บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

คณะบุคคล... อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม
คณะบุคคล...อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดหน่วยภาษีที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้จำนวน 4 หน่วย อันได้แก่ บุคคลธรรมดาผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล จะช่วยให้กิจการมีเงินลงทุนมากขึ้น และในแง่ของการตัดสินใจจะรอบคอบมากกว่าการดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาคนเดียว เพราะมีการร่วมกันตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน รวมทั้งจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวนหนี้สินนั้นอีกด้วย เรื่องจากปกฉบับนี้จึงได้นำเสนอภาระหน้าที่การเสียภาษีของคณะบุคคลและแนวคำวินิจฉัยที่น่าสนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างรอบด้านในการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง ภาระภาษี 1. ความหมายของ คณะบุคคล ในทางทฤษฎีภาษีอากร จะพบว่าประมวลรัษฎากรมิได้ให้คำนิยามของคำว่าคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น จึงต้องใช้ความหมายโดยเทียบเคียงจากคำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่วางหลักไว้ว่าห้าง หุ้นส่วน คือ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น เมื่อคณะบุคคลเป็นหน่วยภาษีที่กำหนดขึ้นตามประมวลรัษฎากรเพื่อให้ครอบคลุมการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงอาจให้คำนิยามได้ว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น ส่วน คณะบุคคล หมายถึง บุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคน ขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน แต่ไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำนั้น อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติมักจะพบว่า การให้ความหมายคำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล และคำว่าคณะบุคคล จะมีทิศทางที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยมิได้แยกความแตกต่างกันที่วัตถุประสงค์การแบ่งปันกำไรดังได้กล่าวข้างต้น ซึ่งการให้ความหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันดังกล่าวก็มิได้ทำให้ผล ของการชำระภาษีเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด เพราะไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือจะเป็นคณะบุคคลก็จะมีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกัน และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเงินได้ที่ได้รับ ก็จะเป็นเลขเดียวกัน ปัญหาบางประการเกี่ยวกับคณะบุคคลที่ควรได้ทำความเข้าใจคือ การรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งคณะบุคคลมีข้อจำกัดหรือไม่ ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอดังนี้ ก. นิติบุคคลสามารถร่วมกับบุคคลธรรมดาจัดตั้งคณะบุคคลได้หรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่า การจัดตั้งคณะบุคคลจะต้องเป็นการรวมตัวกันระหว่างบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป นิติบุคคลไม่อาจมาจัดตั้งคณะบุคคลร่วมกับบุคคลธรรมดาได้ เนื่องจากหากมีนิติบุคคลมาร่วมจัดตั้งด้วยแล้ว ฐานะของการร่วมทุนจะเปลี่ยนไปเป็นกิจการร่วมค้าทันที ข. สามีภริยาจะร่วมกันจัดตั้งเป็นคณะบุคคลได้หรือไม่ ในประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นว่า ตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ถือว่าเงินได้ของภริยาให้เป็นเงินได้ของสามีในกรณีที่ความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษีดังนั้น สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจจัดตั้งเป็นคณะบุคคลได้โดยปริยาย แต่อย่างไรก็ดี หากเป็นการจัดตั้งคณะบุคคลที่ประกอบด้วยสามี ภริยา และบุตร แล้วก็ไม่ถือว่ากรณีมีข้อจำกัดแต่ประการใด
ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาอยู่ ทั้งนี้ คณะบุคคลจะต้องแนบเอกสารดัง ต่อไปนี้ไปพร้อมกับแบบคำร้องการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทคณะบุคคล (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.2)
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นเสมือนเป็นบุคคลคนเดียวไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคน ไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย นอกจาก คณะบุคคล จะมีหน้าที่เสียภาษีเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลที่แยกออกจากบุคคลธรรมดาทั่วไปแล้ว เมื่อประกอบธุรกิจมีผลกำไร ในแต่ละปี แล้วนำกำไรของคณะบุคคลมาแบ่งให้กับบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคล ส่วนแบ่งกำไร ดังกล่าวก็ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (14) เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลที่อยู่ในคณะบุคคลไม่ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากการแบ่งกำไรจากคณะบุคคลไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ (14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม
บทสรุป อาจกล่าวได้ว่าหน่วยภาษีที่เรียกว่า คณะบุคคล นั้น เป็นหน่วยภาษีที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองซึ่งในเบื้องต้นอาจทำให้มองภาพว่าน่าจะมีความซับซ้อนและยุ่งยากโดยเฉพาะในการคำนวณภาษีเงินได้ ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างไปจากหน่วยภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดาบ้างในบางประเด็น แต่หากได้ศึกษาทำความเข้าใจอย่างรอบด้านก็จะพบว่ามิได้มีข้อยุ่งยากต่อการคำนวณภาษีแต่ประการใด จึงหวังว่าเนื้อหาที่ได้นำเสนอมาข้างต้นคงได้ก่อให้เกิดความเข้าใจในประเด็นต่างๆ แก่ท่านผู้อ่านเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องและสนับสนุนให้เกิดธุรกรรมในรูปแบบของคณะบุคคลอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมในท้ายที่สุด
ที่มา : สรรพากรสาส์น |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |