ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ฎีกาภาษี ผู้ชำระบัญชีต้องร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรของบริษัทที่ตนเป็นผู้ชำระบัญชีหรือไม่

 

                          ฎีกาภาษี

 ผู้ชำระบัญชีต้องร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรของบริษัทที่ตนเป็นผู้ชำระบัญชีหรือไม่

 

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2546 (กรมสรรพากร โจทก์ บริษัท อ. จำกัด ที่ 1 นาย ป. ที่ 2 จำเลย)

     ข้อเท็จจริง

     จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการซื้อขายเพชรพลอยทั้งเจียระไน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2540 เจ้าพนักงานในสังกัดของโจทก์ได้ตรวจพบว่า จำเลยที่ 1 จำหน่ายสินค้ามูลค่า 1,884,585.89 บาท แล้วไม่ได้ลงบัญชีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเลยที่ 1 จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 131,921.01 บาท เบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนหนึ่งเท่าของภาษีที่ต้องชำระ เบี้ยปรับตามมาตรา 89(10) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนสองเท่าของภาษีที่ต้องชำระและต้องเสียภาษีเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ จำเลยที่ 1 ตกลงชำระภาษีและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ก่อน ส่วนเบี้ยปรับจำเลยที่ 1 จะร้องขอ ต่ออธิบดีกรมสรรพากรให้งดหรือลดเบี้ยปรับ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและเงินเพิ่ม โดยหมายเหตุไว้ด้วยว่าเบี้ยปรับอยู่ระหว่างการขอลดหรืองดตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีตามที่ถูกประเมินแล้ว

    ต่อมาเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรสั่งลดเบี้ยปรับให้จำเลยที่ 1 บางส่วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ให้ชำระเบี้ยปรับ 145,113 บาท จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้วไม่ชำระค่าภาษี โจทก์จึงอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ตามบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสีลม ซึ่งมีเงินฝากอยู่ 4,171.36 บาท ต่อมาธนาคารส่งเงินจำนวน ดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำไปหักหนี้ค่าภาษีแล้วยังมีค่าภาษีค้างชำระ 140,941.64 บาท

     จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2541 งบดุลของจำเลยที่ 1 ณ วันเลิกกิจการเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2541 จำเลยที่ 1 มีสินทรัพย์เพียงอย่างเดียวคือ เงินสด 7,820 บาท สำหรับหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 1 เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้วเป็นเงิน 2,000,000 บาท ขาดทุนสะสม 1,992,180 บาท รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 7,820 บาทตามเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 61 ส่วนงบกำไรขาดทุนของจำเลยที่ 1 สำหรับรอบบัญชีสุดท้ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2541 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีรายได้ สำหรับค่าใช้จ่ายมีเงินเดือนและค่าจ้าง 142,000 บาท ทรัพย์สินตัดจ่ายมี 2 รายการ คือลูกหนี้กรมสรรพากร 801,223 บาท ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี 3,000 บาท รวม 804,223 บาท ขาดทุนสุทธิ 946,223 บาท ขาดทุนสะสมยกมา 1,045,957 บาท ขาดทุนสะสมยกไป 1,992,180 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 62

             

     จำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีวันที่ 20 สิงหาคม 2541 โดยมิได้ชำระค่าภาษีจำนวน 140,941.64 บาท แก่โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามไปยังจำเลยที่ 1 ผ่านจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับชำระ โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันชำระหนี้ค่าภาษีอากรจำนวนดังกล่าว

     จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องหลังการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีไปแล้วถึง 2 ปี จำเลยที่ 1 ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรตามฟ้อง เพราะมิได้มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของผู้ที่ตนเข้าไปเป็นผู้ชำระบัญชี

     ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภาษีอากร ตามฟ้อง ยกฟ้องจำเลยที่ 2

    • โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาขอให้พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรตามฟ้องด้วย

    ปัญหาข้อกฎหมาย

   จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรของบริษัทที่ตนเป็นผู้ชำระบัญชีหรือไม่?

     คำวินิจฉัยศาลฎีกา

     ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า "กรณีนี้โจทก์แจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 และวันที่ 19 มกราคม 2541 ก่อนจดทะเบียนเลิกบริษัท ซึ่งหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1270 บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีต้องทำรายงานการชำระบัญชีแสดงว่าการชำระบัญชีได้ดำเนินไปอย่างใด และได้จัดการทรัพย์สินของบริษัทไปประการใด เมื่อการชำระบัญชีกิจการของบริษัทสำเร็จลงแล้วให้เรียกประชุมใหญ่เพื่อเสนอรายงานนั้นและชี้แจงกิจการต่อที่ประชุม เมื่อที่ประชุมใหญ่ได้อนุมัติรายงานนั้นแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องนำข้อความที่ได้ประชุมนั้นไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันประชุม เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว ดังนี้ ให้ถือว่าเป็นที่สุดแห่งการชำระบัญชี

ประกอบกับประมวลรัษฎากร มาตรา 72 บัญญัติว่า ในกรณีที่บริษัทเลิกกัน ให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการมีหน้าที่ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบการเลิกของบริษัทนั้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก นอกจากนี้ตามความในวรรคสองและวรรคสาม ก็บัญญัติให้ ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการมีหน้าที่และความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีตามแบบและภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 68 และมาตรา 69 โดยอนุโลม ถ้าไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้และได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาเห็นสมควรจะสั่งให้ขยายระยะเวลาออกไปอีกก็ได้ เฉพาะกรณีที่มีการชำระบัญชี อธิบดีจะสั่งให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปอีกด้วยก็ได้ นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1253 บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีบอกกล่าวแก่ประชาชนโดยประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่สองครั้งเป็นอย่างน้อย ว่าบริษัทได้ เลิกกันแล้ว และให้ผู้เป็นเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่น คำทวงหนี้แก่ผู้ชำระบัญชีและส่งคำบอกกล่าวอย่างเดียวกันเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายทุกๆ คนบรรดามีชื่อปรากฏสมุดบัญชีหรือเอกสารของบริษัทนั้นภายใน สิบสี่วันนับแต่ได้เลิกบริษัท

    แต่ตามทางนำสืบของจำเลยที่ 2 หาปรากฏว่าได้มีการกระทำดังกล่าวไม่ ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ได้กระทำหน้าที่ตามที่กฎหมายข้างต้นกำหนดไว้ ย่อมจะต้องทราบถึงหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 แต่ถ้าหากไม่อาจทราบได้ก็ต้องนำสืบให้เห็นได้ว่าเป็นเพราะเหตุใด ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็มิได้นำสืบให้เห็นเช่นนั้น และตามข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกบริษัทวันที่ 2 กรกฎาคม 2541 และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีวันที่ 20 สิงหาคม 2541 ห่างกันเพียงเดือนเศษเท่านั้น ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 นำสืบมา จึงมีพิรุธน่าสงสัยว่าไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ไปโดยสุจริตตามกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น

     ดังนั้นเมื่อชำระบัญชีแล้วจำเลยที่ 1 ยังมีเงินหรือทรัพย์สินอื่นเหลืออยู่ แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์ แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 หรือวางเงินเท่าจำนวนหนี้นั้นตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดที่มิได้มาทวงถามให้ใช้หนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1264 จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีในวงเงินไม่เกิน 7,820 บาท ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น

            

     พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน ไม่เกิน 7,820 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ"

     ข้อคิดเห็น

    1. เมื่อมีการเลิกบริษัทจะต้องมีการชำระบัญชีเสมอ ไม่ว่าบริษัทที่เลิกนั้นจะเป็นบริษัทเอกชนหรือบริษัทมหาชน การชำระบัญชีก็คือการชำระสะสางกิจการของบริษัทที่ค้างอยู่ให้เสร็จ สิ้นไป รวบรวมทรัพย์สิน ขายทรัพย์สิน ติดตามทวงถามหนี้สิน ดำเนินคดีหรือต่อสู้คดี ชำระหนี้ และแบ่งเงินหรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ภายหลังชำระหนี้แล้วให้แก่ผู้ถือหุ้นตลอดจนกระทำการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เสร็จสิ้นไป

    การชำระบัญชีต้องกระทำโดยบุคคลที่เรียกว่า "ผู้ชำระบัญชี (Liquidator)" ถ้าบริษัทที่เลิกเป็นบริษัทเอกชนผู้ชำระบัญชีจะได้แก่กรรมการของบริษัท เว้นแต่ข้อบังคับของบริษัทจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น กำหนดให้ผู้สอบบัญชีเป็นผู้ชำระบัญชี ก็ต้องเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท ในกรณีที่ไม่มีผู้ชำระบัญชีดังกล่าว พนักงานอัยการหรือผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ชำระบัญชีได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251)

    ผู้ชำระบัญชีบริษัทเอกชนจะต้องขอจดทะเบียนเลิกบริษัทต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท ซึ่งการจดทะเบียนนี้จะต้องระบุชื่อผู้ชำระบัญชีทุกคนด้วย นอกจากนี้ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัทหรือวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อยว่า บริษัทได้เลิกกันแล้วและให้ผู้เป็นเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชีและผู้ชำระบัญชีต้องทำจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์แจ้งให้ เจ้าหนี้ทุกๆคนที่มีชื่อปรากฏในสมุดบัญชีหรือเอกสารของบริษัททราบว่า บริษัทได้เลิกกันแล้วและให้เจ้าหนี้ดังกล่าวยื่นคำทวงหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี

    ผู้ชำระบัญชีต้องทำงบดุลขึ้นโดยเร็วที่สุด ที่เป็นวิสัยจะทำได้และส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ เมื่อผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนว่าถูกต้องแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นพิจารณาว่าจะให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือเลือกตั้ง ผู้ชำระบัญชีใหม่ขึ้นแทนที่ นอกจากนี้ก็เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติงบดุล และที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นจะสั่งให้ผู้ชำระบัญชีทำบัญชีตีราคาทรัพย์สินหรือให้การใดๆ ก็ได้ แล้วแต่ ที่ประชุมจะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อชำระสะสางกิจการของบริษัทให้เสร็จไป (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1253-1256)

   ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จสิ้นไปกับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทนั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250) นอกจากนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
        1) แก้ต่างว่าต่างในนามบริษัทไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา รวมทั้งการประนีประนอมยอมความ

        2) ดำเนินกิจการของบริษัทตามแต่จำเป็นเพื่อการชำระสะสางกิจการให้เสร็จไปด้วยดี

        3) ขายทรัพย์สินของบริษัท

        4) ทำการอย่างอื่นตามแต่จำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี

   ข้อจำกัดอำนาจของผู้ชำระบัญชีอย่างใดๆ จะอ้างเป็นสมบูรณ์ต่อบุคคลภายนอกไม่ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 - 1260)

   ถ้ามีผู้ชำระบัญชีหลายคน การใดๆ ที่ ผู้ชำระบัญชีกระทำย่อมไม่เป็นอันสมบูรณ์นอกจากผู้ชำระบัญชีทั้งหลายจะได้ร่วมกันกระทำ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือศาลจะได้กำหนดอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นในเวลาตั้งผู้ชำระบัญชี แต่มติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือคำสั่งของศาลที่ให้อำนาจผู้ชำระบัญชีทำการแยกกันได้นั้นต้องจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นลงมติหรือศาลมีคำสั่ง

   ค่าธรรมเนียม ค่าภาระติดพัน และค่า ใช้จ่าย ซึ่งต้องเสียโดยการในการชำระบัญชีนั้น ผู้ชำระบัญชีจะต้องจัดการใช้ก่อนหนี้เงินรายอื่นๆ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1261 - 1263)

   ถ้าเจ้าหนี้คนใดมิได้ทวงถามให้ผู้ชำระบัญชีชำระหนี้ ผู้ชำระบัญชีจะนิ่งเฉยไม่ได้ ผู้ชำระบัญชีจะต้องวางเงินเท่าจำนวนหนี้นั้นต่อสำนักงานวางทรัพย์ กระทรวงยุติธรรม แทนการชำระหนี้

   ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงิน ค่าหุ้นที่ยังค้างอยู่ก็ได้ เมื่อผู้ถือหุ้นได้รับแจ้งแล้วผู้ถือหุ้นต้องชำระทันที ซึ่งการเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างนั้นในทางปฏิบัติผู้ชำระบัญชีจะทำก็ต่อเมื่อทรัพย์สินของบริษัทที่มีอยู่ไม่พอชำระหนี้

   ทรัพย์สินของบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะต้องเอาไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทก่อน จะนำไปแบ่งให้ผู้ถือหุ้นไม่ได้ จะเอาไปแบ่งได้ต่อเมื่อมีทรัพย์สินเหลือจากการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกรายแล้ว ถ้าผู้ชำระบัญชีเห็นว่าทรัพย์สินของบริษัทมีไม่พอชำระหนี้สินที่มีอยู่ ผู้ชำระบัญชีต้องร้องขอต่อศาลทันทีเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัท ล้มละลาย

   ผู้ชำระบัญชีต้องทำรายงานยื่นต่อสำนัก งานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัททุก 3 เดือน เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีได้จัดการชำระบัญชีไปอย่างไรบ้าง ซึ่งรายงานนี้ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะขอตรวจดูได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม และถ้าการชำระบัญชีไม่สามารถทำให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี ผู้ชำระบัญชีจะต้องเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นในเวลาสิ้นปีทุกปีและต้องทำรายงานยื่นต่อที่ประชุมว่าได้จัดการชำระบัญชีไปอย่างไรบ้าง ทั้งแถลงให้ทราบถึงความเป็นไปของบัญชีโดยละเอียดด้วย

   เมื่อการชำระบัญชีเสร็จสิ้น ผู้ชำระบัญชีต้องทำรายงานการชำระบัญชีแสดงว่าการชำระบัญชีนั้นได้ดำเนินไปอย่างใดและได้จัดการทรัพย์สินของบริษัทไปประการใด แล้วเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อเสนอรายงานนั้น ถ้าที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอนุมัติรายงานนั้น ผู้ชำระบัญชีต้องนำผลการอนุมัตินั้นไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 14 วันนับแต่วันประชุม เมื่อจดทะเบียนแล้วการชำระบัญชีจึงจะถือได้ว่าสิ้นสุดลงแล้ว

   เมื่อการชำระบัญชีสิ้นสุดลงแล้วผู้ชำระบัญชีต้องจัดการมอบสมุดบัญชีและเอกสารทั้งหมดของบริษัทให้แก่นายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมดังกล่าว และนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีหน้าที่เก็บรักษาสมุดบัญชีและเอกสารดังกล่าวไว้มีกำหนด 10 ปี นับแต่วัน จดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชี สมุดบัญชีเอกสารเหล่านี้บุคคลผู้มีส่วนได้มีสิทธิตรวจดูได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1264 - 1271)

   ในการฟ้องคดีเรียกหนี้สินซึ่งบริษัท หรือ ผู้ถือหุ้น หรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้ เจ้าหนี้จะต้องฟ้องภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วัน จดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชี (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272)

   2. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 และ 1264 ผู้ชำระบัญชีจะต้องจัดการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทที่ตนชำระบัญชี หากเจ้าหนี้คนใดไม่ทวงถามให้ชำระหนี้ ผู้ชำระบัญชีจะนิ่งเฉยไม่ได้ ผู้ชำระบัญชีต้อง วางเงินเท่าจำนวนหนี้นั้นต่อสำนักวางทรัพย์ กระทรวงยุติธรรมแทนการชำระหนี้ เมื่อกฎหมายกำหนดหน้าที่ไว้เช่นนี้ หากผู้ชำระบัญชีรู้ว่าบริษัทที่ตนชำระบัญชีเป็นหนี้เจ้าหนี้รายใด แต่ผู้ชำระบัญชีไม่จัดการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายนั้น หรือจัดการวางทรัพย์แทนการชำระหนี้ ผู้ชำระบัญชีย่อมได้ชื่อว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าหนี้รายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 422 เจ้าหนี้รายนั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ชำระบัญชีรับผิดชำระหนี้ให้แก่ตนได้ในวงเงินไม่เกินเงินหรือทรัพย์สินที่บริษัทนั้นเหลืออยู่

   คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรกรมสรรพากรโจทก์ แต่ไม่จัดการชำระหนี้หรือจัดการวางทรัพย์แทนการชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมได้ชื่อว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 422 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ในวงเงินไม่เกินเงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ยังเหลืออยู่    

โดย : ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม และ ดุลยลักษณ์ ตราชูธรรม  ที่มา : สรรพากรสาส์น




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี