ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



วางแผนเพื่อการเกษียณ (1)

 

                    วางแผนเพื่อการเกษียณ (1)

 

  การวางแผนเพื่อการเกษียณอายุงานเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะคนเรามีอายุยืนขึ้น และปัจจุบันลูกไม่สามารถเลี้ยงดูเราได้ดีเท่าสมัยก่อน

เพราะลูกๆ จะเอาตัวให้รอดยังยาก คงไม่สามารถที่จะดูแลพ่อแม่หลังเกษียณได้แน่นอน และบางคนก็ไม่มีลูก จึงต้องวางแผนพึ่งตัวเองค่ะ

                   

ทำไมต้องวางแผนเพื่อการเกษียณ การวางแผนเพื่อการเกษียณอายุงานนั้นไม่ใช่เพียงเฉพาะให้เราพอมีอาหารรับประทาน ดำรงชีวิตอยู่ได้เท่านั้น แต่เวลาวางแผนยังต้องตั้งเป้าหมายให้สามารถรักษาระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ผู้อยู่ อยู่ได้อย่างสบาย และมีมาตรฐานชีวิตในระดับที่ต้องการได้ ซึ่งระดับความต้องการของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน แผนการเกษียณจึงต้องเป็นแผนเฉพาะของแต่ละบุคคล

เห็นเพื่อนเก็บเงินเพื่อการเกษียณเดือนละ 1,000 บาทตั้งแต่อายุ 25 ปี เมื่อเริ่มทำงาน เราก็เก็บบ้างในจำนวนเท่ากัน แต่เรามาเริ่มเก็บเมื่ออายุ 40 ปี ก็จะทำให้เรามีเงินก้อนยามเกษียณอายุแตกต่างกันกับเพื่อนค่ะ เพราะเพื่อนอาจจะมีเงิน 899,815 บาท ในขณะที่เรามีเพียง 405,804 บาท ถ้าลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนปีละ 4% หรือถ้าลงทุนแล้ว ได้ผลตอบแทน 6% ต่อปี เพื่อนจะมีเงิน 1.37 ล้านบาท ในขณะที่เรามี 453,438 บาท

นอกจากนี้ ระดับการใช้ชีวิตของแต่ละคน ก็มีมาตรฐานต่างกัน หลายคนอาจจะใช้รถสาธารณะได้ แต่บางคนอาจจะต้องมีคนขับรถให้นั่ง ดังนั้นความต้องการใช้เงินหลังเกษียณก็จะแตกต่างกัน

การวางแผนเพื่อการเกษียณจะเริ่มจากการประมาณว่าเราคาดว่าจะต้องการใช้เงินต่อเดือนเท่าใด เมื่อเราเกษียณอายุงาน เพื่อความง่าย เราก็จะใช้ค่าเงินของปัจจุบันเป็นจุดเริ่มต้นในการคิด หมายถึงถ้าข้าวของราคาเท่าปัจจุบัน ท่านจะใช้เงินเดือนละเท่าไร หากเห็นว่าใช้เดือนละ 20,000 บาทก็น่าจะพอ ก็ตั้งเป้าว่าอยากจะได้เงินใช้เดือนละ 20,000 บาท แต่บางคนอาจจะต้องใช้ 50,000 บาทต่อเดือน ขอใช้ 20,000 บาทเป็นตัวอย่างก็แล้วกันนะคะ หากท่านจะใช้ 50,000 บาทท่านก็สามารถเอา 2.5 คูณเข้าไปได้

หากท่านนึกไม่ออกว่าจะใช้ตัวเลขอะไร ตำราฝรั่งเขาว่า เราจะใช้เงินหลังเกษียณประมาณ 50% ของรายได้ก่อนเกษียณ แต่คิดเป็นรายได้อาจจะยาก เพราะไหนจะต้องหักภาษีออกก่อนเพื่อให้เป็นรายได้สุทธิ ไหนจะต้องหักเงินออม ดิฉันแนะนำให้คิดง่ายๆ เป็น 50-70% ของเงินที่ใช้ก่อนเกษียณก็แล้วกันค่ะ เพราะค่าใช้จ่ายหลายอย่างจะลดลง เช่น ค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง แต่ค่าใช้จ่ายเรื่องนันทนาการและสุขภาพจะเพิ่มขึ้น หรือหากท่านอายุ 40 ปีขึ้นไป ท่านจะใช้วิธีประมาณการจากการใช้จ่ายในปัจจุบันก็ได้ค่ะ ว่าหากเราเกษียณแล้ว เราน่าจะใช้เงินประมาณเท่าไร

ทีนี้เนื่องจากเรามีอัตราเงินเฟ้อเงิน 20,000 บาท ณ ปัจจุบัน ที่เราอายุ 40 ปี ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ 3% พอถึงเวลาที่เราเกษียณในอีก 20 ปีข้างหน้า ก็จะเท่ากับ 36,415 บาท แปลว่าท่านต้องการใช้เงินเดือนละประมาณ 36,415 บาท ซึ่งเป็นค่าของเงิน ณ วันที่ท่านเกษียณค่ะ

ท่านต้องคาดการณ์ว่าท่านจะใช้ชีวิตอยู่หลังเกษียณไปอีกกี่ปี ในกรณีที่ท่านจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี ดิฉันแนะนำให้ใช้ 20-25 ปี (คือประมาณว่าท่านจะมีอายุขัยถึง 80-85 ปี) แต่ในกรณีที่ครอบครัวของท่านมีประวัติอายุยืน ท่านอาจจะต้องใช้ ตัวเลข อยู่ต่อหลังเกษียณถึง 30-35 ปี (คือประมาณว่าท่านจะมีอายุถึง 90-95 ปี) ตัวเลขนี้สำคัญ เพราะเราต้องตั้งเป้าหมายว่าท่านจะต้องออมเงินเท่าไรจึงจะพอใช้หลังเกษียณค่ะ ท่านที่วางแผนจะเกษียณก่อนอายุ 60 ปี ก็ต้องบวกจำนวนปีที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณเพิ่มขึ้นนะคะ

หลังจากนั้น ท่านต้องนำเงินที่ท่านจะใช้ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตหลังเกษียณมาคำนวณเป็นค่าเงิน ณ วันเกษียณ ซึ่งหากอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 3% ต่อปี เงิน 36,415 บาท (เทียบเท่าค่าเงินปัจจุบัน 20,000 บาท) ต่อเดือนที่ท่านต้องใช้หลังเกษียณเป็นเวลา 300 เดือน (25 ปี) จะเท่ากับ 7.68 ล้านบาท ณ วันที่ท่านเกษียณ (หากท่านจะใช้เดือนละ 50,000 บาท ท่านต้องมีเงิน 19.2 ล้านบาท ณ วันที่ท่านเกษียณ)

ตอนนี้ก็ถึงขั้นตอนของการวางแผนแล้วค่ะ ว่าถ้าต้องการเงิน 7.68 ล้านบาท ณ วันที่เกษียณ คืออีก 20 ปีข้างหน้า ท่านจะเก็บออมและลงทุนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย

ถ้าเงินไม่ได้งอกเงยและไม่มีอัตราเงินเฟ้อ หรือถ้าท่านได้ผลตอบแทนจากการออมเท่ากับอัตราเงินเฟ้อพอดี ท่านก็สามารถเอาจำนวนเดือน คือ 240 เดือนไปหาร ก็จะได้ตัวเลขว่าท่านต้องเก็บเงินให้ได้เดือนละ 31,996 บาท เป็นเวลา 20 ปีค่ะ แต่โลกนี้มีอัตราเงินเฟ้อ ที่อาจจะไม่เท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ท่านสามารถนำเงินออมของท่านไปลงทุน ซึ่งหากท่านลงทุนได้ผลตอบแทนมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ ท่านก็สามารถออมต่อเดือนน้อยลงกว่านี้ได้

อย่าเพิ่งท้อใจค่ะ ท่านยังมีเงินที่ท่านเก็บออมไว้เพื่อการนี้ไม่มากก็น้อย โดยที่ท่านอาจจะไม่รู้ตัว

แหล่งแรกคือกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ จะจ่ายเงินให้ท่านเมื่อท่านอายุครบ 55 ปี และจ่ายเงินสมทบมาเท่ากับ 15 ปี หรือ 180 เดือนท่านมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตรา 20% ของเงินเดือนที่จ่ายสมทบเข้าประกันสังคมเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (อย่าลืมว่าอัตราเงินเดือนที่ใช้สูงสุดคือ 15,000 บาทนะคะ) ซึ่งก็คือจำนวน 3,000 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่มีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไปและจ่ายเงินสมทบมาครบ 15 ปี

ส่วนท่านที่จ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปี ก็จะมีโบนัสพิเศษ ในอัตราปีละ 1.5% ของจำนวนปีในส่วนที่เกิน 5 ปี เช่นท่านจ่ายเงินเข้าประกันสังคมตั้งแต่ตอนอายุ 30 ปี หากเกษียณตอนอายุ 60 ปี ก็เท่ากับจ่ายมาแล้ว 30 ปี เกิน 15 ปี มา 15 ปี ก็จะได้โบนัสพิเศษ จำนวน 15 ปี คูณด้วย 1.5% ของอัตราเงินเดือน คือ 15,000 บาท ได้เท่ากับ 3,375 บาทต่อเดือน รวมแล้วก็ได้ 6,375 บาทต่อเดือนแล้วค่ะ เศษของปีที่เป็นเดือนก็คิดด้วยนะคะ ในที่นี้ดิฉันต้องการให้ง่ายเข้าไว้ จึงคิดให้เต็มปีพอดี (แล้วก็จริงๆ แล้วเขาจะเริ่มจ่ายให้ตั้งแต่ท่านอายุ 55 ปี ก่อนเกษียณท่านก็จะได้รับมาแล้ว 5 ปี หากท่านนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนด้วยอัตราผลตอบแทนสุทธิ 4% ใน 5 ปีก็จะเป็นเงิน 422,656 บาทก็จะลดภาระไปได้อีก

แต่เงินของสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเท่ากันทุกเดือน ไม่ได้ปรับค่าเงินเฟ้อให้ ท่านจึงต้องหาค่าปัจจุบัน ณ วันที่ท่านเกษียณ ของเงินก้อนรายเดือนจำนวนเดือนละ 6,375 บาท เป็นเวลา 25 ปี ซึ่งหากคิดลดด้วยอัตราเงินเฟ้อ 3% ท่านจะได้ตัวเลข 1,344,337 บาท ณ วันที่ท่านเกษียณค่ะ

ตอนนี้ก็หาได้ 1,766,993 บาทแล้วนะคะ ยังเหลืออีก 5.91 ล้านบาท สัปดาห์หน้ามาดูกันค่ะว่าท่านยังมีเงินส่วนไหนอีกที่เตรียมไว้ใช้เพื่อการเกษียณอายุงาน และหากคำนวณดูแล้ว เก็บอย่างไรก็ไม่ได้ ท่านจะทำอย่างไร

 

บทความโดย : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ  ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552




รวมแนะนำบทความดีๆ

ทำไมผมถึงต้องกราบยาม
ครูกับนักเรียน
10 ไอเดียออมเงินง่ายๆ แต่ได้ผลดี
จะดีแค่ไหนที่เรารู้ว่า ยังมีคนที่คอยดูแล และเป็นที่พึ่งได้เสมอ
คลิปโฆษณาซึ้งๆ "เพราะอนาคตเด็กควรค่าแก่การเสียสละ"
10 นิสัยดีๆที่จะทำให้เรากลายเป็นคนฉลาด
10 สิ่งที่ผู้ชนะชอบทำ
มีเงินเท่าไหร่ ถึงจะพอใช้ยามเกษียณ
ค่าของเงิน
Castaway คนติดเกาะ!! ชีวิตนี้ไม่สิ้นหวัง
ฝึกนิสัยที่ดี จาก 5 ห้องในบ้าน กับ 'อนันต์ อัศวโภคิน' แห่งแลนด์แอนด์เฮาท์
สูตรออมเงินอย่างได้ผล
แรงบันดาลใจ เพื่อค้นหาตัวเอง
ความไว้ใจ
สัญญาณที่ทำให้รู้ว่าชีวิตการทำงานกำลังมาถูกทาง
ก็ยังดีกว่า
พุทธสถาน สถานที่สำคัญทางศาสนา ศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธ
ทำอย่างไร ให้ได้งานทั้งคุณภาพและปริมาณ
เพื่อลูก...
นิทาน เรื่องน้ำกับทิฐิ
ต้นแอปเปิ้ลกับเด็กน้อย
ชาวนากับลาแก่
พระคุณครู...ไม่มีวันเกษียณ
ข้อคิดตามหลักพุทธวจน เพื่อนำไปปฎิบัติในการดำเนินชีวิต
มือของแม่
เข้าใจชีวิต
"บทเรียนมีคุณค่าจากผู้สูงอายุ"...แนะนำให้สอนลูกหลาน
โรคแพ้ไม่เป็น
การลงโทษของพ่อ
จดหมายของพ่อ
สะกิดต่อมแมน...เปิดตำราการเป็นสุภาพบุรษยุคใหม่
6 ขั้นตอนสู่การเป็นผู้มีเงินใช้ไม่ขัดสน
พ่อ...ผู้ชายที่ผมเคยเกลียด
ชีวิตคู่ กับ การทำธุรกิจ
ให้ยืมอย่างไร ตัวเราถึงไม่เจ็บปวด
รวมสุดยอด แรงบันดาลใจ
Book Of The Year : หนังสือที่คนดังได้อ่านในปี’54 แล้วประทับใจ
วิธีดูคน อ่านคน จากสามก๊ก
ความทะนงตนของแมลงวัน
คนมีเสน่ห์
จะเข้มแข็ง...หรือจะอ่อนแอ
ออมวันนี้เพื่อชีวิตที่สุขสบายในวันข้างหน้า
10 วิธีในการคิดต่างตามแบบแอปเปิล
ใช้บัตรเครดิตอย่างไร ไม่ให้เดือดร้อน
ระวังภัย!... “แก๊งโจรกรรมรถ”
ถามเถิดจะเกิดผล
แฉกลโกงใหม่ ! ...ภัยจาก แก๊งค์ Call Center
กำลังใจ
ทำอย่างไรให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา
Save Big - แนะวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายก้อนโต
ลัทธิบริโภคนิยม
จับมือฉัน (Hold My Hand)
"คุณเคยทำสิ่งที่ผิดพลาดในชีวิตหรือไม่ ? "
อยากได้เงินเดือนขึ้นทำอย่างไรดี
คุณค่าของคน : อยู่ที่ตัวเอง (นายสตีฟ จอบส์)
วิธีเอาชนะ...ความขี้เกียจ
ถ้าคุณเป็นหนี้ต้องทำอย่างไร
คนรวยด้วยการทำงาน
ทำอย่างไรในเมื่อคุณเกิด...ไม่มีความสุขในการทำงาน
ทำอย่างไรให้รวย
เพื่ออะไร...
งานทรมานกับงานในฝัน
ฝันให้ไกล...ไปให้ถึง
ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้
แก้วที่ไม่เคยพอ
เค้าว่ากันว่า...(เรื่องเปรียบเทียบระหว่างหนังสือกับความรัก)
เทคนิคการสร้างภาพลักษณ์ของตนเองให้ประทับใจ
ใบลาออกจากความทุกข์
พฤติกรรมที่นำสู่ความสุข
วิธีพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส
10 คำพูดดีๆที่ลูกอยากได้ยินจากพ่อแม่
วิธีปฎิบัติหกประการเพื่อทำให้ผู้อื่นชอบท่าน
ทำยังไงดี เมื่อเงินออมไม่มี เงินที่เป็นหนี้ก็ยังไม่หมด
ชีวิตนี้...ยังมีทิศตะวันออก
"เราควรเอาใจใส่ในงาน...แต่ไม่นำงานมาใส่ในใจ"
" เด็กขี้ขโมย"
สิ่งที่เรามักจะนึกเสียใจก่อนเสียชีวิต
การเงินกับผู้หญิง
พ่อครับ...ผมขอโทษ
พ่อแห่งศตวรรษ (Father of the century)
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้ได้ดี
นิทานของพ่อ
เงินที่หล่นหาย
10 หนทางสู่ความสำเร็จจากนักธุรกิจดัง
วางแผนการเงิน เรื่องของคนทุกวัย
คุณเคยดูถูกคนอื่นว่าแย่กว่าคุณบ้างหรือไม่
บทเรียนชีวิตจาก "ไมเคิล แจ็คสัน" ในแง่การใช้เงิน
วิธีคิดเมื่อต้องเป็นผู้แพ้
ออมสินเวลา
แก้ปัญหาหนี้ด้วยสติ
วางแผนการเงินเป็นเรื่องของทุกคน
ลิขิตฟ้า หรือจะสู้มานะตน
ปัญหามีให้สู้ ไม่ใช่ให้ถอย!!!
ความซื่อสัตย์
อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง
Clip ลุกขึ้น!! อีกครั้ง...กำลังใจสำหรับคนที่ท้อแท้
ทำอย่างไรเมื่อ (ใจ) เป็นหนี้
หนุ่มบ้านนอก
คาถาหัวใจเศรษฐี