บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ผู้ผลิตสินค้า ผู้ขายสินค้า ผู้ให้บริการ หรือประชาชนทั่วไปนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ รวมถึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สืบค้นหาความรู้ด้านต่างๆ ลำพังตัวของคอมพิวเตอร์ก็คงไม่มีอะไร เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งเท่านั้น แต่ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำให้เกิดประสิทธิภาพก็คือ ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ในวันนี้จะกล่าวถึงการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ ในกรณีที่บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ซื้อคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาใช้ จะหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ในกรณีที่ทรัพย์สินใช้งานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี กฎหมายมักกำหนดให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยให้ทยอยหักในแต่ละปี จะหักเป็นรายจ่ายทีเดียวทั้งก้อนไม่ได้ แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้มีกฎหมายออกมาใหม่ให้สามารถเลือกหักทรัพย์สินบางประเภทได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5 แสนบาทต่อรอบระยะเวลาบัญชี ก่อนอื่นอยากเรียนให้ผู้อ่านทราบก่อนว่า พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 145 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ประเภททรัพย์สินที่กำหนดให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ทั้งนี้คอมพิวเตอร์ถือเป็นทรัพย์สินอื่น ส่วนซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถือเป็นค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งกำหนดอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแตกต่างกัน คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นทรัพย์สินอื่น กำหนดให้หักอัตราร้อยละ 20 จำนวนรอบระยะเวลาบัญชีที่หักต้องไม่น้อยกว่า 5 รอบระยะเวลาบัญชี ส่วนซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่จำกัดอายุการใช้ กำหนดให้หักอัตราร้อยละ 10 จำนวนรอบระยะเวลาบัญชีที่หักต้องไม่น้อยกว่า 10 รอบระยะเวลาบัญชี อย่างไรก็ดี รัฐบาลได้ออกกฎหมายมาส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและการให้บริการ จึงได้ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการสามารถเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่งได้ ทำให้สามารถหักรายจ่ายได้เร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด สรุปได้ดังนี้ บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก สามารถเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง โดยเลือกหักคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็ม 12 เดือน ให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน สามารถเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง โดยเลือกหักคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา โดยในรอบระยะเวลาบัญชีแรกสามารถหักค่า สึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 60 ให้หักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนั้น กรณีของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นทรัพย์สินอื่น ผู้ประกอบการสามารถเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 100 ของมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี แต่ไม่เกิน 5 แสนบาทในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ท่านจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์นั้น กฎหมายได้ออกมาเอื้อประโยชน์ในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา สามารถหักได้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็น SMEs นั่นแหละ จะได้สิทธิหักในรอบระยะเวลาบัญชีแรกได้มากกว่าบริษัททั่วไป แต่ทั้งนี้บริษัทจะเลือกหักแบบใดขึ้นอยู่กับสภาพของธุรกิจนั้นๆ ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 145 ซึ่งได้แก้ไขปรับปรุงเป็นปัจจุบันแล้ว วีดีโอ ค่าเสื่อมราคาคิดภาษีอย่างไร ตอนที่ 1
วีดีโอ ค่าเสื่อมราคาคิดภาษีอย่างไร ตอนที่ 2
โดย : สมชาย ชูเกตุ ที่มา : โพสต์ทูเดย์ วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |