บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
เข้าสู่ปีใหม่กันแล้ว แต่ข่าวคราวด้านเศรษฐกิจก็ยังไม่สดใสเท่าไร หันไปทางไหนก็มีแต่กิจการที่กำลังจะตัดลดต้นทุน โดยการหั่นจำนวนบุคลากร เลย์ออฟพนักงานกันถ้วนหน้า แท้จริงแล้วยังมีทางเลือกอื่นอีก ที่กิจการควรพิจารณาดำเนินการ ก่อนที่จะโยนปัญหาทั้งหมดให้กับบุคลากร อาทิ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ในรัฐไอโอวา เลือกใช้วิธีการที่ละมุนละม่อมกว่าเลิกจ้าง นั่นคือ ลดจำนวนและชั่วโมงการทำงาน ให้เหลือประมาณ 4 วันต่อสัปดาห์ แทนที่จะเป็น 5 วันดังเช่นในอดีต และชั่วโมงการทำงานก็ลดลงไปโดยอัตโนมัติ เหลือประมาณ 32 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้ค่าจ้างแรงงานลดลงไปไม่น้อยกว่า 20% ของทั้งหมดด้วยเช่นกัน หรืออีกไอเดียหนึ่งก็น่าสนใจครับ คือ การหั่นเงินเดือนและผลประโยชน์ของผู้บริหาร โดยเฉพาะผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป อาจจะเป็นการลดเงินเดือนราว 1 ใน 4 และตัดค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ค่ารับรอง ค่าพาหนะ ค่าสมัครสมาชิกสโมสรหรือคลับเฮาส์หรู ฯลฯ ซึ่งก็จะทำให้สภาพคล่องของกิการดีขึ้นในระยะสั้นทันที เช่นเดียวกันก่อนที่จะไปปรับลดเงินเดือนหรือไล่พนักงานระดับล่างออก นอกจากการปรับลดเวลาทำงาน และลดค่าตอบแทนผู้บริหารแล้ว การส่งเสริมให้พนักงานบางส่วน "ลาหยุดแบบไม่ให้เงินเดือน" ก็เป็นอีกมาตรการหนึ่ง ที่นำมารับมือกับปัญหาในขณะนี้ได้ พนักงานกลุ่มที่เคยทำงานหนักมาตลอด ไม่เคยมีเวลาได้หยุดพักในช่วงที่สภาวะตลาดยังขยายตัวสูง ก็สามารถหยุดพักยาวได้ในช่วงนี้ หรือหากมองวิกฤติเป็นโอกาส จะพบว่าเมื่อบุคลากรต้องหมกมุ่นกับงานน้อยลง ก็เป็นโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองมากขึ้น การให้บุคลากรลาไปเทรนนิ่ง หรือ ศึกษาต่อ ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการฟื้นตัวที่จะมาถึงในอนาคต บางกิจการยังจัดหาคอร์สต่าง ๆ ให้พนักงานด้วยซํ้า และอาจจะจูงใจโดย ให้เงินเดือนค่าจ้างส่วนหนึ่ง อาจจะเป็น 10% หรือ 20% ของเงินเดือนทั้งหมดในช่วงที่ลาศึกษาต่อนี้ก็ได้ครับ ประโยชน์ของการดำเนินการในลักษณะนี้ น่าจะเหมาะสมกว่าการเลิกจ้าง โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มองไปที่ปากอุโมงค์แล้ว ยังพอมีความหวังอยู่บ้าง เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลที่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งของอเมริกาและทุกประเทศทั่วโลก น่าจะทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เมื่อถึงเวลานั้น หากกิจการมีความพร้อมทางด้านบุคลากร ไม่ไล่คนออกไปเสียก่อน ก็น่าจะสามารถช่วงชิงโอกาสทางการตลาดได้ดีกว่าครับ นอกจากนี้ ขวัญกำลังใจและความภักดีของบุคลากรจะเพิ่มสูงมากทีเดียว เพราะเขาเหล่านั้นเริ่มตระหนักแล้วว่า กิจการรักและห่วงใยในสวัสดิภาพของบุคลากรอย่างแท้จริง รวมถึงภาพลักษณ์ของกิจการต่อสาธารณชนก็จะดีไปด้วย "คนเก่ง" ในอนาคตก็อยากจะมาทำงานกับกิจการ รวมถึงกลุ่มที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น ลูกค้าเองก็เกิดความรู้สึกที่ดี มีแนวโน้มให้การสนับสนุนกิจการต่อไป ซัพพลายเออร์ก็เล็งเห็นถึงความมั่นคงในการทำงานกับกิจการเช่นกัน ดังนั้น ปีใหม่นี้ก็ขอให้ทุกกิจการมีความมั่นคง และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตลอดรอดฝั่ง โดยเน้นแนวคิดว่าบุคลากรคือ ทรัพย์สินที่มีค่า มิใช่ค่าใช้จ่าย หากคิดแบบนี้การตัดลดไล่พนักงานออก ก็จะเป็น ทางเลือกสุดท้าย มิใช่คำตอบสุดท้าย บทความโดย : รศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 6 มกราคม 2552 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |