บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

ไม่มีกำลังใจ... ทำอย่างไรดี
ไม่มีกำลังใจ... ทำอย่างไรดี
ท่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังคนอื่นพูดหรือบ่นอยู่เสมอว่า ไม่ค่อยมีกำลังใจจะทำอะไรเลย โดยความเป็นจริงแล้ว มนุษย์เราทุกคนเมื่อเกิดมาย่อมต้องการความรัก ความอบอุ่น ความสุขสมหวัง ความสำเร็จ ความร่ำรวย ตลอดจน ร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็มิใช่ว่าจะประสบกับความสุขสมหวังเสมอไป บางครั้งอาจจะต้องประสบกับความผิดหวัง ในสิ่งที่พึ่งปรารถนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม บางคนก็สามารถ แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ แต่ก็มีหลายรายที่ไม่สามารถปัญหาได้ตามที่คาดหวังไว้ ผู้ที่ขาดกำลังใจนั้น มักจะมีความรู้สึก เบื่อหน่าย ท้อแท้ หดหู่ เซื่องซึม ไม่กระตือรือร้นที่จะกระทำกิจกรรมใดๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านมีความรู้สึกขาดกำลังใจเช่นว่านี้ก็อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ จงพยายามค้นหา ใคร่ครวญ ตรึกตรอง พินิจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความผิดหวังหรือความล้มเหลวนั้นซึ่งสาเหตุของการหมดกำลังใจ มีได้หลายสาเหตุ ได้แก่ 1. ด้านร่างกาย อาจจะเป็นเพราะว่าร่างกายไม่สมประกอบ มีโรคประจำตัว เจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถทำงานได้เหมือนผู้อื่น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อจิตใจ ทำให้เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่ายหมดกำลังใจได้ 2. ด้านจิตใจ อาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัว คือรู้ตัวว่ามีปัญหาและรู้ว่าปัญหานั้นมีสาเหตุมาจากอะไร แต่ไม่สามารถขจัดหรือแก้ปัญหานั้นได้ จึงเกิดความไม่สบายใจเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่พึงปรารถนา หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว คือไม่รู้ว่าทำไมจึงไม่มีกำลังใจ เงินทองก็มีใช้ ตำแหน่งหน้าที่การงานก็ดี แต่ถ้าเราค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรองดู ก็จะรู้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร สาเหตุอาจจะอยู่ลึกๆ หรือฝังใจมาตั้งแต่เด็กจนเราอาจนึกไม่ถึงก็เป็นได้ เช่น มีความน้อยเนื้อต่ำใจในรูปร่างของตัวเอง 3. ด้านสังคม คือ ไม่มีใครรัก ไม่มีใครสนใจ เมื่อตนทำดีแล้ว แต่ไม่มีใครเห็นความดี เช่น ทำงานมาหลายปี แต่เจ้านายไม่เคยเห็นความดี หรือความสำคัญของตนเลย วิธีที่จะทำให้เกิดกำลังใจมีดังนี้ 1 ก่อนอื่นต้องพยายามหาสาเหตุเสียก่อนว่า การที่เราไม่มีกำลังใจนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร แล้วพยายามหาทางปรับปรุงแก้ไขและยอมรับเสีย จากวิธีที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะทำให้ท่านที่ขาดกำลังใจกลับมีกำลังใจขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะส่งผลทำให้ชีวิต ของคุณมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น บทความโดย : ธาริณี มาลัยมาตร์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |