่ใช่ผู้รับโอนสิทธิ หรือได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจาก ผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิเดิมก็ได้ จำเลย จึงยกเอาเหตุที่สัญญาการจ้างงานในการผลิตโปรแกรมระหว่างโจทก์กับบริษัทฮีโน่ มอเตอร์ส จำกัด ระบุให้บริษัทฮีโน่มอเตอร์ส จำกัด เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในโปรแกรมที่โจทก์เขียนขึ้นเพียงประการเดียวมาเป็นข้อสรุปว่าสัญญาดังกล่าวเป็นกรณี ที่โจทก์ขายลิขสิทธิ์ในโปรแกรมที่โจทก์เขียนขึ้น ให้แก่บริษัทดังกล่าวหาได้ไม่

สำหรับการใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1 บัญญัติว่า "ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

(1) ...

(2) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

การให้บริการ..." และอธิบดีกรมสรรพากรได้กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) เรื่องกำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ความว่า "ข้อ 1 ต้องเป็นการให้บริการรับจ้างทำของให้กับผู้ประกอบการในต่างประเทศ โดยผู้ให้บริการจะต้องกระทำกิจการอันเป็นสาระสำคัญของการรับจ้างทำของในประเทศไทยและได้ส่งผลของการให้บริการรับจ้างทำของนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด แต่ไม่รวมถึงการให้บริการจัดนำเที่ยวในต่างประเทศ

ข้อ 2 การให้บริการตามข้อ 1 ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

ข้อ 3 ..."

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทฮีโน่มอเตอร์ส จำกัด ได้ทำ เป็นหนังสือ โปรแกรมที่ผลิตตามสัญญาโจทก์ทำการผลิตในประเทศไทย โดยบริษัทดังกล่าวเป็นผู้กำหนดรูปแบบและรายละเอียดต่างๆ และโจทก์ส่งมอบโปรแกรมที่ผลิตให้แก่บริษัท ดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายของต่างประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กับไม่ปรากฏว่าได้มีการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1(2) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 จึงต้องใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดขายหรือรายรับของโจทก์ที่ได้รับตามสัญญาดังกล่าว สำหรับบันทึกข้อความตอบข้อหารือที่ กค 0811/พ.1501 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2542 เป็น เพียงความเห็นของเจ้าหน้าที่ของจำเลย และ ไม่ปรากฏเหตุผลประกอบความเห็นดังกล่าว แต่อย่างใด จึงรับฟังไม่ได้

ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานให้เห็นว่าโปรแกรมที่โจทก์ผลิตให้แก่บริษัทดังกล่าวไม่ได้มีการนำมาใช้ในประเทศไทยนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ส่งมอบโปรแกรมที่ผลิตขึ้นให้แก่บริษัทดังกล่าวในต่างประเทศ หากมีการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้เห็นว่ามีข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะให้โจทก์นำสืบถึงสิ่งที่ไม่มี เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้ปรากฏความข้อนี้จึงรับฟังไม่ได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

ข้อคิดเห็น

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นตามปกติคืออัตราร้อยละ 10 (ประมวลรัษฎากร มาตรา 80) แต่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 คือวันที่ 30 กันยายน 2553 มีพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ ลดอัตราเหลือเพียงร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป ใช้อัตราร้อยละ 10 ตามปกติ เว้นแต่จะมีการขยายระยะเวลาออก ไปอีก อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการส่งเสริมการ ส่งออกจึงมีการใช้อัตราร้อยละ 0 สำหรับการ ส่งออกสินค้าและบริการไปต่างประเทศ (ประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1)

การส่งออกบริการนั้นได้แก่ การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (ประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1(2)) ขอให้สังเกตว่าการส่งออกบริการที่ผู้ส่งออกจะได้รับสิทธิ เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ต้องเป็นการส่งออกบริการตามประเภทที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ได้กำหนดให้เฉพาะการรับจ้างทำของเป็นการบริการที่ส่งออกแล้วได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 เท่านั้น การส่งออกบริการประเภทอื่น เช่น การที่เจ้าของลิขสิทธิ์ในประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทในประเทศอื่นใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของตนจึงไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

คดีนี้โจทก์รับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่บริษัท ฮ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล ที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่นและมีสำนักงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยไม่มีข้อตกลงว่างานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวให้ตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็น ผู้สร้างสรรค์ แต่อนุญาตให้ใช้บริษัท ฮ. ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวจึงตกเป็นของบริษัท ฮ. ผู้ว่าจ้างตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 10 ที่บัญญัติว่า "งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่นให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น" ฉะนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากบริษัท ฮ. จึงเป็นเงินค่าจ้างทำของ ไม่ใช่ค่าแห่งลิขสิทธิ์ โจทก์จึงได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(2) ประกอบประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2543 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป ตามประกาศฉบับใหม่นี้ ข้อ 2 ระบุว่า "กำหนดให้การประกอบกิจการดังต่อไปนี้เป็นการให้บริการที่กระทำ ในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวล-รัษฎากร

(1) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด

การให้บริการตามวรรคหนึ่งหมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่ไม่รวมถึงการให้บริการจัดนำเที่ยวในต่างประเทศ"

ตามประกาศฉบับใหม่การส่งออกบริการทุกประเภทยกเว้นการให้บริการจัดนำเที่ยวในต่างประเทศจึงได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ต่างกับประกาศฉบับเดิมที่จำกัดเฉพาะการ ให้บริการรับจ้างทำของให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเท่านั้นที่ถือเป็นการส่งออกบริการอัน จะได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

การให้บริการนั้นหมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็น การขายสินค้า ซึ่งคำว่า "สินค้า" นั้น ประมวล-รัษฎากร มาตรา 77/1(9) ให้หมายความว่า "ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้หรือเพื่อการใดๆ และให้หมายความรวมถึงสิ่งของ ทุกชนิดที่นำเข้า"

ในกรณีของทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property ) หากเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาได้โอนขายทรัพย์สินทางปัญญาของตนให้แก่บุคคลอื่นย่อมถือเป็นการขายสินค้าไม่มีรูปร่าง เช่น การโอนขายลิขสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นย่อมถือเป็นการขายสินค้าไม่มี รูปร่าง ไม่ใช่การให้บริการ หากเป็นการโอนขายให้บุคคลอื่นในต่างประเทศ ย่อมถือเป็นการ ส่งออกสินค้า ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1(1) แต่ถ้าเป็นกรณีเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นได้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตน เช่น อนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ (Copyright Licensing Agreement) ไม่ถือเป็นการขายสินค้าไม่มีรูปร่าง แต่ถือเป็นการให้บริการอย่างหนึ่ง กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยอนุญาต ให้บุคคลอื่นในต่างประเทศได้ใช้ทรัพย์สิน- ทางปัญญาของตนจึงเป็นการส่งออกบริการตามมาตรา 80/1(2) ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 0 เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ในปัจจุบันไม่ว่า จะเป็นการโอนขายทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ ผู้ซื้อในต่างประเทศ การอนุญาตให้บุคคลอื่น ในต่างประเทศได้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา หรือการรับจ้างบุคคลอื่นในต่างประเทศสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วส่งไปให้บุคคลนั้นในต่างประเทศ ย่อมถือเป็นการส่งออกอันจะได้ รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ดังนั้น คดีนี้ถ้าเกิดขึ้นในปัจจุบันกรมสรรพากรน่าจะไม่โต้แย้งว่าค่าตอบแทนนั้นเป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์เหมือนกับที่ โต้แย้งในคดีนี้

ที่มา : สรรพากรสาส์น




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี